กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

ทำไมคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ถึงคลอดก่อนกำหนด

อ่านปัจจัยที่ส่งผลให้สตรีมีครรภ์คลอดก่อนกำหนด และสัญญาณเตือนใกล้คลอดที่สังเกตได้ด้วยตัวเอง เพื่อระวังตัวและดูแลสุขภาพให้ดียิ่งขึ้น
เผยแพร่ครั้งแรก 5 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 14 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ทำไมคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ถึงคลอดก่อนกำหนด

โดยปกติหญิงตั้งครรภ์ประมาณร้อยละ 7-10 มีโอกาสที่จะคลอดก่อนกำหนด คือ การเจ็บครรภ์ระหว่าง 24+0 ถึง 36+6 สัปดาห์ โดยมีการหดรัดตัวของมดลูกอย่างสม่ำเสมอ 4 ครั้งใน 20 นาที หรือ 8 ครั้งใน 1 ชั่วโมง ร่วมกับมีการเปลี่ยนแปลงปากมดลูก โดยมีการเพิ่มขยายปากมดลูกมากกว่า 1 เซนติเมตร และมีความบางตัวตั้งแต่ร้อยละ 80 ขึ้นไป สาเหตุที่ต้องคลอดก่อนกำหนดส่วนใหญ่ที่พบคือ มีอาการเจ็บครรภ์เองโดยไม่ทราบสาเหตุ ถุงน้ำคร่ำรั่วหรือแตก มีปัญหาทางสุขภาพของคุณแม่ที่ตั้งครรภ์เอง คลอดก่อนกำหนดโดยความจงใจชักนำการคลอดเนื่องจากมีข้อบ่งชี้  ครรภ์แฝด ซึ่งในปัจจุบันการฝากครรภ์ก็มักจะดูแลจนลดความเสี่ยงการคลอดก่อนกำหนดได้ 

ความเสี่ยงต่อการเกิดการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด

  1. เคยมีประวัติคลอดก่อนกำหนด หรือแท้งในระยะหลังของการตั้งครรภ์
  2. การสูบบุหรี่ หรือได้รับควันบุหรี่มากๆ โดยเฉพาะหากคุณแม่ที่ตั้งครรภ์อายุครรภ์อ่อนๆ แล้วสูบบุหรี่
  3. การดื่มเหล้าหรือเครื่องดื่มแอลกฮอล์
  4. การรับประทานยาบางชนิด ซึ่งยาที่ใช้เป็นประจำนั้น หากคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ยังไม่รู้ตัวว่าได้ตั้งครรภ์แล้ว และทานยาลงไป อาจมีผลต่อทารกในครรภ์
  5. ภาวะทุพโภชนาการหรือการเพิ่มของน้ำหนักตัวของคุณแม่ที่ตั้งครรภ์น้อยเกินไป โดยทั่วไปน้ำหนักจะเพิ่มประมาณ 15 กิโลกรัมถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ
  6. การมีเพศสัมพันธ์ในช่วงที่กำลังตั้งครรภ์ ซึ่งโอกาสจะคลอดก่อนกำหนดได้นั้นจะเป็นในผู้ที่มีประวัติคลอดก่อนกำหนด โดยแพทย์จะแนะนำให้งดการมีเพศสัมพันธ์ 2-3 เดือนก่อนถึงกำหนดคลอด
  7. การติดเชื้อ เช่น หัดเยอรมัน โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บางชนิด ทางเดินปัสสาวะอักเสบเฉียบพลัน หรือการติดเชื้อในช่องคลอดและน้ำคร่ำ เป็นต้น เพราะหากติดเชื้อดังกล่าว ระบบธรรมชาติจะพยายามขับเด็กออก ซึ่งทำให้เกิดการคลอดก่อนกำหนด
  8. ภาวะปากมดลูกปิดไม่สนิท
  9. มดลูกไวต่อการกระตุ้น ทำให้เกิดการหดรัดตัวของมดลูกได้ง่าย และรุนแรงจนทำให้เกิดการคลอดก่อนกำหนดได้
  10. ภาวะรกเกาะต่ำ ใกล้ปากมดลูก จะต้องรักษาโดยให้นอนอยู่บนเตียงหรือนอนพักในโรงพยาบาล
  11. อาการเจ็บป่วยเรื้อรังของคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ เช่น มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับหัวใจ ปอด ตับ หรือเบาหวาน แต่ปัจจุบันปัญหานี้ได้ลดลงเนื่องจากการรักษาของแพทย์สามารถควบคุมโรคได้ดีขึ้น
  12. ความเครียด
  13. คุณแม่ที่ตั้งครรภ์มีอายุต่ำกว่า 17 ปี เนื่องจากว่าร่างกายยังไม่พร้อมเต็มที่ที่จะตั้งครรภ์ ทำให้โอกาสคลอดก่อนกำหนดมีสูง
  14. คุณแม่ที่ตั้งครรภ์มีอายุเกิน 40 ปี
  15. ภาวะที่มีความผิดปกติของมดลูก
  16. การตั้งครรภ์แฝด
  17. ทารกในครรภ์พิการ
  18. ภาวะโลหิตจาง
  19. ปริมาณน้ำคร่ำมากกว่าปกติ

อาการเตือนที่บ่งบอกว่าอาจคลอดก่อนกำหนดมีดังนี้

  1. มีเลือดออกคล้ายประจำเดือน ปวดเกร็งท้องน้อย โดยไม่มีอาการท้องเสีย คลื่นไส้ หรืออาหารไม่ย่อย
  2. ปวดหลัง หรือรู้สึกมีอะไรกดทับบริเวณก้น
  3. ปวดถ่วงท้องน้อย ปวดร้าวที่ขาหนีบและหน้าขา ปวดร้าวลงช่องคลอด
  4. มีมูกเลือดออกทางช่องคลอด หรือมีสีน้ำตาลปนเลือด อาจมีมูกข้นเป็นก้อนหลุดออกมา แสดงอาการเปิดของมดลูก
  5. มีการแตกรั่วของถุงน้ำคร่ำ โดยมีน้ำใสๆไหลออกมาจากช่องคลอดปริมาณมาก  คล้ายปัสสาวะ แต่กลั้นไม่อยู่

หากมีอาการเหล่านี้ (อาการใดอาการหนึ่ง) ควรรีบไปปรึกษาแพทย์โดยด่วน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ชาญชัย วันทนาศิริ , ตวงสิทธิ์ วัฒกนารา. นรีเวช ทันยุค OB-GYN in Practice 2007: ภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกาหนด.พิมพ์ครั้งที 1. กรุงเทพมหานคร.บริษัท: พี.เอ.ลีฟวิ ง, 2550: 471-487
Up to date:Preterm birth: Risk factors and interventions for risk reduction [Internet]. 2016.
Practice Bulletin No. 159: Management of Preterm Labor. Obstetrics and gynecology. 2016;127(1):e29-38.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

อ่านเพิ่ม
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม