ยาก่อนอาหาร - ยาหลังอาหาร

เวลาในการรับประทานยา
เผยแพร่ครั้งแรก 2 ม.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ยาก่อนอาหาร - ยาหลังอาหาร

วันนี้ขอหยิบยกเรื่องง่าย ๆ ที่หลายครั้งก็พบว่ากลายเป็นปัญหาได้ อย่างเรื่อง “เวลาที่เหมาะสมในการรับประทานยา” มาเล่าสู่กันฟังนะคะที่บอกว่าเป็นเรื่องง่าย ๆ ก็เพราะหลายท่านคงคุ้นเคยกับคำแนะนำของเภสัชกรว่า…

  • ยาก่อนอาหาร ควรรับประทานก่อนอาหาร ½ – 1 ชั่วโมง
  • ยาหลังอาหารทั่วไป ควรรับประทานหลังอาหาร 15-30 นาที
  • ยาพร้อมอาหารหรือหลังอาหารทันที รับประทานยาพร้อมอาหารคำแรก หรือเมื่อรับประทานอาหารเสร็จแล้วให้รับประทานยาต่อทันที
  • ยารับประทานเวลามีอาการ สามารถรับประทานได้ทันทีที่มีอาการ โดยไม่ต้องคำนึงถึงมื้ออาหาร

โดยปกติแล้ว ความถี่ในการใช้ยาแต่ละชนิดจะขึ้นกับระยะเวลาออกฤทธิ์ของยานั้น ๆ ค่ะ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ยกตัวอย่างเช่น ยา “ก.ไก่” มีระยะเวลาออกฤทธิ์ประมาณ 8 ชั่วโมง จึงควรใช้ยาห่างกันทุก 8 ชั่วโมง เช่น 08.00 น., 16.00 น. และ 24.00 น. ซึ่งในทางปฏิบัติแล้วทำได้ยาก และเสี่ยงต่อการลืมใช้ การกำหนดเวลาใช้ยาตามมื้ออาหาร จึงช่วยเพิ่มความสะดวกต่อผู้ใช้ยาให้จดจำได้ง่ายกว่านั่นเองค่ะ

ส่วนจะเลือกให้ยาก่อนอาหาร พร้อมอาหาร หรือหลังอาหาร มักจะพิจาณาจากข้อมูลที่ว่าอาหารมีผลต่อการดูดซึมยาชนิดนั้นหรือไม่ และ/หรือยานั้นอาจทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ต่อระบบทางเดินอาหารหรือเปล่า 

เพื่อจะเข้าใจเหตุผลในการเลือกเวลารับประทานยา และทราบแนวทางแก้ไขปัญหาในกรณีที่ยกตัวอย่างไว้ เรามาทำความรู้จักยาที่แบ่งกลุ่มตามความสัมพันธ์กับมื้ออาหารกันดีกว่าค่ะ ได้แก่… 

ยาก่อนอาหาร

เพราะอาหารอาจขัดขวางการดูดซึมยา หรือกระตุ้นการหลั่งกรดมาทำลายยา จนลดประสิทธิภาพในการรักษา และในทางตรงข้าม อาหารยังอาจทำให้ยาบางชนิดดูดซึมมากขึ้น จนเกิดพิษจากยาได้ จึงจำเป็นต้องรับประทานตอนท้องว่าง โดยควรรับประทานก่อนอาหาร ½ – 1 ชั่วโมง หรือ หลังอาหาร 2 ชั่วโมง

ซึ่งในบางกรณี แม้ว่าอาหารจะไม่มีผลต่อการดูดซึมของยา แต่ควรรับประทานก่อนอาหารเพื่อให้ยาออกฤทธิ์ในช่วงเวลาที่ต้องการได้พอดี ดังนั้น หากลืมรับประทานก่อนอาหาร ก็สามารถรับประทานทันทีที่นึกขึ้นได้โดยไม่ต้องรอตอนท้องว่างหลังอาหาร 2 ชั่วโมง อย่างไรก็ตาม เนื่องจากช่วงเวลาที่ยาออกฤทธิ์จะช้ากว่าที่คาดหมาย จึงอาจทำให้ประสิทธิภาพของการรักษาลดลงได้

หลายคนเข้าใจว่า ยาก่อนอาหาร คือกินยาแล้วตามด้วยการกินอาหารทันที ซึ่งวิธีนี้อาจไม่ถูกต้องทั้งหมด  เพราะแบบนั้นจะจัดรวมเป็น "ยาพร้อมอาหาร"

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ยาหลังอาหารทั่วไป

อาหารไม่มีผลต่อการดูดซึมยาในกลุ่มนี้ การรับประทานหลังอาหารก็เพื่อให้สะดวกในการใช้ หากลืมรับประทานยาตามเวลาที่แนะนำ คือ 15-30 นาทีหลังรับประทานอาหารเสร็จ ก็สามารถรับประทานทันทีที่นึกได้ หากไม่ใกล้เวลารับประทานยาดังกล่าวในมื้อถัดไป

 ยาพร้อมอาหารหรือหลังอาหารทันที

เพื่อให้ยาบางชนิดดูดซึมได้ดีขึ้นเมื่อรับประทานพร้อมอาหารบางประเภท หรืออาจเพื่อลดการระคายเคืองระบบทางเดินอาหาร กรณีที่ลืมรับประทานยา หากยังไม่ใกล้เวลารับประทานยามื้อถัดไป ก็อาจพิจารณาหาอาหารว่างรองท้องก่อนรับประทานยาดังกล่าว

ดังนั้น... เพื่อความมั่นใจถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูงสุดจากการใช้ยา ท่าน

ผู้อ่านควรสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการใช้ ข้อควรระวัง และแนวทางแก้ไขกรณีลืมรับประทานยาแต่ละชนิดจากเภสัชกรของท่านจะดีที่สุดนะคะ


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Why must some medicines be taken with or after food?. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/common-health-questions/medicines/why-must-some-medicines-be-taken-with-or-after-food/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
สัญญาณไฟฟ้าหัวใจถูกขัดขวาง
สัญญาณไฟฟ้าหัวใจถูกขัดขวาง

ภาวะนี้คืออะไร อันตรายหรือไม่ และเมื่อไหร่ที่ต้องใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ

อ่านเพิ่ม
ประวัติของ การแพทย์แผนโบราณ ในประเทศไทย ในอดีต จนถึงปัจจุบัน
ประวัติของ การแพทย์แผนโบราณ ในประเทศไทย ในอดีต จนถึงปัจจุบัน

ประวัติ และการเปลี่ยนแปลงของแพทย์แผนโบราณในประเทศไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

อ่านเพิ่ม