ทพญ. สิริพัชร ชำนาญเวช ทันตแพทย์ทั่วไป และศัลยศาสตร์ช่องปาก
เขียนโดย
ทพญ. สิริพัชร ชำนาญเวช ทันตแพทย์ทั่วไป และศัลยศาสตร์ช่องปาก

ทำอย่างไรดีหาก ฟันแตก ฟันบิ่น ฟันร้าว

รู้วิธีสังเกตอาการ ฟันแตก ฟันบิ่น ฟันร้าว พร้อมทั้งการปฏิบัติเบื้องต้น และไขสิ่งที่หลายคนสงสัย ฟันแตกแล้วมีวิธีรักษาอย่างไร ต้องถอนเท่านั้นหรือเปล่า?
เผยแพร่ครั้งแรก 17 ม.ค. 2020 อัปเดตล่าสุด 23 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ทำอย่างไรดีหาก ฟันแตก ฟันบิ่น ฟันร้าว

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ฟันแตก ฟันบิ่น ฟันร้าว มักเกิดกับฟันหน้า บ่อยกว่าที่อื่น สาเหตุเกิดได้จากอุบัติเหตุ ถูกของแข็งกระแทก การใช้ฟันหน้าผิดประเภท เช่น ใช้ฟันเปิดขวด แต่ดารเคี้ยวน้ำแข็งถือเป็นสาเหตุของฟันแตกที่พบได้บ่อยสุด
  • ความเสียหายของฟันจะมีอาการหรือไม่ ขึ้นอยู่กับความลึกของรอยแตก บางครั้งอาจแค่เสียวฟันเวลาเคี้ยวอาหาร เวลาดื่มน้ำเย็น เวลารับประทานของหวาน ไปจนถึง ปวดทรมาน บวม เป็นหนอง
  • การรักษาฟันเบื้องต้น คือ "ฟันแตกและฟันผุ" กรอฟันผุออกและใส่ครอบฟัน "ฟันแตก" ถ้าหลุดออกมาชิ้นเล็ก ไม่ทะลุโพรงประสาทฟัน อาจแค่กรอลบคมหรืออุดฟัน แต่ถ้าแตกชิ้นใหญ่อาจต้องครอบฟัน หรือบางครั้งอาจต้องรักษารากฟันก่อน ฟันร้าว อาจใช้วัสดุอุดฟัน ครอบฟัน บางคนอาจต้องใส่ครอบฟัน รักษารากฟัน
  • ฟันแตก ฟันบิ่นที่คม ทันตแพทย์จะกรอส่วนคมก่อนอุดฟัน แต่หากมีอาการปวดร่วมด้วย แสดงว่ารอยแตกทะลุโพรงประสาทฟันแล้ว ทำรักษารากฟัน ใส่เดือยฟัน และครอบฟัน
  • ดูแพ็กเกจทำฟันได้ที่นี่

ฟันแตก ฟันบิ่น ฟันร้าว ปัญหาที่ใกล้ตัวคุณมากกว่าที่คิด นอกจากไปเผลอกัดของแข็งๆ หรือได้รับอุบัติเหตุ การนอนกัดฟันหรืออุณหภูมิเปลี่ยนแปลงรวดเร็วก็ทำให้ฟันแตกได้

การปฏิบัติตัวเมื่อฟันแตก หรือวิธีสังเกตตัวเองว่ามีฟันแตกหรือไม่ เป็นสิ่งสำคัญ เพราะหากปล่อยทิ้งไว้อาจเกิดอันตรายถึงชีวิต

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจสุขภาพฟันวันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 0 บาท ลดสูงสุด 100%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

สาเหตุที่ทำให้ฟันแตก

ฟันแตก ฟันบิ่น ฟันร้าว จากสถิติพบว่า 82% เกิดกับฟันหน้า

อาจเกิดจากอุบัติเหตุ การล้มกระแทก การถูกทำร้าย ถูกของแข็งกระแทก การใช้ฟันหน้าผิดประเภท เช่น ใช้ฟันเปิดขวด การเคี้ยวของแข็งโดยบังเอิญหรือตั้งใจเคี้ยวอาหารแข็ง เช่น เคี้ยวโดนก้อนกรวด กระดูก น้ำแข็ง ถั่วแข็ง หมูกรอบที่แข็งเกินไป ลูกอมเม็ดแข็ง หรืออาหารอื่นใดที่มีความแข็งกว่าฟัน

ทั้งนี้ น้ำแข็งถือเป็นสาเหตุของฟันแตกที่พบได้บ่อยที่สุด รวมทั้งการขบเคี้ยวฟันเป็นประจำ การนอนกัดฟัน การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิในช่องปากอย่างฉับพลันก็ทำให้ฟันแตกได้เช่นกัน

ฟันแตก ฟันบิ่น ฟันร้าว มีอาการอย่างไร รักษาอย่างไร?

เมื่อมีฟันแตก ฟันบิ่น ฟันร้าว อาจไม่มีอาการหรือมีอาการก็ได้ ขึ้นอยู่กับความลึกของรอยแตก บางครั้งอาจแค่เสียวฟันเวลาเคี้ยวอาหาร เสียวฟันเวลาดื่มน้ำเย็น เสียวฟันเวลารับประทานของหวาน ไปจนถึง ปวดทรมาน บวม เป็นหนอง

ฟันที่แตก หรือบิ่น ก่อนแตกอาจเป็นฟันที่ปกติ เมื่อแตกจะเป็นรอยแตกหรือรอยร้าวที่ชัดเจน ไม่มีรอยผุภายใน หรือเป็นฟันที่เคยอุดขนาดใหญ่มาก่อน มีความอ่อนแอ

ฟันที่แตกอาจเป็นฟันผุ เป็นโพรงและบาง จึงง่ายต่อการแตก เมื่อแตกออกจะเห็นรอยผุเป็นสีดำๆ นิ่มๆ ข้างใน ในกรณีนี้ทันตแพทย์จะต้องกรอฟันที่ผุออกให้เรียบร้อย ก่อนที่จะอุดหรือครอบฟัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจสุขภาพฟันวันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 0 บาท ลดสูงสุด 100%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ฟันบิ่น

คือฟันแตกแบบมีชิ้นส่วนฟันหลุดออกมา ถ้าชิ้นเล็ก ไม่ทะลุโพรงประสาทฟัน อาจไม่มีอาการ หรือมีเพียงอาการเสียวฟัน แต่ไม่ปวด

การรักษาในกรณีที่ฟันแตกเป็นมุมเล็กๆ ทันตแพทย์อาจแค่กรอลบคมหรืออุดฟัน แต่ถ้าแตกชิ้นใหญ่ อาจต้องครอบฟัน หรือบางครั้งอาจต้องรักษารากฟันก่อน แล้วจึงตามด้วยการใส่เดือยฟันและครอบฟัน เพื่อให้กลับมาใช้งานได้ตามปกติ

ฟันร้าว

การแตกเห็นเป็นรอยร้าว อาจเล็กจนมองเห็นได้ยาก แม้แต่ทันตแพทย์เองยังมองได้ยากในบางครั้ง หรืออาจเป็นรอยร้าวขนาดใหญ่ เห็นชัดเจน แต่ไม่มีชิ้นส่วนฟันหลุดออกมา

ถ้ารอยเล็ก ไม่ทะลุโพรงประสาทฟัน อาจไม่มีอาการ หรือมีเพียงอาการเสียวฟัน ไม่ปวด

การรักษากรณีฟันร้าว ทันตแพทย์จะกรอรอยร้าวออก และอุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน ถ้าเป็นรอยร้าวขนาดใหญ่ อาจต้องครอบฟัน หรือบางครั้งอาจต้องรักษารากฟันก่อน แล้วตามด้วยการใส่เดือยฟันและครอบฟัน

เมื่อมีฟันแตก เบื้องต้นควรทำอย่างไร?

เมื่อมีฟันแตก ฟันบิ่น หรือฟันร้าว หรือมีอาการผิดปกติ เช่น เสียวฟัน ปวดฟัน ควรรีบมาพบทันตแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษา แม้ว่าจะไม่มีอาการก็ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจสุขภาพฟันวันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 0 บาท ลดสูงสุด 100%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

เพราะรอยแตกหรือร้าวนั้นจะร้าวมากขึ้นเรื่อยๆ จนทะลุโพรงประสาทฟัน เกิดอาการปวดบวมเป็นหนองได้ นำไปสู่การติดเชื้อลงสู่ช่องว่างข้างแก้ม ใต้ลิ้น ช่องคอ หรือช่องอกในที่สุด ซึ่งอาจอันตรายถึงแก่ชีวิต

การรับประทานยาแก้ปวดช่วยลดอาการปวดได้เพียงเล็กน้อย ไม่สามารถทำให้หายได้

ฟันแตกแล้วคมมาก ปวดมาก ต้องถอนหรือไม่?

ฟันแตกหรือบิ่น แล้วคมมาก เบื้องต้นทันตแพทย์จะกรอลบคมให้ จากนั้นจึงรักษาต่อด้วยการอุดฟัน ครอบฟัน หรือรักษารากฟันร่วมกับการใส่เดือยฟันและครอบฟัน ตามอาการและลักษณะของฟันตามที่จำเป็น

หากฟันแตกมีอาการปวดร่วมด้วย แสดงว่ารอยแตก รอยร้าว ทะลุโพรงประสาทฟัน ทำให้แบคทีเรียในช่องปากเล็ดลอดเข้าไปเกิดการอักเสบภายในรากฟัน

การรักษา ต้องรักษารากฟันร่วมกับการใส่เดือยฟันและครอบฟัน ซึ่งหลังการรักษาและครอบฟันแล้ว สามารถใช้ฟันเคี้ยวอาหารต่อได้ตามปกติ

ส่วนฟันแตกที่ต้องถอน คือ ฟันแตกลึกถึงรากฟัน ลึกใต้เหงือก ใต้กระดูก รากแตก หรือฟันแตกที่แบ่งทั้งฟันและรากเป็นหลายส่วน

กรณีเหล่านี้ไม่สามารถบูรณะด้วยครอบฟันได้ จำเป็นต้องถอน จากนั้นสามารถใส่ฟันปลอมทดแทน มีทั้งแบบถอดได้ ติดแน่น และรากเทียม

ฟันแตก ป้องกันอย่างไร?

เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาฟันแตก ฟันบิ่น ฟันร้าว ควรหลีกเลี่ยงการเคี้ยวของแข็งต่างๆ หลีกเลี่ยงการขบเคี้ยวฟันระหว่างวัน

ถ้ามีอาการนอนกัดฟัน หรือสงสัยว่านอนกัดฟัน ให้ปรึกษาทันตแพทย์

ดูแพ็กเกจตรวจทำฟัน เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Oral Health Foundation, Cracked teeth (https://www.dentalhealth.org/cracked-teeth).
Lynnus F Peng, MD, Fractured Tooth (https://emedicine.medscape.com/article/763458-overview), Oct 21, 2015.
American Association of Endodontists (AAE), Cracked Teeth (https://www.aae.org/patients/dental-symptoms/cracked-teeth/).

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
เลือดออกตามไรฟัน
เลือดออกตามไรฟัน

สัญญาณเตือนสุขภาพที่เกิดได้ทุกเพศทุกวัย อย่าชะล่าใจโดยเด็ดขาด

อ่านเพิ่ม
เมื่อเหงือกบวมเป็นปัญหา ควรรักษาอย่างไร?
เมื่อเหงือกบวมเป็นปัญหา ควรรักษาอย่างไร?

เหงือกบวม ปัญหาช่องปากที่สร้างความลำบากให้กับคุณ อ่านวิธีรักษาและสาเหตุของอาการเหงือบวม เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น

อ่านเพิ่ม