เข้าใจเรื่องยากันทาก เครื่องป้องกันเมื่อเดินป่า

แนะนำยากันทาก วิธีใช้อย่างปลอดภัย ข้อปฏิบัติเมื่อโดนทากดูดเลือด และทางเลือกสำหรับป้องกันทากด้วยวิธีอื่นๆ
เผยแพร่ครั้งแรก 30 ก.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
เข้าใจเรื่องยากันทาก เครื่องป้องกันเมื่อเดินป่า

ช่วงปลายฝนต้นหนาว เป็นช่วงเหมาะสำหรับการเที่ยวป่า เดินเขา ขึ้นดอย เพราะยังมีความชุ่มชื้น มีพืชพรรณน่าดู ขณะเดียวกันก็ไม่แฉะจนเกินไป และได้อากาศต้นฤดูหนาว แต่อุปสรรคสำคัญของการเที่ยวฤดูนี้ก็คือ “ตัวทาก” ที่มักคอยดูดเลือดอยู่ในป่าในเขาเช่นกัน ในบทความนี้จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับ ยากันทาก และวิธีใช้อย่างปลอดภัย คุณจะได้เข้าป่าอย่างสบายใจได้

ยากันทากออกฤทธิ์อย่างไร?

ยากันทากส่วนใหญ่นิยมผสมสารสำคัญ DEET หรือชื่อเต็มคือ N, N-Diethyl-meta-toluamide เป็นน้ำมันสีเหลืองอ่อน ใช้ทาบริเวณผิวหนังหรือเสื้อผ้าเพื่อไล่แมลงต่างๆ เช่น ยุง ทาก หมัด เห็บ ที่อาจมากัดคุณได้ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

DEET ออกฤทธิ์โดยการปิดกั้นตัวรับกลิ่นของแมลง ต่อสารที่มีชื่อว่า 1-octen-3-ol ซึ่งสารชนิดนี้เป็นสารระเหยที่มีอยู่ในเหงื่อและลมหายใจของมนุษย์ เมื่อแมลงไม่ได้รับกลิ่นนี้จากตัวมนุษย์ ก็จะไม่เข้ามาเกาะหรือกัดให้รำคาญใจ 

ความเข้มข้นและปริมาณการใช้ยากันทากที่เหมาะสม

ความเข้มข้นของ DEET ในผลิตภัณฑ์ พบได้ตั้งแต่น้อยกว่า 10% ถึงเกือบ 100% จากงานวิจัยพบว่า DEET จะมีประสิทธิภาพดีที่ความเข้มข้นตั้งแต่ 30% ขึ้นไป 

อย่างไรก็ตาม องค์การด้านสุขภาพของประเทศแคนาดาได้แนะนำไว้ว่า การใช้ยากันทากในเด็กที่มีอายุระหว่าง 2-12 ปี ควรใช้ที่ความเข้มข้นไม่เกิน 10% ไม่เกิน 3 ครั้งต่อวัน เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปีไม่ควรใช้มากกว่า 1 หนึ่งครั้งต่อวัน และไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์ผสมสาร DEET ที่มีความเข้มข้นในกับเด็กทารกที่มีอายุต่ำกว่า 6 เดือน

ยากันทากที่มีจำหน่ายในประเทศไทย

ยากันทากส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบสเปรย์ เพื่อให้สะดวกต่อการพกพาและใช้งาน วิธีใช้คือฉีดสเปรย์ลงบนผิวหนัง บริเวณขา เท้า รองเท้า ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะถูกกัดได้ก่อนเข้าป่า โดยไม่ต้องลูบน้ำยาซ้ำ ต้องฉีดพ่นซ้ำทุก 7 ชั่วโมงหากไม่โดนน้ำ หากมีเหงื่อออกมากหรือโดนน้ำระหว่างนั้น ควรฉีดพ่นซ้ำให้บ่อยขึ้น

ตัวอย่างยากันทากที่มีวางจำหน่ายและราคา 

Wildlives® insect block DEET spray เป็นสเปรย์กันทาก ยุง และแมลง ประกอบด้วย DEET ความเข้มข้นต่าง ๆ ปริมาตร 50 มิลลิลิตร

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • Wildlives insect block DEET 28% spray ราคา 80 บาท
  • Wildlives insect block DEET 55% spray ราคา 180 บาท
  • Wildlives insect block DEET 99% spray ราคา 220 บาท
  • Wildlives insect block KIDS insects and mosquitoes repellent spray flora (สูตรสำหรับเด็ก) ราคา 189 บาท

คำเตือนและข้อควรระวังในการใช้ยากันทากอย่างปลอดภัย

ไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยสาร DEET ที่ผิวหนังอ่อนหรือบนผิวหนังที่มีแผล หากเกิดอาการผิดปกติระหว่างใช้ เช่น ผื่นแดง คัน ให้หยุดใช้ทันทีและล้างน้ำออกหลายๆ ครั้ง พบว่า DEET อาจทำให้เกิดการระคายเคืองได้ในผู้ใช้บางราย ในบางกรณีอาจเกิดปฏิกิริยาทางผิวหนังที่รุนแรง นอกจากนี้ อาการอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น หายใจลำบาก แสบตา ปวดศีรษะ

คำแนะนำอื่นๆ ได้แก่

  • ไม่ควรสูดดมหรือรับประทานยากันทากเด็ดขาด หากเข้าตาให้รีบล้างออกด้วยน้ำสะอาด
  • ไม่ควรใช้ยากันทากร่วมกับครีมกันแดด เนื่องจากจะทำให้ DEET ซึมเข้าสู่ผิวหนังมากขึ้นจนอาจเกิดอันตรายได้
  • ควรเก็บยากันทากให้พ้นมือเด็ก
  • หากใช้ยากันทากแล้วมีอาการหายใจไม่สะดวก ลำคอตีบตัน ผื่นขึ้นตามตัว เนื้อเยื่ออ่อนต่างๆ บวม เช่น บริเวณตาและปาก ควรหยุดยาและพบแพทย์ทันที เนื่องจากผู้ใช้อาจเกิดอาการแพ้ส่วนผสมในยากันทาก

ถ้าไม่มียากันทาก ใช้อะไรป้องกันทากได้บ้าง?

มีทางเลือกอื่นๆ ที่สามารถป้องกันทากดูดเลือดได้ เช่น ใช้ถุงกันทาก สวมเสื้อผ้ารัดกุม โดยสวมใส่กางเกงขายาว สวมรองเท้าหุ้มส้น

นอกจากนี้การใช้ใบยาเส้นขยี้ที่รองเท้าและผิวหนัง หรือการใช้แชมพูทาบริเวณดังกล่าว ก็จะช่วยได้ลดความเสี่ยงในการถูกทากกัดได้เช่นกัน

หากถูกทากกัดควรทำอย่างไร?

เมื่อถูกทากหรือปลิงดูดเลือด ควรปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้

  1. เมื่อถูกทากหรือปลิงกัด ห้ามดึงออก เพราะจะทำให้เนื้อฉีกขาดเป็นแผลใหญ่และเลือดหยุดไหลยากขึ้น
  2. ใช้สารต่างๆ เช่น น้ำเกลือ น้ำส้มสายชูความเข้มข้นสูง แอลกอฮอล์ หรือ Wildlives insect block DEET spray หยอดรอบๆ บริเวณปากของทาก อาจใช้ไม้ขีดหรือบุหรี่จุดไฟจี้ที่ตัวทาก จะทำให้ทากปล่อยการดูดเลือดและหลุดออกจากตัวคุณได้
  3. ระหว่างดูดเลือดทากจะปล่อยสารทำให้เลือดเหลวยิ่งขึ้นเพื่อให้ตัวมันสามารถดูดเลือดได้สะดวก หลังจากที่ทากหลุดแล้ว ในกรณีที่เลือดยังไม่หยุดไหล ให้ห้ามเลือดโดยใช้ผ้าสะอาดกดบริเวณแผลจนกว่าเลือดจะหยุด จากนั้นจึงใช้น้ำยาฆ่าเชื้อทำความสะอาดแผล เช่น น้ำเกลือ หรือแอลกอฮอล์ ในกรณีที่มีผื่นคันด้วยให้ใช้ คาลามายด์ หรือสเตียรอยด์ชนิดครีมหรือน้ำทาบนบริเวณที่มีผื่นคัน แต่ควรระมัดระวังไม่ทาบริเวณแผลสด เพราะอาจเสี่ยงทำให้เกิดการติดเชื้อเพิ่มขึ้นได้
  4. ติดตามอาการของแผลอย่างใกล้ชิด หากแผลบวมแดงไม่ยุบลงหรือเกิดการอักเสบมากขึ้นควรพบแพทย์ เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน

3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ศูนย์พิษวิทยารามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล, ภาวะเป็นพิษจากสัตว์ (https://med.mahidol.ac.th/poisoncenter/th/pois-cov/P-ami_suker), 27 September 2019.
Michigan State University, Oregon State University, and University of California at Davis, DEET (http://pmep.cce.cornell.edu/profiles/extoxnet/carbaryl-dicrotophos/deet-ext.html), October 1997.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
สัญญาณไฟฟ้าหัวใจถูกขัดขวาง
สัญญาณไฟฟ้าหัวใจถูกขัดขวาง

ภาวะนี้คืออะไร อันตรายหรือไม่ และเมื่อไหร่ที่ต้องใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ

อ่านเพิ่ม