กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

เลือดออกขณะตั้งครรภ์เกิดจากอะไรได้บ้าง

เผยแพร่ครั้งแรก 14 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
เลือดออกขณะตั้งครรภ์เกิดจากอะไรได้บ้าง

การตั้งครรภ์เพื่อมีบุตรเป็นการเติมเต็มให้กับชีวิตครอบครัวอย่างสมบูรณ์ แต่มักจะส่งผลให้คุณแม่ตั้งครรภ์ประสบกับปัญหาในด้านร่างกายและจิตใจที่เปลี่ยนแปลงไป มีทั้งอาการปกติและไม่ปกติหลายอย่าง แม้แต่อาการเลือดออกขณะตั้งครรภ์ก็เป็นอีกหนึ่งการเปลี่ยนแปลงที่มีความผิดปกติ และเป็นปัญหาที่มักพบเจอได้บ่อยๆ

 ช่วงแรก : อายุครรภ์ 1 – 27 สัปดาห์

  • ภาวะไข่ฝ่อหรือท้องลม
  • ภาวะแท้งคุกคาม
  • ท้องนอกมดลูก
  • ทารกเสียชีวิตในครรภ์

เป็นภาวะแท้งคุกคามประเภทหนึ่งที่มีสาเหตุมาจากการแบ่งเซลล์ในตัวอ่อนไม่สมบูรณ์ ไม่มีการเจริญเติบโต แต่รก มดลูก และน้ำคร่ำกลับเจริญเติบโตหรือทำงานได้ตามปกติ โดยไม่มีตัวเด็กให้เห็นหรือมีเด็กแต่ไม่โตและเสียชีวิตในถุงน้ำคร่ำ อาจค้างอยู่หรือมีเลือดออก ซึ่งต้องรีบมาพบแพทย์เพื่อตรวจอย่างเร่งด่วน เพราะอาจเสี่ยงต่อการตกเลือดได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

มักมีเลือดออกขณะตั้งครรภ์แบบกะปริบกะปรอย โดยที่ปากมดลูกยังปิดอยู่ อาจปวดท้องน้อยหรือไม่ปวดก็ได้ พบว่า 20 – 30% เกิดการแท้งบุตรตามมา กับอีก 50% ที่ไม่มีภาวะแท้ง ซึ่งกรณีนี้อาจเป็นเพราะการฝังตัวของทารกระยะ 2 – 3 เดือนแรก อาจมีเลือดออกมาเพียงแค่ 2-3 วันก็จะหายไป คุณแม่ที่ตั้งครรภ์สามารถตั้งครรภ์ต่อได้จนกระทั่งคลอดตามปกติ

พบว่าเกิดจากไข่ที่ผสมแล้วเดินทางมาฝังตัวที่ท่อนำไข่หรือปีกมดลูก (Tubal pregnancy) ถึง 95 – 96% หรือมาฝังที่บริเวณอวัยวะอื่นๆ แทนที่ตัวอ่อนจะต้องเดินทางไปฝังตัวที่ผนังด้านในของโพรงมดลูกตามปกติ เมื่อตัวอ่อนเจริญเติบโตก็จะทำให้บริเวณที่ไปฝังตัว อย่างเช่นที่ท่อนำไข่มีการแตก เนื่องจากมีผนังค่อนข้างบางไม่เหมือนโพรงมดลูกที่มีความหนา สามารถรองรับการเจริญเติบโตของเด็กได้ แต่ถ้าท่อนำไข่แตกจะทำให้เลือดออกในช่องท้องหรือเลือดออกขณะตั้งครรภ์นั่นเอง

เกิดจากคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคเอสแอลอี โรคอ้วน อายุมาก การใช้ยาเสพติด รวมทั้งเกิดจากตัวทารกมีความผิดปกติจากโครโมโซมเอง ความพิการ ขาดออกซิเจนเรื้อรัง และรกเสื่อมที่ทำให้ทารกเจริญเติบโตช้า

 ช่วงที่สอง : อายุครรภ์ 28 สัปดาห์ เป็นต้นไป

  • รกเกาะต่ำ
  • รกลอกตัวก่อนกำหนด
  • มดลูกแตก
  • คลอดก่อนกำหนด

เกิดจากรกปิดขวางหรือคลุมมดลูกเพียงบางส่วนหรือคลุมทั้งหมด เพราะปกติรกจะต้องอยู่ด้านบนหรือห่างจากปากมดลูก เมื่อถึงเวลาคลอดมดลูกจะขยายออกจนทำให้เส้นเลือดที่เชื่อมต่อระหว่างรกและมดลูกฉีกขาด จึงทำให้มีเลือดออกทั้งก่อนและหลังคลอดได้ และยังมีความเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดการคลอดก่อนกำหนด

คืออาการที่รกหลุดลอกตัวออกจากตำแหน่งที่อยู่ปกติ ก่อนที่ทารกจะถึงกำหนดคลอด โดยอาจลอกเป็นบางส่วนหรือทั้งหมด ซึ่งสาเหตุที่ทำให้รกลอกตัวอย่างเช่นครรภ์เป็นพิษ อุบัติเหตุจนครรภ์ได้รับการกระทบกระเทือน หรือคุณแม่ตั้งครรภ์มีความดันโลหิตสูง

เป็นสภาวะวิกฤติที่มักจะเกิดอันตรายต่อคุณแม่ตั้งครรภ์และทารกได้ หากผนังมดลูกแตกหรือปริออกจะทำให้ตกเลือดหรือเลือดเข้าไปในช่องท้อง ทำให้เลือดออกขณะตั้งครรภ์ ทารกและน้ำคร่ำอาจหลุดออกจากมดลูกจนขาดเลือดและเสียชีวิตลงได้ คุณแม่ตั้งครรภ์ก็อาจเกิดการช็อก ชีพจรเต้นเร็ว ความดันต่ำ และเสียเลือดมาก เพราะมีเลือดออกที่ช่องท้องมากนั่นเอง

โดยปกติคุณแม่ตั้งครรภ์มักจะต้องมีอายุครรภ์ที่พร้อมคลอด 37 – 40 สัปดาห์ หรือก่อน 259 วัน นับจากวันแรกของประจำเดือนมาครั้งสุดท้าย หากมีอาการเจ็บครรภ์พร้อมที่จะคลอดนั่นคือการคลอดก่อนกำหนด ซึ่งมักจะมีอาการเจ็บครรภ์โดยไม่ทราบสาเหตุ ปวดท้องน้อย มดลูกมีการหดรัดตัว ปากมดลูกเปิด มีมูกเลือด หรือมีสารคัดหลั่งสีน้ำตาลปนเลือดออกมาทางช่องคลอด

หากมีเลือดออกขณะตั้งครรภ์ให้สันนิษฐานเป็นความผิดปกติที่จำเป็นต้องไปพบแพทย์ทั้งสิ้น เพราะมีบางกรณีที่ต้องได้รับการรักษาจากสูตินรีเวชแบบทันท่วงที มิฉะนั้นอาจเป็นอันตรายทั้งคุณแม่และทารกในครรภ์จนเกิดการสูญเสียอย่างใหญ่หลวงได้


14 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Pregnancy Spotting: What’s Normal and When to Seek Help. Healthline. (https://www.healthline.com/health/pregnancy/spotting-in-pregnancy)
First Trimester Bleeding: Causes and Treatment. Healthline. (https://www.healthline.com/health/pregnancy/first-trimester-bleeding)
Vaginal bleeding in pregnancy. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/pregnancy-and-baby/vaginal-bleeding-pregnant/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

อ่านเพิ่ม
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม