"อาการสติแตก" อาจฟังดูเป็นอาการร้ายแรง น่ากลัว และเกิดในผู้ที่ควบคุมตนเองไม่ได้ แต่ความจริงคนเรานั้นมีสิทธิ์เกิดอาการสติแตกได้ หากไม่สามารถรับมือกับปัญหา หรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตได้
ความหมายของอาการสติแตก
อาการสติแตก เป็นคำที่ใช้เรียกช่วงเวลาที่มีความเครียดทางจิตใจอย่างรุนแรง ในอดีตเคยมีการใช้คำนี้เพื่อหมายถึงอาการของโรคจิตเวชหลายอย่าง เช่นโรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล และโรคเครียดฉับพลัน
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ถึงแม้ว่าคำนี้นั้นจะไม่ใช่ศัพท์ทางการแพทย์อีกต่อไป แต่ก็ยังมีการใช้อธิบายอาการที่มีความเครียดรุนแรง และการที่ไม่สามารถจัดการกับปัญหาในชีวิตได้ ซึ่งอาจจะเป็นอาการของโรคทางจิตเวชที่ยังไม่ได้รับการวินิจฉัย
ภาวะนี้นั้นไม่มีคำนิยามที่เป็นมาตรฐาน แต่มักจะมองว่าเป็นช่วงเวลาที่ร่างกาย และจิตใจนั้นเกิดความเครียดอย่างรุนแรงจนส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
อาการที่พบบ่อยในช่วงที่สติแตก
คุณอาจมีอาการทั้งทางกาย และจิตใจอื่นๆ ร่วมด้วยได้ในระหว่างที่มีอาการสติแตก ซึ่งอาการนั้นจะขึ้นกับแต่ละบุคคล และโรคประจำตัวนั้นก็ส่งผลต่ออาการที่เกิดขึ้นเช่นกัน
- อาการเศร้า เช่น หมดหวัง มีความคิดอยากทำร้ายตนเอง หรือฆ่าตัวตาย
- อาการวิตกกังวลร่วมกับมีอาการความดันโลหิตสูง กล้ามเนื้อเกร็ง มือเปียก มึนหัว มวนท้อง และตัวสั่น
- นอนไม่หลับ
- เห็นภาพหลอน
- อารมณ์เปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง
- มีอาการหวาดระแวงโดยไม่ทราบสาเหตุ
- เจ็บหน้าอก
- ไม่อยู่ในโลกแห่งความเป็นจริง มีความกลัวอย่างรุนแรง
- หายใจลำบาก
นอกจากนี้ผู้ที่มีอาการสติแตกนั้นยังอาจจะแยกตัวออกจากครอบครัว เพื่อนและผู้ร่วมงาน โดยมีอาการเช่น
- หลีกเลี่ยงการเข้าสังคม และกิจกรรมกับผู้อื่น
- รับประทานอาหาร และนอนหลับได้ไม่ดี
- มีสุขอนามัยที่ไม่ดี
- ลาป่วยติดต่อกันหลายวันหรือไม่มาทำงานเลย
- แยกตัวออกจากคนอื่นในบ้าน
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการสติแตก
ผู้ป่วยอาจจะบอกว่ามีภาวะสติแตกเวลาที่มีความเครียดสูงเกินกว่าที่จะรับไหว และความเครียดนั้นเกิดจากปัจจัยภายนอก ตัวอย่างเช่น
- ความเครียดในที่ทำงานเรื้อรัง หรือการเรียน
- เพิ่งมีเหตุการณ์ที่สะเทือนจิตใจเช่นการเสียชีวิตของคนในครอบครัว
- ปัญหาทางด้านการเงินที่รุนแรง เช่นการกำลังจะถูกฟ้องล้มละลาย
- การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ในชีวิต เช่น การหย่าร้าง พ่อแม่แยกทางกัน การทะเลาะกับเพื่อนสนิท
- นอน และพักผ่อนได้น้อย
- มีประวัติเป็นโรควิตกกังวล หรือโรคซึมเศร้า
- มีประวัติครอบครัวเป็นโรควิตกกังวล หรือเป็นโรคซึมเศร้า
- เพิ่งได้รับบาดเจ็บ หรือมีการเจ็บป่วยที่ทำให้สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ยาก
การรักษา
คุณสามารถหยุดวงจรความเครียดทั้งทางใจหรือทางพฤติกรรมได้โดย
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
- เข้ารับการบำบัดด้วยการพูดคุย หรือการทำ Cognitive behavioral therapy
- รับประทานยาตามจิตแพทย์สั่ง เช่น ยาต้านเศร้า หรือยาลดอาการวิตกกังวล เพื่อรักษาสมดุลทางเคมีที่ผิดปกติ
- เลือกรับการรักษาด้วยวิธีอื่น เช่น การฝังเข็ม การนวด หรือการเล่นโยคะ
- เมื่อเกิดอาการเครียด หรือใกล้เกิดอาการสติแตก ให้ลองหายใจลึกๆ อย่างช้าๆ ระหว่างนั้นนับ 1-10 เพื่อให้ร่างกาย และจิตใจสงบลง
- ลดการดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีน และแอลกอฮอล์
- วางแผนตารางการนอนที่จะทำให้คุณนอนหลับได้ดีขึ้น เช่น การแช่น้ำ การปิดอุปกรณ์ไฟฟ้า หรือการอ่านหนังสือก่อนเข้านอน
เมื่อไหร่ที่ต้องไปพบแพทย์
มันไม่ใช่เรื่องผิดปกติที่จะรู้สึกว่า ตนเองนั้นไม่สามารถจัดการกับความเครียดในชีวิตได้ เพราะคุณอาจกำลังไม่ได้จัดการกับความเครียดในวิธีที่ดี หรือเหมาะสมพอ
หากคุณเริ่มมีปัญหากับการใช้ชีวิตประจำวัน อาการสติแตกนั้นอาจจะเป็นสัญญาณของการเป็นโรคจิตเวชได้ ดังนั้นหากคุณรู้สึกว่าตัวเองมีอาการเหล่านี้ควรไปพบแพทย์ทันที
แพทย์สามารถช่วยรักษาอาการทางกาย และส่งต่อเพื่อไปพบกับจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาซึ่งจะช่วยรักษาอาการทางด้านอารมณ์ จิตใจและพฤติกรรม ผู้ที่ดูแลผู้ป่วยควรติดต่อแพทย์ทันที หากกังวลว่า ผู้ป่วยกำลังมีอาการทางจิต หรือมีปัญหาเกี่ยวกับพฤติกรรม
เคล็ดลับในการดูแลตัวเอง
การปรับเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิตนั้นสามารถช่วยป้องกันการเกิดภาวะสติแตกได้ และยังสามารถช่วยลดความรุนแรงและความถี่ในการเกิดอาการได้อีกด้วย เช่น
- การออกกำลังกายเป็นประจำอย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เช่นการเดินรอบๆ หมู่บ้านเป็นเวลา 30 นาที
- ไปพบนักบำบัดหรือผู้ให้คำปรึกษาเพื่อจัดการกับความเครียด
- หลีกเลี่ยงการใช้ยา บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คาเฟอีน และสารอื่นๆ ที่จะทำให้ร่างกายเกิดความเครียด
- นอนหลับให้เพียงพออย่างน้อย 6 ชั่วโมงต่อคืนเป็นประจำ
- นำเทคนิคการผ่อนคลาย เช่น การฝึกการหายใจมาใช้ชีวิตประจำวัน
- ลดระดับความเครียดด้วยการออกไปเอง พัก จัดการกับสิ่งแวดล้อมและกิจกรรมในแต่ละวันและจดรายการสิ่งที่ต้องทำในแต่ละวัน คุณสามารถเปลี่ยนสิ่งต่างๆ เหล่านี้ได้ด้วยตัวเอง แต่การไปพบแพทย์อาจจะช่วยให้คุณสามารถวางแผนการรักษาที่ดีขึ้นได้
เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจปรึกษาสุขภาพจิต จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android