สารหล่อลื่นคืออะไร มีวิธีการเลือกอย่างไร?

สารหล่อลื่นคืออะไร ร่างกายสามารถผลิตสารหล่อลื่นขึ้นมาเองได้หรือไม่ ควรเลือกสารหล่อลื่นอย่างไรให้เหมาะสมที่สุด?
เผยแพร่ครั้งแรก 23 เม.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 26 มิ.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
สารหล่อลื่นคืออะไร มีวิธีการเลือกอย่างไร?

สารหล่อลื่น (Lubricant) คือสารเหลวสำหรับลดความเสียดทานที่นำมาใช้กับกิจกรรมทางเพศ เช่น การสำเร็จความใคร่ การมีเพศสัมพันธ์ หรือการนำไปใช้กับของเล่นผู้ใหญ่ (Sex Toy) เพื่อเพิ่มความสนุกสนานและสบายตัวขณะทำกิจกรรมมากขึ้น

สารหล่อลื่นที่ร่างกายผลิตออกมาเอง

มีของเหลวหลายชนิดที่ร่างกายผลิตออกมาทำหน้าที่เป็นสารหล่อลื่นตามธรรมชาติ เช่น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • เลือดประจำเดือน : ในช่วงต้นของรอบเดือน สามารถนำเลือดประจำเดือนมาใช้เป็นสารหล่อลื่นสำหรับการมีเพศสัมพันธ์หรือสำเร็จความใคร่ได้ โดยเฉพาะช่วงใกล้จะตกไข่ (Ovulation) ซึ่งจะทำให้สิ่งของ นิ้วมือ หรือองคชาติถูไถไปมาได้ง่ายขึ้น อย่างไรก็ตามช่วงมีประจำเดือนจะมีความเสี่ยงในการติดเชื้อได้ง่ายมากกว่าช่วงอื่นๆ
  • ของเหลวจากช่องคลอด (Vaginal Fluid) : เป็นของเหลวที่ไหลออกมาเกือบตลอดเวลา เป็นส่วนช่วยให้ช่องคลอดมีความลื่นและชุ่มชื้น การปลุกเร้าอารมณ์ก่อนการสอดใส่มากพอ จะช่วยให้ช่องคลอดผู้หญิงผลิตของเหลวออกมามากขึ้น
  • น้ำลาย : น้ำลายสามารถนำมาใช้เป็นสารหล่อลื่นได้เช่นกัน การใช้น้ำลายในการสำเร็จความใคร่นั้นจะช่วยป้องกันการเกิดเชื้อราบริเวณช่องคลอด (Vulvovaginal Candida) ได้ด้วย ซึ่งนักวิจัยคาดว่าน้ำลายมีองค์ประกอบที่ช่วยต้านเชื้อราและมีแบคทีเรียที่ดีบางตัว

เหตุใดจึงต้องใช้สารหล่อลื่น?

ผู้หญิงหลังหมดประจำเดือน (Post-Menopausal) ประมาณครึ่งหนึ่งจะมีอาการช่องคลอดแห้งและรู้สึกไม่สบายตัวขณะมีเพศสัมพันธ์ เนื่องจากการลดลงของฮอร์โมน Estrogen ในร่างกาย เมื่อฮอร์โมนชนิดนี้มีระดับน้อยลงทำให้เนื้อเยื่อส่วนนั้นบางลง มีความยืดหยุ่นน้อยลง มีการไหลเวียนโลหิตน้อยลง และมีการผลิตของเหลวภายในช่องคลอดน้อยลง

นอกจากผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนแล้ว ยังมีผู้หญิงที่อาจพบภาวะช่องคลอดแห้งได้ดังต่อไปนี้

  • ผู้ที่กำลังให้นมบุตร
  • ผู้ที่กำลังใช้ยาบางชนิด เช่น ยาต้านฮิสตามีน (Antihistamines) ยาต้านซึมเศร้า (Antidepressants) ยารักษาสิวกลุ่มวิตามินเอ
  • ผู้ที่รอดชีวิตจากโรคมะเร็งเต้านม
  • ผู้ป่วยกลุ่มอาการโจเกร็น (Sjogren's Syndrome)

การใช้สารหล่อลื่นไม่ใช่เรื่องน่าอับอายใด ๆ และใครก็ใช้ได้โดยไม่จำเป็นต้องมีภาวะช่องคลอดแห้ง ถ้าหากเลือกประเภทที่ถูกต้องตามความต้องการ ก็จะช่วยเพิ่มประสบการณ์ทางเพศที่แปลกใหม่ได้อีกด้วย

วิธีการเลือกสารหล่อลื่น

โดยทั่วไปแล้ว สารหล่อลื่นมีด้วยกัน 3 ประเภท และแต่ละประเภทก็แตกต่างกันไป ดังนี้

  1. สารหล่อลื่นสูตรน้ำ (Water-Based Lube) : เป็นชนิดที่ปลอดภัยที่สุด ใช้ได้กับกิจกรรมทางเพศทุกกรณี เหมาะกับผู้ที่มีผิวบอบบางหรือมีช่องคลอดที่ระคายเคืองง่าย สามารถใช้กับถุงยางอนามัยและของเล่นได้ ทำความสะอาดได้ง่ายโดยไม่ทิ้งรอยไว้ แต่ไม่เหมาะกับการใช้ในน้ำ และต้องคอยเติมบ่อยครั้ง ซึ่งอาจจะไม่ถูกใจคู่รักที่จะมีเพศสัมพันธ์แบบมาราธอนมากนัก
  2. สารหล่อลื่นสูตรซิลิโคน (Silicone-Based Lube) เป็นสารที่มีความลื่น ติดทน เหมาะกับกิจกรรมที่กินเวลานาน และเหมาะกับการมีกิจกรรมทางเพศในน้ำ แต่ไม่เหมาะจะใช้ร่วมกับของเล่นที่ผลิตมาจากซิลิโคน เพราะจะทำให้ยางของเล่นเสื่อมสภาพเร็วขึ้น สารหล่อลื่นประเภทนี้ไม่ต้องเติมบ่อยครั้ง มีข้อเสียคือล้างออกยาก
  3. สารหล่อลื่นสูตรน้ำมัน (Oil-based lube) ก็ให้ความรู้สึกลื่นไหลที่ยาวนานกว่าสารหล่อลื่นสูตรน้ำ เหมาะสำหรับกิจกรรมสำเร็จความใคร่ การร่วมเพศแบบไม่ป้องกัน และกิจกรรมทางเพศในน้ำรวมถึงนำไปใช้กับการนวดเร้าอารมณ์ได้ด้วย สารหล่อลื่นประเภทนี้ไม่เหมาะกับถุงยางอนามัยที่ทำจากน้ำยาง (Latex Condoms) เพราะน้ำมันจะเข้าไปละลายยางของถุงยางและทำให้ถุงยางขาด มีข้อเสียคือล้างออกยากมาก

การเลือกสารหล่อลื่นสำหรับเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก

การใช้สารหล่อลื่นกับการมีเพศสัมพันธ์ทางทวารนัก เป็นสิ่งที่แนะนำอย่างมาก เพราะโพรงทวารหนักจะไม่มีการผลิตของเหลวออกมาเหมือนช่องคลอด และกล้ามเนื้อหูรูดที่เป็นปากทางเข้าก็มีความรัดแน่นมากกว่าปากช่องคลอด จึงอาจทำให้เกิดความเจ็บปวดทั้งสองฝ่ายได้ ควรเลือกใช้สารหล่อลื่นชนิดน้ำ เพื่อลดการฉีกขาดของถุงยาง และควรทาสารหล่อลื่นนอกถุงยาง เพื่อลดการหลุดออกของถุงยาง

ประเด็นที่ควรทราบก่อนซื้อสารหล่อลื่น

  • ควรเลี่ยงสารหล่อลื่นที่ผสมกลิ่น, รส, สี, น้ำตาล, น้ำมันสกัด, และสารเติมแต่งอื่น ๆ เช่น กลีเซอรีน (Glycerine) เพราะสารหล่อลื่นที่มีกลีเซอรีนความเข้มข้นสูง อาจส่งผลเสียต่อเนื้อเยื่อทวารหนักหรือช่องคลอดได้ โดยจะทำให้เนื้อเยื่อเหล่านั้นขาดน้ำ เสี่ยงต่อการติดเชื้อต่างๆ ได้มากขึ้น
  • หากเลือกใช้สารหล่อลื่นสูตรน้ำ ควรเลือกยี่ห้อที่มีค่า pH 3.8-4.5 เพื่อป้องกันความเสี่ยงภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial Vaginosis) หรือของทวารหนักที่มีระดับความเป็นกรดด่างที่ pH 5.5-7
  • หากมีเพศสัมพันธ์แล้วทำให้เกิดความรู้สึกเจ็บปวด การเพิ่มสารหล่อลื่นก็อาจไม่ใช่คำตอบเสมอไป เพราะมีโรคภัยหรือภาวะติดเชื้อมากมายที่ทำให้เกิดอาการเจ็บปวดขณะมีเพศสัมพันธ์แบบสอดใส่ หากเกิดกรณีนี้และทดลองใช้สารหล่อลื่นแล้วแต่ยังไม่ดีขึ้น ควรไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุที่ถูกต้องเพื่อจะได้ทำการรักษาต่อไป

3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Susan Brickell, How to Use Lube to Make Sex So Much Better (https://www.health.com/sexual-health/how-to-use-lube-for-better-sex), 28 January 2019
How to Choose a Lubricant for Pleasure and Safety (https://www.ourbodiesourselves.org/book-excerpts/health-article/how-to-choose-lubricant/), 12 September 2014
Nicole Telfer​, How to pick a lubricant (https://helloclue.com/articles/sex/how-to-pick-a-lubricant), 14 February 2018

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อาการคันและแสบในช่องคลอดไม่ใช่เรื่องปกติ
อาการคันและแสบในช่องคลอดไม่ใช่เรื่องปกติ

จุดซ่อนเร้นคือจุดสำคัญ ขอให้หมั่นสังเกตเพื่อแก้ไขก่อนที่อาการจะรุนแรงและยากต่อการรักษา

อ่านเพิ่ม