กลุ่มอาการเลแมร์ (Lemierre’s syndrome) เกิดจากการที่เชื้อแบคทีเรียลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองที่คอ และเกิดการอุดตันของเส้นเลือดดำในคอ กลุ่มอาการนี้เป็นภาวะแทรกซ้อนของการติดเชื้อบริเวณศีรษะและลำคอ ซึ่งอาจเรียกว่า Jugular vein suppurative thrombophlebitis ซึ่งหมายถึงการเกิดลิ่มเลือด การอักเสบ และการมีหนองในเส้นเลือดดำที่คอ
ลิ่มเลือดที่อุดตันในเส้นเลือดดำที่คอที่เกิดการติดเชื้อนั้นสามารถเดินทางไปได้ตามกระแสเลือด และทำให้เกิดฝีในบริเวณอื่นๆ เช่น ปอด ข้อ ตับ และไต โรคนี้แม้ว่าจะพบได้น้อยมาก เพียง 1 ในล้านคน แต่พบว่าในปัจจุบันกำลังมีผู้ป่วยโรคนี้มากขึ้นเรื่อยๆ โดยในช่วงก่อนที่จะมีการผลิตยาปฏิชีวนะเพื่อรับมือกับโรคนี้ออกมานั้น มีผู้ป่วยภาวะนี้ที่เสียชีวิตเกือบ 90%
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ปัจจัยเสี่ยงของกลุ่มอาการเลแมร์
ภาวะนี้เกิดได้กับคนทุกกลุ่มอายุ แต่พบได้มากในเด็กเล็ก วัยรุ่น และวัยผู้ใหญ่ตอนต้น โดยมักเกิดขึ้นในช่วงปลายฤดูหนาวหรือต้นฤดูใบไม้ผลิ
อาการของกลุ่มอาการเลแมร์
ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักเริ่มมีอาการเหมือนการติดเชื้อในคอที่มีอาการเจ็บคอทั่วๆ ไป ในบางรายพบว่าอาการเจ็บป่วยในช่วงแรกเป็นอาการทางฟัน หู หรือมีการติดเชื้อในโพรงจมูก ต่อมา 4-5 วันอาการเหล่านี้จะเริ่มเป็นมากขึ้น โดยจะมีอาการดังต่อไปนี้
- ไข้หนาวสั่น
- เจ็บคอด้านเดียวและคอบวม
- กลืนลำบาก
- เจ็บหน้าอก
- ไอ
- หายใจลำบาก
- ไอเป็นเลือด
- ปวดข้อ
- เหงื่อออกตอนกลางคืน
- ตัวเหลืองตาเหลือง
หากเป็นในขั้นรุนแรงหรือไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้เกิดภาวะต่อไปนี้
- เกิดการสะสมของหนองระหว่างปอดกับผนังหน้าอก
- มีฝีติดเชื้อภายในปอด
- ติดเชื้อที่ข้อ
- ติดเชื้อที่กระดูก
- ไตวาย
- ตับวาย
- มีการสะสมของการติดเชื้อในกล้ามเนื้อและผิวหนัง
- เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
- ฝีในสมอง
การวินิจฉัยกลุ่มอาการเลแมร์
โรคนี้สามารถวินิจฉัยได้ผ่านการตรวจเลือดเพื่อระบุว่ามีแบคทีเรียที่ทำให้เกิดอาการต่างๆ หรือไม่ รวมทั้งอาจมีการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงหรือการตรวจเอซเรย์คอมพิวเตอร์เพื่อตรวจหาลิ่มเลือดที่อุดตันในเส้นเลือดดำที่คอ
การรักษากลุ่มอาการเลแมร์
ภาวะนี้สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียกที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรค โดยมักให้ยาปฏิชีวนะทางเส้นเลือดดำ และให้นานกว่าการติดเชื้ออื่นๆ ที่รุนแรงน้อยกว่า คือมักให้ประมาณ 2-6 สัปดาห์ ผู้ป่วยบางรายอาจต้องใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดร่วมด้วยเพื่อยับยั้งไม่ให้เกิดลิ่มเลือดขึ้นมาอีก และในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงอาจจะต้องผ่าตัดเพื่อนำหนองออกจากฝีที่อยู่ในคอหอย คอ และอวัยวะอื่นๆ ในรายที่เป็นรุนแรงมากอาจจะต้องทำการผ่าตัดนำลิ่มเลือดในเส้นเลือดดำที่คอที่เกิดการติดเชื้อออก หรือทำการผูกเส้นเลือดดำที่คอเพื่อป้องกันลิ่มเลือดเคลื่อนไปยังบริเวณอื่น
เป็นไข้หวัดใหญ่ชนิดเดียวกันในช่วงๆเวลาใกล้กันได้หรือไม่คะ