กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ซีสต์คืออะไร มีประเภทไหนบ้าง อาการ การรักษา

รู้จักซีสต์แต่ละประเภท แบบไหนถึงต้องผ่า แล้วแบบไหนไม่ต้องผ่า? รวมถึงการรักษาซีสต์แต่ละประเภท
เผยแพร่ครั้งแรก 6 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
ซีสต์คืออะไร มีประเภทไหนบ้าง อาการ การรักษา

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ซีสต์ (Cyst) คือถุงน้ำที่บวมขึ้นกว่าพื้นผิวปกติ เกิดขึ้นได้ตั้งแต่ใต้ผิวหนังลงไปถึงอวัยวะภายใน ซีสต์อาจเกิดขึ้นที่ส่วนใดก็ได้ของร่างกาย ภายในซีสต์อาจประกอบไปด้วยสารคัดหลั่ง ของเหลว หรือของเหลวกึ่งแข็งที่เรียกกันว่าซีสต์เนื้อ 
  • ซีสต์มีหลายประเภท เช่น ซีสต์อีพีเดอร์มอยด์ ซีสต์ไขมันใต้ผิวหนัง ซีสต์เต้านม (ถุงน้ำที่เต้านม) ซีสต์ที่ข้อมือ ซีสต์ที่ร่องทวาร (ฝีร่องก้น) ซีสต์รังไข่ หรือซีสต์ที่มดลูก
  • ซีสต์ไม่จำเป็นต้องผ่าออกเสมอไป ขึ้นอยู่กับชนิดของซีสต์ ขนาดของซีสต์ มีการติดเชื้ออักเสบ หรือเป็นก้อนเนื้อที่เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งไหม
  • หากมีซีสต์ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุ ตรวจสอบว่า เป็นซีสต์ที่อันตรายไหม และเข้ารับการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม  
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจโปรแกรมตรวจสุขภาพ

ซีสต์เป็นหนึ่งในอาการที่พบได้บ่อย แต่หลายคนก็ยังคงมีความกังวลอยู่เสมอ เพราะซีสต์บางประเภทมีโอกาสนำไปสู่โรคมะเร็งได้ ฉะนั้นการรู้จักซีสต์แต่ละประเภทรวมทั้งสาเหตุของซีสต์ จึงเป็นสิ่งสำคัญ

ซีสต์คืออะไร?

ซีสต์ (Cyst) คือถุงน้ำที่บวมขึ้นกว่าพื้นผิวปกติ เกิดขึ้นได้ตั้งแต่ใต้ผิวหนังลงไปถึงอวัยวะภายใน ซีสต์อาจเกิดขึ้นที่ส่วนใดก็ได้ของร่างกาย ภายในซีสต์อาจประกอบไปด้วยสารคัดหลั่ง ของเหลว หรือของเหลวกึ่งแข็งที่เรียกว่า ซีสต์เนื้อ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ซีสต์เกิดจากอะไร?

ซีสต์เกิดจากความผิดปกติของส่วนต่างๆ ในร่างกาย เช่น ต่อมเหงื่อ ต่อมไขมัน ต่อมขน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจนกลายเป็นถุงซีสต์ เมื่อสารคัดหลั่ง หรือของเหลวต่างๆ เช่น ไขมัน คราบไคล มาสะสมอยู่ในถุงนี้ จะทำให้ถุงซีสต์ใหญ่ขึ้นจนสังเกตเห็นเป็นก้อนซีสต์ขึ้นมา

ประเภทของซีสต์

หากแบ่งซีสต์ตามตำแหน่งที่ปรากฏขึ้น จะแบ่งเป็น 14 ประเภท ดังนี้ 

1. ซีสต์อีพีเดอร์มอยด์ (Epidermoid cyst)

เป็นซีสต์ที่เกิดจากเนื้องอกของเซลล์บุผิวในชั้นหนังแท้ เป็นตุ่มบวมขนาดประมาณ 0.5-5 เซนติเมตร มักขึ้นบริเวณหัว หน้า คอ หลัง และอวัยวะเพศชาย อาจมีสีเหลือง สีแทน หรือสีเหมือนผิวหนังปกติ

ด้านในประกอบไปเคราติน (Keratin) ยิ่งมีเยอะจะทำให้ซีสต์มีขนาดใหญ่ขึ้น อาจแดงและอักเสบได้

2. ซีสต์ไขมันใต้ผิวหนัง (Sebaceous cyst)

ซีสต์ประเภทนี้จะมีความคล้ายกับซีสต์อีพีเดอร์มอยด์ แต่สารคัดหลั่งที่อยู่ภายในมาจากต่อมไขมัน สามารถขึ้นได้บนใบหน้า คอ เนื้อตัว และพบมากที่หน้าอก ถ้าหากมีขนาดใหญ่จะรู้สึกถึงแรงกดและปวด

3. ซีสต์เต้านมหรือถุงน้ำที่เต้านม (Breast cyst)

คาดว่า ซีสต์ หรือถุงน้ำที่เต้านมเกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศหญิงที่ทำงานกับระบบสืบพันธุ์

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ถุงน้ำเต้านมนี้จะเกิดขึ้นในช่วงใกล้เป็นประจำเดือน ทำให้ของเหลวมารวมอยู่บริเวณเต้านมเยอะจนเป็นก้อน เป็นเหตุผลให้หลายคนมีอาการปวดเต้านมขณะใกล้เป็นประจำเดือน และจะหายไปได้เองเมื่อประจำเดือนมา

แต่ต้องคอยสังเกตความผิดปกติอย่างต่อเนื่อง เช่น หากมีเลือดออกที่หัวนม หรือเกิดถุงน้ำเต้านมขึ้นบ่อยๆ อาจนำไปสู่มะเร็งเต้านมได้ แนะนำให้เข้ารับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านม

4. ซีสต์ที่ข้อมือ (Ganglion cyst)

เป็นซีสต์ที่มักปรากฎขึ้นตามเส้นเอ็นหรือข้อต่อ คาดว่า อาจเกิดจากเนื้อเยื่อหุ้มข้อและเส้นเอ็นฉีดขาด

ทำให้เยื่อบุไซโนเวียล (Xynovial) ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อในข้องอกออกมาพร้อมน้ำไขข้อ ทำให้เกิดก้อนนูนขึ้นเป็นซีสต์จนสังเกตได้

ซีสต์ประเภทนี้ไม่เป็นอันตราย แต่หากซีสต์มีขนาดใหญ่ อาจสร้างแรงกดต่อโครงสร้างอื่นๆ บริเวณรอบได้

5. ซีสต์ที่ร่องทวารหรือฝีร่องก้น (Pilonidal cyst)

ซีสต์ประเภทนี้คาดว่าเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน เนื่องจากมักเกิดขึ้นกับวัยรุ่น รวมถึงการเจริญเติบโตของเส้นขนบริเวณทวารและการเสียดสีของเครื่องแต่งกาย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ลักษณะซีสต์จะเป็นหลุมเล็กบริเวณร่องทวารด้านบน อาจมีหนองหรือของเหลวสกปรกเข้าไปสะสมได้ มีกลิ่นเหม็น ผู้ที่เป็นอาจรู้สึกเจ็บเวลายืนหรือนั่ง

6. ซีสต์รังไข่หรือถุงน้ำรังไข่ (Overian cyst)

เกิดจากรังไข่ทำงานผิดปกติและแบ่งเซลล์มากเกินไป ทำให้รังไข่ขยายใหญ่มากขึ้นกลายเป็นถุงน้ำรังไข่ อาจเกิดข้างเดียวหรือสองข้างเลยก็ได้

หากเกิดภาวะนี้ บางคนจะมีอาการแทรกซ้อนคือปีกมดลูกบิดเกลียว รู้สึกปวด มักรู้สีกเมื่อออกกำลังกายหนัก การเคลื่อนไหวร่างกายไม่เหมาะสม

7. ซีสต์ที่มดลูกหรือช็อกโกแลตซีสต์ (Chocolate cyst)

ซีสต์ประเภทนี้เกิดจากเลือดระดูไหลย้อนกลับเข้าไปอุ้งเชิงกราน ทำให้มีเซลล์เยื่อบุมดลูกติดเข้าไปและไปเจริญเติบโตตามจุดต่างๆ กลายเป็นถุงน้ำบวมขึ้น

หากมีเลือดประจำเดือนเข้ามาสะสม ถุงน้ำนี้จะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลคล้ายช็อกโกแลต สังเกตอาการได้จากการปวดท้องประจำเดือนมาก ประจำเดือนมาไม่ปกติ ท้องมีขนาดใหญ่ขึ้น คลำเจอก้อนบริเวณหน้าท้อง หรือรู้สึกเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ 

8. ซีสต์ที่เปลือกตาหรือตากุ้งยิง (Chalazion)

ซีสต์ประเภทนี้เกิดจากต่อมมัยโบเมียน (Meibomian galand) ซึ่งเป็นต่อมไขมันบริเวณรอบดวงตาเกิดอุดตัน ทำให้ไขมันสะสมจนเกิดเป็นเม็ดซีสต์ขึ้นมา

ลักษณะคล้ายถั่วเขียว สามารถเกิดได้ทั้งเปลือกตาล่างและบน มีโอกาสที่จะบวม แดง รวมถึงติดเชื้อได้ 

9. ซีสต์หลังเข่าหรือถุงน้ำหลังเข่า (Baker’s cyst)

อาการนี้มักเกิดในผู้ที่เป็นโรคไขข้อ กระดูกอ่อนเกิดการบาดเจ็บ ทำให้มีของเหลวไปสะสมบริเวณหลังเข่าจนบวมเห็นเป็นก้อนเนื้อ แต่ถุงน้ำหลังเข่านี้สามารถหายได้เองโดยไม่ต้องรักษา

10. สิวซีสต์ (Cystic acne)

เกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน เช่น แบคทีเรีย ไขมัน และเซลล์ผิวที่แห้งติดอยู่ในรูขุมขน โตขึ้นอยู่ใต้ผิวหนังจนสังเกตเห็นได้จากด้านนอก สิวซีสต์สามารถขึ้นไปทั้งใบหน้า หน้าอก หลัง มีสีแดง เจ็บ และมีหนองอยู่ภายใน

11. ซีสต์ขนขุด (Ingrown hair cyst)

ซีสต์ประเภทนี้เกิดขึ้นจากขนที่ขึ้นเฉียงผิดทาง ทำให้ขนนั้นคุดอยู่ในภายใน

ลักษณะคล้ายกับการเกินฟันคุด ลักษณะจะดูคล้ายกับสิวเสี้ยนมีสีแดง ขาว เหลือง แต่หากซีสต์เปลี่ยนเป็นสีแดงแสดงว่าเกิดการติดเชื้อ ควรไปพบแพทย์ผิวหนังเพื่อหาทางรักษา

12. ซีสต์ขนปุ่มรากผม (Pilar cyst)

เป็นซีสต์ที่ปุ่มรากผมใต้ผิวหนัง มีเคราตินอยู่ภายในคล้ายกับอีพีเดอร์มอยด์ซีสต์ แต่มีความหนาแน่นมากกว่า ลักษณะจะเห็นเป็นก้อนมีขนาด 0.5-5 เซนติเมตร ผิวเรียบ แข็ง สีชมพู และ 75% ของคนที่เป็นมักมีคนในครอบครัวเคยเป็นมาก่อน

13. มิวคัสซีสต์ (Mucous cyst)

ซีสต์ประเภทนี้มักพบปริเวณริมฝีปากและช่องปาก เกิดจากการบาดเจ็บกระทบกระทั่งภายในปาก เช่น กัดริมฝีปาก กัดถูกกระพุ้งแก้ม ทำให้ต่อมน้ำลายทำงานผิดปกติ จึงเกิดการสะสมของมิวซิน (Mucin) ซึ่งทำหน้าที่หล่อลื่นเนื้อเยื่อภายในช่องปาก

เมื่อมิวซินสะสมในชั้นหนังแท้มากขึ้นจะเกิดเป็นก้อนซีสต์ หรืออาจเกิดจากต่อมน้ำลายอุดตันก็ได้ ลักษณะซีสต์นี้จะมีสีชมพูอ่อน เป็นก้อนขนาดเล็ก 

14. ถุงน้ำที่คอ (ฺBranchial cleft cyst)

เกิดจากความผิดปกติของกระดูกไหปลาร้า มักเกิดขึ้นกับเด็ก โดยจะมีอาการบวมน้ำ นุ่ม อาจมีของเหลวซึมออกมาจากคอ ปกติแล้วถุงน้ำชนิดนี้ไม่อันตราย แต่อาจสร้างความระคายเคืองและติดเชื้อได้ รวมถึงส่งผลกระทบกับระบบทางเดินหายใจ

มีซีสต์ต้องผ่าออกไหม?

ซีสต์ไม่จำเป็นต้องผ่าออกเสมอไป เพราะหากเป็นซีสต์น้ำที่มีของเหลวหรือสารคัดหลั่งภายใน จะไม่อันตรายและไม่จำเป็นต้องผ่าออก 

อย่างไรก็ตาม หากซีสต์มีขนาดใหญ่เกินไป ติดเชื้ออักเสบ หรือรบกวนการใช้ชีวิต ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจดูว่าเป็นซีสต์เนื้อหรือไม่ หรือเสี่ยงเป็นมะเร็งแค่ไหน เพื่อวางแผนการรักษาต่อไป  

การรักษาซีสต์

หากเป็นซีสต์ทั่วไปอาจรักษาให้หายเองที่บ้านได้ แต่ถ้ามีความผิดปกติเกิดขึ้นบริเวณซีสต์ เช่น โตขึ้น ติดเชื้อ บวมแดงผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์ทันที โดยซีสต์ที่พบบ่อย แพทย์จะมีวิธีการรักษาดังนี้ 

  • ซีสต์บางประเภทสามารถสลายไปได้เองอยู่แล้ว เช่น ซีสต์เต้านม ซีสต์หลังเข่า ซีสต์ไขมันใต้ผิวหนัง แต่หากอยากเร่งให้ซีสต์ยุบเร็วขึ้นอาจลองประคบร้อนบริเวณที่เกิดซีสต์ แต่ไม่ควรบีบออกด้วยตัวเอง เพราะอาจเกิดการบาดเจ็บและติดเชื้อได้ 
  • ซีสต์เต้านม หากคลำพบก้อนที่บริเวณเต้านม ควรลองปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจดูว่าเป็นซีสต์ประเภทใด ถ้าเป็นซีสต์น้ำก็ไม่จำเป็นต้องผ่าตัด แต่ใช้วิธีเจาะดูดน้ำออกแทน แต่ถ้าอัลตราซาวด์พบว่าเป็นซีสต์เนื้อ จะต้องตัดชิ้นเนื้อมาตรวจดูว่าเป็นเชื้อมะเร็งหรือไม่ ถ้าใช้แพทย์จะวางแผนการรักษาด้วยการผ่าตัดต่อไป
  • ถุงน้ำรังไข่และช็อกโกแลตซีสต์ หากคลำพบก้อนที่บริเวณหน้าท้อง แพทย์จะอัลตราซาวด์ดูว่าซีสต์มีขนาดใหญ่หรือไม่ และเป็นซีสต์ชนิดใด หากซีสต์มีขนาดใหญ่แพทย์อาจพิจารณาให้ผ่าออกหรือฉีดยาสลายซีสต์นั้น
  • ตากุ้งยิง เบื้องต้นอาจใช้น้ำอุ่นเช็ดบริเวณรอบดวงตา หรือปรึกษาเภสัชกรเพื่อใช้ยาหยอดตา แต่ถ้ายังไม่หายควรไปพบจักษุแพทย์เพื่อกรีดเอาของเหลวออก หลังจากรักษาแผลจนหายสนิทดีแล้วจะไม่เห็นแผลเป็น
  • ก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ บางคนอาจใช้การนวดคลึงบริเวณที่บวมจนถุงน้ำแตกและค่อยๆ สลายไปได้เอง แต่วิธีการนี้อาจทำให้เจ็บและเส้นเอ็นอักเสบได้ ฉะนั้นควรไปพาแพทย์เพื่อเจาะน้ำออก หรืออาจใช้สเตียรอยด์

ซีสต์มีหลายประเภท มีทั้งประเภทที่ไม่เป็นอันตราย สามารถหายได้เอง และประเภทที่เป็นก้อนเนื้อซึ่งอาจเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อมีซีสต์ก็ควรไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุ และเข้ารับการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสมต่อไป

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจโปรแกรมตรวจสุขภาพ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
รศ. นพ. อดุลย์ รัตนวิจิตราศิลป์, ซีสเต้านม คืออะไรกันแน่, (https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=298), 11 พฤศจิกายน 2553.
พญ. ณัฐฑริกา หมายสวัสดิ์, ซีสต์ของผิวหนังที่พบบ่อย (Common cyst of the skin), (http://inderm.go.th/news/journal/myfile/135175024a7c96170c_fil.%2006-Review%202.pdf), ตุลาคม 2549.
ผศ. พญ. สุเพ็ญญา วโรทัย, เคล็ด(ไม่) ลับกับการดูแลผิวหน้า (ตอนที่ 1), (https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=996), 21 สิงหาคม 2560.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)