กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี

สารระเหย (Inhalants)

ผลข้างเคียงที่อันตรายของสารระเหยรูปแบบต่างๆ ที่คุณอาจไม่เคยคิดมาก่อน ลองสังเกตอาการผิดปกติของคุณเมื่อสูดดมสารระเหย
เผยแพร่ครั้งแรก 20 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 11 ส.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 6 นาที
สารระเหย (Inhalants)

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • สารระเหย คือ สารเสพติดในรูปของสารระเหยที่มีกลิ่นไอ หรือก๊าซ มักอยู่ในผลิตภัณฑ์รอบตัวผู้เสพ เช่น กาว ทินเนอร์ น้ำยาล้างเล็บ
  • สารระเหยสามารถเสพได้หลายวิธี ทั้งการสูดดม การฉีดสเปรย์เข้าจมูก การสูดดมจากผ้าที่ชุบสารระเหย
  • สารระเหยเป็นพิษต่อระบบหลายอย่างในร่างกาย ทั้งประสาทสัมผัสแย่ลง ชาตามมือเท้า เลือดออกในกระเพาะอาหาร ปัสสาวะมีเลือดปน ปอดอักเสบ กล้ามเนื้อฝ่อ
  • ผู้เสพ หรือสัมผัสสารระเหยเป็นเวลานานจะรู้สึกเมาคล้ายกับเมาเหล้า มีอาการเพ้อฝัน ตื่นเต้น พูดจาไม่รู้เรื่อง บางรายอาจไม่มีอาการเหล่านี้ แต่จะเสียการทรงตัว ง่วงซึม คลื่นไส้อาเจียน และหมดสติ
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสารเสพติด

สารเสพติดส่วนมากมักอยู่ในรูปของยาเม็ด ยาผง หรืออาจเป็นใบของพืชบางชนิดที่ออกฤทธิ์ทำให้เกิดอาการเสพติด แต่ความจริง ยังมีสารเสพติดในรูปแบบของสารระเหย ที่ทำให้ผู้เสพเกิดอาการเสพติดได้ผ่านการสูดกลิ่นของมัน

ความหมายของสารเสพติดประเภทสารระเหย

สารระเหย (Inhalants) คือ สารเสพติดประเภทที่สามารถระเหยเป็นกลิ่นไอ หรือเป็นก๊าซ เมื่อสูดดมไประยะหนึ่ง ผู้เสพจะมีอาการเสพติดสารเหล่านั้นจนต้องสูดดมเอาสารเหล่านั้นเข้าร่างกายอีก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจสารพิษ สารเสพติดวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 194 บาท ลดสูงสุด 68% บาท

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

สารเสพติดประเภทสารระเหยพบมากในสารที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม อุปกรณ์ทางการแพทย์ หรือผลิตภัณฑ์ใช้ในครัวเรือน เช่น กาว ทินเนอร์ สเปรย์ดับกลิ่นตัว สเปรย์ฉีดผม แลคเกอร์ น้ำยาล้างเล็บ น้ำมันรถ ก๊าซดมยาสลบคลอโรฟอร์ม

ประเภทของสารระเหย

สารระเหยมีอยู่ 4 ประเภทหลักๆ คือ ไอระเหย ก๊าซต่างๆ ละอองฉีดพ่น และสารกลุ่มไนเตรท โดยสารระเหยประเภท ไอระเหย ก๊าซ และละอองฉีดพ่น จะทำให้ผู้เสพมีอาการเมาและเพลิดเพลิน

ส่วนสารระเหยกลุ่มไนเตรทจะกระตุ้นความรู้สึกทางเพศและทำให้ผู้เสพรู้สึกสนุกสนานเพลิดเพลิน

สารระเหยแต่ละประเภทมีลักษณะ ดังนี้

  • ประเภทไอระเหย จะมาในรูปแบบของของเหลวและจะระเหยกลายเป็นไอในอุณหภูมิห้อง เช่น ทินเนอร์ผสมสี น้ำยาล้างต่างๆ น้ำมันรถ กาว และหมึกเติมปากกาเคมี
  • ประเภทก๊าซ รวมถึงก๊าซที่ใช้ทางการแพทย์ เช่น ก๊าซอีเธอร์ หรือก๊าซไนโตรเจน รวมทั้งผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ใช้ในบ้านทั่วไป เช่น ก๊าซบูเทน ก๊าซโปรเพน หัวกดวิปครีมที่มีส่วนประกอบของก๊าซไนโตรเจน และสารทำความเย็น
  • ประเภทละอองฉีดพ่น หรือสเปรย์ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มักใช้กันทั่วไปตามบ้านเรือน ไม่ว่าจะเป็นสเปรย์สี สเปรย์ระงับกลิ่นกาย สเปรย์ฉีดผม สปรย์น้ำมันพืช และสเปรย์ป้องกันไฟฟ้าสถิตตามเสื้อผ้า
  • ประเภทสารประกอบไนเตรท ซึ่งหมายรวมถึง ไซโคลเฮ็กซิลไนไตรท์ (Cyclohexyl nitrite) เอมิลไนไตรท์ (Amyl nitrite) และบิวทิลไนไตรท์ (Isobutyl nitrite) โดยสารเหล่านี้กลุ่มผู้เสพจะเรียกในอีกชื่อว่า “ป๊อปเปอร์ (Poppers)" หรือ “สแนปเปอร์ (Snappers)"

สาเหตุที่หลายคนจึงนิยมใช้สารระเหย

สารระเหยถือเป็นยาเสพติดที่ช่วยกระตุ้นอารมณ์เคลิบเคลิ้มให้กับผู้เสพชนิดหนึ่ง ทั้งยังมีราคาถูก สามารถหาซื้อได้ง่ายตามร้านค้าทั่วไป 

ทั้งนี้การใช้สารเคมีเหล่านี้อย่างถูกต้องตามวัตถุประสงค์ไม่ได้เป็นปัญหาแต่อย่างใด แต่หากนำมาเสพเป็นสารระเหยกลับทำให้เกิดความเสี่ยง และอัตรายร้ายแรงต่อสุขภาพ และอาจถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

อาการของผู้เสพสารระเหย

การสูดดมสารระเหยทำได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการสูดดม พ่นสปรย์เข้าทางจมูก และทางปาก การดมแบบถุงกาว การสูดดมจากผ้าชุบสารระเหย หรือสูดดม หรือสูบจากลูกโป่งก๊าซหัวเราะ และจะออกฤทธิ์ภายในไม่กี่นาทีหลังจากสูดเข้าไป

ผลจากการเสพสารระเหยยจะทำให้ผู้เสพรู้สึกเมาคล้ายกับอาการเมาเหล้าและเมายานอนหลับ รวมถึงทำให้รู้สึกเคลิบเคลิ้ม ตื่นเต้น เพ้อฝัน ผู้เสพบางรายอาจมีอาการง่วงซึม มึนงง พูดจาไม่รู้เรื่อง หรือหมดสติได้

นอกจากนี้ผู้เสพอาจมีเลือดออกทางจมูก ไอเรื้อรังจากการระคายเคืองสารดังกล่าว ส่วนระบบอื่นๆ ภายในร่างกายที่ได้รับผลกระทบจากสารระเหย จะมีอาการต่อไปนี้

  • ระบบประสาทส่วนกลาง ประสาทการรับรู้ลดลง มองเห็นภาพไม่ชัด การได้ยินไม่มีประสิทธิภาพ ตาไวต่อแสง ร่าเริงผิดปกติ ลิ้นแข็งจนทำให้พูดลำบาก สมองเสื่อม เสียการทรงตัวได้ง่าย
  • ระบบประสาทส่วนปลาย เกิดอาการชาตามมือ และเท้า มือสั่น
  • ระบบทางเดินหายใจ ระคายเคืองโพรงจมูก และหลอดลม หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ เยื่อบุจมูกมีเลือดไหล
  • ระบบทางเดินอาหาร มีเลือดออกในกระเพาะอาหาร ระบบการทำงานของตับผิดปกติ
  • ระบบทางเดินปัสสาวะ ไตอักเสบ ปัสสาวะมีเลือดปน หรือเป็นน้ำเลือด
  • ระบบหัวใจ และหลอดเลือด จังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ เกล็ดเลือดต่ำ ตัวซีด เลือดออกง่ายกว่าปกติ หรือหัวใจล้มเหลว และเสียชีวิตหลังสูดสารระเหยภายในไม่กี่นาที

นอกจากนี้สารระเหยยังส่งผลกระทบต่อภาวะอารมณ์ ทำให้ผู้เสพมีภาวะซึมเศร้า รู้สึกสับสนอยู่ไม่นิ่ง หรือหงุดหงิดง่ายกว่าปกติด้วย

หญิงตั้งครรภ์ที่เสพสารระเหยขณะตั้งครรภ์สามารถส่งผลกระทบทำให้ทารกในครรภ์มีน้ำหนักตัวน้อย รวมถึงมีโครงสร้างร่างกายผิดปกติด้วย ทารกหลายรายที่มารดาเสพสารระเหย เมื่อคลอดออกมาแล้วจะมีพัฒนาการช้ากว่าเด็กปกติอีกด้วย

อาการเรื้อรังจากการเสพสารระเหย

นอกจากผลกระทบของการเสพสารระเหยที่กล่าวไปข้างต้น การเสพติดสารระเหยอย่างต่อเนื่องยังสามารถทำให้เกิดความผิดปกติ หรือโรคเรื้อรังบางอย่างที่ยากจะรักษาให้หายได้ เช่น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจสารพิษ สารเสพติดวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 194 บาท ลดสูงสุด 68% บาท

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • โรคหลอดลมอักเสบ
  • ความจำเสื่อม
  • สมองเสื่อม
  • สมองพิการ
  • เป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว
  • เป็นโรคมะเร็งปอด
  • เป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • กล้ามเนื่อฝ่อจนเป็นอัมพาต
  • เป็นโรคซึมเศร้า

อันตรายของสารระเหย

อันตรายจากการเสพสารระเหยให้ผลข้างเคียงที่ร้ายแรง และอาจทำให้เสียชีวิตได้เช่นเดียวกับการเสพสารเสพติดอื่นๆ หรือบางคนเสียชีวิตจากการเสพสารระเหยเพียงครั้งเดียว 

อันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับผู้เสพจนทำให้เสียชีวิตได้ ดังนี้

  • อาการไหลตาย หรือช็อกตาย อาการนี้เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้ในผู้เสพสารระเหย เพราะผู้เสพจะมีภาวะหัวใจเต้นผิดปกติและหัวใจวาย โดยอาการนี้สามารถเกิดขึ้นได้แม้เป็นการเสพสารระเหยครั้งแรก
  • ภาวะหายใจไม่ออกหรือขาดอากาศหายใจเฉียบพลัน นั่นเพราะสารพิษถูกส่งและเข้าไปแทนที่ออกซิเจนในปอด
  • อาการสำลักสารระเหย ผู้เสพอาจมีอาการสำลัก และอาเจียนอย่างหนักได้
  • เกิดอาการหอบและหายใจไม่ออก โดยเฉพาะการดมจากถุงกาว ซึ่งถุงกาวอาจไปปิดกั้นอากาศ หรือออกซิเจนสู่ปอด
  • อุบัติเหตุ หรืออันตรายต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น ผู้ที่มีอาการเมาจากการเสพสารระเหยมักเกิดปัญหาเกี่ยวกับการคิดตัดสินใจ
    นอกจากนี้ความเสียหาย หรืออุบัติเหตุจนถึงแก่ชีวิตมักเกิดจากผู้เสพที่ใช้ยานพาหนะ หรือกระโดดจากที่สูงขณะมึนเมาสารระเหย บางครั้งพบว่า มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นจากการใช้สารระเหย เช่น ไฟไหม้ การประทุของก๊าซ 
  • ฆ่าตัวตาย ผู้เสพบางคนเกิดผลข้างเคียงจากการเสพสารระเหยจนทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า และกระตุ้นให้อยากฆ่าตัวตาย

สารระเหยอาจดูเหมือนเป็นสารเสพติดที่ไม่ทำให้เสพติดได้ แต่ความจริงแล้วผู้เสพสารระเหยสามารถเกิดอาการลงแดงได้หากขาดการเสพสารไประยะหนึ่ง 

ผู้เสพจะมีพฤติกรรมก้าวร้าว หงุดหงิด เหงื่อออกมาก ปวดเมื่อยตามตัว คลื่นไส้อาเจียน และอาจคลุ้มคลั่งจนทำร้ายร่างกายตนเอง หรือผู้อื่นได้

สัญญาณบอกอาการเสพติดสารระเหย

อาการจากการเสพสารระเหยมีลักษณะเช่นเดียวกับการเสพสารเสพติดอื่นๆ ที่ทำให้เกิดผลข้างเคียงมากมาย ดังนี้

  • อารมณ์แปรปรวน
  • มีอารมณ์ก้าวร้าวอย่างรุนแรง กระวนกระวายใจ และหงุดหงิด
  • มีอาการเหนื่อยล้า
  • เบื่ออาหาร
  • อาเจียนบ่อยๆ
  • มีอาการประสาทหลอน และเกิดภาพหลอน
  • เกิดผดผื่น หรือแผลพุพองบนใบหน้า
  • มีอาการน้ำมูกไหล หรือไอบ่อยๆ
  • รูม่านตาขยาย
  • มีขี้ตา หรือน้ำตาไหลผิดปกติ
  • มีกลิ่นปาก หรือกลิ่นของทางเดินหายใจรุนแรง

ลักษณะผู้เสพสารระเหย

ผู้เสพสารระเหย หรือผู้ที่สัมผัสสารระเหยเป็นเวลานานจะมีพฤติกรรมผิดแปลกไปจากเดิม เช่น

  • ปวดศีรษะ หรือวิงเวียนศีรษะ
  • ไม่มีสติ รับฟังเสียงคนรอบข้างไม่เข้าใจ
  • พูดจาไม่รู้เรื่อง พูดไม่ชัด
  • ดูง่วงซึมจนสับสน หรือซึมเศร้า
  • น้ำลายไหล
  • เสียการทรงตัว เดินโซเซ หรือยืนไม่ได้
  • มือไม้อ่อน ไม่สามารถหยิบจับอะไรได้
  • มีเลือดออกทางจมูก
  • ไอเรื้อรัง
  • หายใจลำบาก
  • คลื่นไส้อาเจียน
  • มีเศษผ้า หรือถุงใส่สารเคมีสำหรับสูดดมติดตัว

วิธีรักษาผู้เสพสารระเหย

การรักษาผู้ติดสารระเหยมักเกี่ยวข้องกับการปรับพฤติกรรมของผู้ป่วย แพทย์ หรือนักบำบัดจะรักษาผู้ป่วยด้วยการปรับพฤติกรรม และฝึกพวกเขาให้ดำเนินชีวิตอยู่ให้ได้โดยไม่ต้องพึ่งยา 

การเลิกยาให้ได้ผล ผู้ป่วยต้องหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่อาจทำให้กลับไปเสพยาอีกครั้ง และต้องหาวิธีการป้องกันไม่ให้กลับไปสู่สภาพเดิม อย่างไรก็ตาม การเลิกยาด้วยตัวเองอาจเป็นเรื่องยาก ดังนั้นการปรึกษาแพทย์ หรือนักบำบัดจะทำให้การเลิกยาได้ผลมากกว่า

การเลิกยาอาจต้องใช้ระยะเวลา และยากที่จะเลิกได้ด้วยตัวเอง เพราะทุกคนต้องการการช่วยเหลือ และสนับสนุน และสามารถไว้วางใจได้ว่าการรักษากับแพทย์หรือนักบำบัดนั้นเชื่อมั่นได้ เนื่องจากพวกเขาได้รับการฝึกฝนมาเพื่อการบำบัดรักษาผู้ติดยาโดยเฉพาะ

หากพบว่า เพื่อนของคุณกำลังเสพสารระเหย อย่าเพิ่งตื่นตระหนก เพราะท่าทีกังวล หรือตกใจอาจทำให้ผู้ที่เสพหวาดผวา ชัก หมดสติ หรือเสียชีวิตจากอาการช็อกได้ ให้รีบแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น โทรหาตำรวจ หรือโรงพยาบาลเพื่อขอความช่วยเหลือ 

และหากคุณเป็นผู้เสพเอง แนะนำให้ปรึกษาผู้ปกครอง แพทย์ อาจารย์ที่ปรึกษา หรือนักบำบัด เพราะพวกเขาเหล่านี้จะให้คำแนะนำที่ถูกต้องเหมาะสมและพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือตลอดเวลา

สารระเหยจัดเป็นสารเสพติดที่อยู่รอบตัว และหลายอย่างเป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องใช้ชีวิตประจำวันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ คุณจึงต้องระมัดระวังในการใช้สิ่งของที่มีกลิ่นเป็นสารระเหยที่ทำให้เสพติดได้

เพราะสารระเหยสามารถเข้าไปก่อพิษต่ออวัยวะสำคัญในร่างกายหลายอย่าง ทั้งหัวใจ ปอด ตับ ไต และทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของอวัยวะเหล่านั้นลดลงโดยไม่สามารถรักษาให้กลับมาใช้งานได้ดีขึ้นดังเดิม

ส่วนมากผู้เสพสารระเหยมักเป็นเยาวชนเสียส่วนมาก ผู้เสพสารระเหยที่อายุไม่เกิน 17 ปี ศาลจะมีคำสั่งให้กล่าวตักเตือน และนำตัวส่งเข้าสถานบำบัดเพื่อบำบัดยาเสพติดต่อไป

โทษทางกฎหมายเกี่ยวกับสารระเหย

ผู้ที่ผลิตสารระเหยขึ้นมาเพื่อใช้เป็นยาเสพติดโดยเฉพาะยังมีโทษทางกฎหมายอีกด้วย โดยผู้ที่ผลิต นำเข้า หรือขายสารระเหยที่มีเครื่องหมายเตือนให้ระมัดระวังเพื่อเสพติด หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ผู้ขาย จัดหาสารระเหยเพื่อเสพติดให้แก่ผู้ที่ติดสารระเหย มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ส่วนผู้ที่ชักจูง หว่านล้อม ยุยงส่งเสริมให้ผู้อื่นเสพสารระเหย ก็มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสารเสพติด จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Steven Dowshen, Inhalants (https://kidshealth.org/en/teens/inhalants.html), 25 May 2020.
National Institutes of Health, Inhalants DrugFacts (https://www.drugabuse.gov/publications/drugfacts/inhalants), 10 August 2020.
Jeffrey Juergens, Addiction to Inhalants (https://www.addictioncenter.com/drugs/inhalants/), 10 August 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
รู้จักกับเห็ดเมา (Magic Mushrooms) หรือเห็ดขี้ควาย หนึ่งในยาเสพติดประเภทที่ 5
รู้จักกับเห็ดเมา (Magic Mushrooms) หรือเห็ดขี้ควาย หนึ่งในยาเสพติดประเภทที่ 5

เห็ดเมา หรือที่รู้จักกันในชื่อ เห็ดพิษ เห็ดขี้ควาย หรือเห็ดไข่เจียว พบได้ทั่วไป แต่ไม่ควรรับประทาน เพราะทำให้เกิดอันตรายได้

อ่านเพิ่ม
ยาเค (Ketamine)
ยาเค (Ketamine)

รู้จักยาเคและความอันตรายจากยา ทั้งผลกระทบระยะสั้น ระยะยาว ระบบประสาท

อ่านเพิ่ม