หลายคนคงรู้จักยาเสพติดที่ชื่อว่า "โคเคน" ไม่มากก็น้อย โดยอาจเห็นได้จากหน้าหนังสือพิมพ์ หรือตามสื่อโซเชียลต่างๆ
เพราะโคเคนจัดอยู่ในกลุ่มยาเสพติดสังเคราะห์ที่ดาราและคนดังต่างๆ มักใช้เสพกันหรือซื้อขายกันเอง แต่จะมีกี่คนที่รู้ว่าโทษ และผลข้างเคียงของโคเคนส่งผลต่อร่างกายของเราอย่างไรบ้าง แล้วทำไมมันถึงเป็นยาเสพติดที่เราจะต้องหลีกเลี่ยงให้มากที่สุด
ตรวจสารพิษ สารเสพติดวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 194 บาท ลดสูงสุด 68% บาท
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ความหมายของโคเคน
โคเคน (Cocaine) หรืออีกชื่อหนึ่งคือ "โค้ก" เป็นสารเสพติดที่สกัดได้จากใบของต้นโคคา (Coca plant) ซึ่งพบได้มากในพื้นที่แถบอเมริกาใต้ ถือเป็นยาเสพติดสังเคราะห์ให้โทษรุนแรง และทำให้ผู้เสพมีอาการติดยาอย่างหนัก โดยต้นนำเนิดของโคเคนนั้น
โคเคนจะถูกผลิตออกมาในรูปของผงแป้งสีขาว และใช้สูดเข้าทางจมูก
ส่วนโคเคนที่ถูกผลิตออกมาในรูปของก้อนผลึกจะเรียกว่า "แคร็กโคเคน" (Crack Cocaine) ซึ่งผู้เสพจะใช้เสพโดยการสูบผ่านกล้องยาสูบ หรือผสมผงโคเคนกับน้ำเปล่าแล้วฉีดเข้าทางเส้นเลือด หรือสอดเข้าทางทวารหนัก หรืออวัยวะเพศหญิง
ความแตกต่างระหว่างโคเคนแบบผงกับผลึกแคร็กโคเคน
ข้อแตกต่างระหว่างโคเคนแบบผงกับแคร็กโคเคนจะอยู่ที่ระดับการออกฤทธิ์ต่อร่างกาย
แคร็กโคเคนจะทำให้เสพติดได้ง่ายกว่า ออกฤทธิ์ทำให้เคลิบเคลิ้มได้มากกว่า แต่ก็ทำให้เกิดโทษต่อร่างกายได้รวดเร็ว และรุนแรงกว่า เช่น ทำให้เกิดอาการเส้นเลือดอุดตัน หรือหัวใจวายตั้งแต่ครั้งแรกที่เสพ
นอกจากนี้แคร็ปโคเคนยังมีราคาถูกกว่าโคเคนแบบผงด้วยเพราะมักผสมสารเสพติดชนิดอื่นเข้าไปด้วยเพื่อให้สารผลิตออกมาเป็นรูปแบบผลึกได้ เช่น ยาบ้า
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ผลข้างเคียงของโคเคน
ผลข้างเคียงจากการใช้โคเคนสามารถได้เป็น 2 ระยะคือ ผลข้างเคียงระยะสั้น และผลข้างเคียงระยะยาว
1. ผลข้างเคียงระยะสั้น
โคเคนถือเป็นสารกระตุ้นประสาทชนิดหนึ่ง ที่จะส่งผลกระทบต่อระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้ผู้เสพเมายาอย่างรวดเร็ว มีอารมณ์เคลิบเคลิ้ม รู้สึกมีความสุข และสมองตื่นตัวมาก ผู้เสพจึงรู้สึกตื่นตัว และคิดว่าตนเองมีเรี่ยวแรงพละกำลังมหาศาล
เพราะโคเคนนั้นจะกระตุ้นให้ระดับของสารโดพามีน (Dopamine) ซึ่งขึ้นชื่อว่าเป็น "สารแห่งความสุข" ในสมองมีเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นยิ่งมีการเสพโคเคนในปริมาณมากเท่าไร ระดับของสารโดพามีนก็จะยิ่งสูงมากขึ้นเท่านั้น ส่งผลให้เกิดปัญหาการทำงานของระบบต่างๆ ในสมองตามมา
วิธีการเสพโคเคนจะทำให้เกิดอาการเมายาที่แตกต่างกันออกไป เช่น หากเสพด้วยวิธีการสูดผงเข้าทางจมูก ผู้เสพจะมีอาการเมายาประมาณ 15-30 นาที ส่วนการสูบ หรือการฉีดเข้าเส้นเลือดจะทำให้ยาออกฤทธิ์รุนแรงมากกว่า แต่จะมีอาการเมายาในระยะเวลาสั้นๆ เพียง 5-10 นาทีเท่านั้น
ผลข้างเคียงระยะสั้นจากการเสพโคเคน มีดังต่อไปนี้
- หัวใจเต้นเร็ว หายใจถี่ ภาวะความดันโลหิต และอุณหภูมิร่างกายสูงผิดปกติ
- รู้สึกอ่อนล้าเหมือนพักผ่อนไม่เพียงพอ
- มีอารมณ์หงุดหงิด และหวาดระแวง
- เกิดอาการบดกราม และขบฟันขณะนอนหลับ
- เบื่ออาหาร
- นอนไม่หลับ
นอกจากการเสพโคเคนเกินขนาดจะทำให้ผู้เสพมีพฤติกรรมรุนแรง และมีอารมณ์แปรปรวนแล้ว โคเคนยังส่งผลให้ผู้เสพเกิดอาการป่วยที่รุนแรง หรือเกิดภาวะที่เป็นอันตรายต่อร่างกายได้ เช่น ส้นเลือดอุดตัน ชัก หมดสติ หัวใจวาย และเสียชีวิตได้ในที่สุด
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
2. ผลข้างเคียงระยะยาว
ผลข้างเคียงระยะยาวจากโคเคนจะออกฤทธิ์ส่งผลกระทบต่อระบบประสาท และอวัยวะส่วนที่เกี่ยวข้องกับวิธีการสูบโคเคนของผู้เสพนั้นๆ ได้แก่
- หลงอยู่ในภาพจินตนาการของตนเอง ไม่สามารถอยู่กับโลกความเป็นจริงได้
- เกิดโรคทางจิตเวช เช่น โรคซึมเศร้า โรคจิตเภท
- ปวดศีรษะ
- ปวดท้องน้อย
- เบื่ออาหาร หรือมีภาวะขาดสารอาหาร
- ประสาทการรับกลิ่นบกพร่อง หากผู้เสพเสพยาผ่านการสูดเข้าจมูก เช่น หลอดลมตีบ หายใจลำบาก เจ็บหน้าอก เลือดกำเดาไหล
- ติดเชื้อโรคติดต่อบางชนิด หากเสพยาผ่านการฉีดเข้าเส้นเลือดร่วมกับผู้เสพรายอื่น เช่น โรคไวรัสตับอักเสบ การติดเชื้อไวรัสเอชไอวี
- เสียงแหบ
- กลืนอาหารไม่ได้
- รู้สึกกระสับกระส่าย
- หงุดหงิด ฉุนเฉียว ก้าวร้าวกว่าเดิม
- เห็นภาพหลอน หูแว่ว
- ติดเชื้อในลำไส้
- ร่างกายอ่อนเพลีย ไม่มีแรง
- คลื่นไส้อาเจียน
วิธีตรวจสารโคเคน
โคเคนจะถูกขับออกทางปัสสาวะโดยอยู่ในรูปสารเมตาบอไลท์ (Metabolite) ซึ่งเป็นสารซึ่งเกี่ยวข้องกับระบบเผาผลาญทางเคมี ที่ชื่อว่า เบนโซอิลเอคโกนีน (Benzoylecgonine) เราจึงสามารถตรวจหาการเสพโคเคนได้ด้วยการตรวจปัสสาวะ
ซึ่งโอกาสตรวจพบสารนี้ในปัสสาวะจะขึ้นอยู่กับเวลาที่ตรวจปัสสาวะหลังเสพยา และความถี่ในการเสพโคเคนของตัวผู้เสพเองด้วย
- ผู้เสพไม่ประจำ ช่วงเวลาที่ตรวจพบจะอยู่ที่ 12-48 ชั่วโมง
- ผู้เสพโคเคนเป็นประจำ ระยะเวลาที่ตรวจพบจะอยู่ที่ 1-4 วัน
- ผู้เสพติดโคเคนเรื้อรัง ระยะเวลาที่ตรวจพบจะอยู่ที่ 2-3 สัปดาห์
นอกจากนี้ ปริมาตรปัสสาวะสำหรับตรวจสารเสพติดของผู้เสพยาแต่ละชนิดยังมีความแตกต่างกันด้วย โดยผู้ที่เสพโคเคนจะต้องมีปริมาตรปัสสาวะไม่น้อยกว่า 60 มิลลิลิตร
ส่วนเกณฑ์ตัดสินว่า ผู้ที่ตรวจปัสสาวะมีสารเมตาบอไลท์ของโคเคนอยู่ในร่างกาย หรือเรียกง่ายๆ ว่ามีสารเสพติดอยู่ในร่างกายจะอยู่ที่ 300 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตรขึ้นไป
โคเคนถูกจัดให้เป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 2 ที่ออกฤทธิ์รุนแรง ซึ่งหากจะนำไปใช้เกี่ยวกับทางการแพทย์ ก็จะต้องได้รับการควบคุม และดูแลอย่างใกล้ชิดโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ส่วนผู้ที่ครอบครอง จำหน่าย นำเข้า หรือส่งออกโคเคน จะต้องได้รับโทษทางกฎหมาย
วิธีการเลิกเสพโคเคน
การเลิกเสพโคเคนยังถือเป็นการบำบัดยาเสพติดที่ยาก และการเลิกที่ได้ผลดีที่สุดก็คือ การเข้ารับการรักษาในศูนย์บำบัดยาเสพติด โดยใช้วิธีการปรับพฤติกรรม หรือทำพฤติกรรมบำบัดร่วมกับการรักษาอื่นๆ
ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มียาชนิดใดสามารถรักษาอาการเสพติดโคเคนได้ หากคุณกำลังเสพติดโคเคน และต้องการเลิก แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ หรือนักบำบัดเพื่อเข้าร่วมกลุ่มบำบัด วิธีการนี้จะช่วยให้การเลิกยาเสพติดได้ผลง่ายมากขึ้น
โอกาสที่ผู้เสพจะเสพติดโคเคนได้ภายในการเสพครั้งเดียวนั้นมีสูงมาก และโคเคนยังสามารถคร่าชีวิตผู้เสพได้จากการเสพเพียงครั้งเดียวเช่นกัน
ดังนั้นคุณไม่ควรลองเสพ หรือยุ่งเกี่ยวกับโคเคนโดยเด็ดขาด หากถูกชักชวน หรือถูกบังคับจากคนรอบข้าง ฝูงเพื่อน หรือจากสถานการณ์ที่สุ่มเสี่ยง ให้คุณหาทางเอาตนเองออกจากสถานการณ์นั้นทันที
เพราะการเสพติดโคเคนนั้น ไม่คุ้มค่ากันเลยกับการเสียสุขภาพทั้งทางกาย และใจที่ร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสารเสพติด จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android