กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ฮอร์โมนอินซูลินหรือฮอร์โมนความอ้วน คืออะไร มีหน้าที่อย่างไรบ้าง?

เผยแพร่ครั้งแรก 8 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ฮอร์โมนอินซูลินหรือฮอร์โมนความอ้วน คืออะไร มีหน้าที่อย่างไรบ้าง?

สำหรับคนที่เป็นโรคเบาหวาน หรือในกลุ่มผู้ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ก็คงจะรู้จักกับ "อินซูลิน" กันอยู่บ้าง ในฐานะฮอร์โมนชนิดหนึ่งของร่างกาย ซึ่งทำหน้าที่ในการเผาผลาญน้ำตาลที่เราได้รับจากการรับประทานอาหาร ถ้าหากร่างกายหลั่งอินซูลินน้อย หรือไม่มีการหลั่งอินซูลิน ก็จะทำให้เกิดการสะสมของน้ำตาล ที่จะคงค้างอยู่ในกระแสเลือด รวมทั้งเปลี่ยนรูปเป็นไขมัน ทำให้เกิดการอ้วน และเกิดภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูงตามมา

ถ้าหากเกิดภาวะนี้ขึ้นเป็นเวลานาน ก็มีโอกาสที่จะทำให้เป็นโรคเบาหวานที่อาจเป็นอันตรายถึงขั้นสูญเสียการมองเห็นได้เลยทีเดียว เพราะฉะนั้น เราจึงได้รวบรวมเรื่องราวทั้งหมดเกี่ยวกับอินซูลินมาให้ทำความรู้จักกันมากขึ้น เพื่อที่จะได้เข้าใจกลไกในการทำงานของมัน รวมทั้งเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนอินซูลิน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ฮอร์โมนอินซูลิน คืออะไร ทำไมถึงได้ชื่อว่าเป็นฮอร์โมนแห่งความอ้วน?

ฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) เป็นฮอร์โมนชนิดหนึ่งในร่างกายที่มีการสร้างขึ้นจากกลุ่มเซลล์ในตับอ่อนที่ชื่อ islets of Langerhans อินซูลินมีหน้าที่สำคัญคือ ควบคุมกระบวนการเผาผลาญของร่างกาย โดยจะทำหน้าที่ในการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาล เพื่อเปลี่ยนให้เป็นรูปของพลังงานเข้าไปสู่กล้ามเนื้อและเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย พร้อมกันนี้อินซูลินยังทำหน้าที่กระตุ้นให้เซลล์ต่าง ๆ มีการดูดไขมัน ไกลโคเจน และโปรตีนไว้ที่บริเวณตับ เพื่อที่จะถูกนำมาใช้เป็นพลังงานสำรอง ในกรณีที่เราไม่ได้รับพลังงานเพิ่มติดต่อกันเป็นเวลานาน

นอกจากนี้ ยังมีการค้นพบว่า อินซูลินยังมีประโยชน์อีกมากมายต่อร่างกายคนเรา นอกเหนือไปจากการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาล นั่นก็คือ

  • ช่วยเพิ่มการสังเคราะห์ และลดการสลายตัวของโปรตีน
  • ช่วยเพิ่มการสังเคราะห์ไขมัน
  • ช่วยชะลอการเสื่อมของเซลล์ก่อนวัยอันควร ทำให้เซลล์เสื่อมช้าลงกว่าปกติ
  • กระตุ้นให้เกิดการไหลเวียนของโลหิตดียิ่งขึ้น
  • ช่วยลดการขับโซเดียมออกจากไตในปริมาณที่มากเกินไป

ถ้าหากร่างกายเกิดความผิดปกติขึ้นที่บริเวณตับอ่อน เช่น เป็นโรคตับอ่อนอักเสบ ก็จะส่งผลกระทบกับการผลิตฮอร์โมนอินซูลิน จึงทำให้เกิดปัญหาขึ้นกับระบบเผาผลาญ และส่งผลให้อ้วนเป็นอย่างมากในเวลาต่อมา ด้วยเหตุนี้จึงอินซูลินจึงมีชื่อเรียกสั้น ๆ อีกชื่อว่าเป็น “ฮอร์โมนแห่งความอ้วน”

อาการของผู้ที่ไม่มีการหลั่งฮอร์โมนอินซูลิน หรือมีการหลั่งอินซูลินน้อยกว่าจำเป็น จะเกิดโรคใดได้บ้าง ?

ปกติแล้ว ถ้าหากร่างกายขาดอินซูลิน หรือมีการหลั่งอินซูลินน้อย จะทำให้เกิดภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการดังต่อไปนี้

  • อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็วจนน่าตกใจ ทั้งที่กินอาหารตามปกติ
  • ปวดปัสสาวะบ่อย และจะปวดบ่อยมากในช่วงเวลากลางคืน
  • มีอาการกระหายน้ำ แต่ปากกลับแห้งเกือบตลอดเวลา
  • รู้สึกเหนื่อยง่าย หายใจหอบสั้น คล้ายกับคนเป็นโรคหอบ
  • สมหายใจมีกลิ่นออกหวาน ๆ คล้ายกับผลไม้
  • มีอาการสับสน หลงลืม จำอะไรไม่ได้ อารมณ์แปรปรวน
  • ท้องเสีย ท้องร่วง ร่วมกับคลื่นไส้อาเจียน โดยในบางคนอาจมีอาการรุนแรงมากจนอาจช็อคได้เลยทีเดียว
  • ถ้าเกิดแผลจะพบว่าแผลหายช้ากว่าปกติ แม้จะเป็นแผลเล็กๆ ก็ตาม

อาการเหล่านี้ ถือได้เป็นอาการระยะเบื้องต้นของโรคเบาหวานนั่นเอง หากปล่อยทิ้งไว้นาน ๆ ก็อาจเกิดโรคแทรกซ้อนที่มีความรุนแรงกว่านี้ได้ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคไต รวมไปถึงปัญหาการมองไม่เห็น เนื่องจากเกิดภาวะเบาหวานขึ้นตา เพราะฉะนั้น เมื่อพบอาการผิดปกติเกิดขึ้นจึงไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรพบแพทย์เพื่อตรวจรักษาอย่างถูกต้องต่อไป

การที่ร่างกายผลิตอินซูลินได้น้อย เกิดจากอะไร?

สาเหตุหลักที่ทำให้ร่างกายสามารถผลิตอินซูลินได้น้อย มักจะเกิดปัญหากับตับอ่อน ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของการผลิตฮอร์โมนอินซูลินโดยตรง โดยอาจจะเกิดจากการอักเสบ หรือเกิดจากการติดเชื้อ ขณะเดียวกันหากเป็นผู้ป่วยภาวะไทรอยด์เป็นพิษ ก็มีโอกาสที่จะมีการหลั่งฮอร์โมนอินซูลินในปริมาณที่น้อยกว่าปกติได้เช่นกัน

เมื่อใดที่ร่างกายจำเป็นต้องรับฮอร์โมนอินซูลินจากภายนอกเข้าสู่ร่างกาย?

อย่างที่กล่าวมาแล้วว่า ในกรณีที่ผู้ป่วยมีปัญหาเกี่ยวกับตับอ่อน เป็นผู้ป่วยภาวะไทรอยด์เป็นพิษ รวมถึงเป็นโรคเบาหวาน เนื่องจากมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง (มากกว่า 100 mg/dL) ย่อมจำเป็นที่จะต้องได้รับอินซูลินเข้าสู่ร่างกายอย่างเร่งด่วน เพื่อเข้าไปลดระดับน้ำตาลในเลือดเพื่อยับยั้งอาการที่อาจจะรุนแรงกว่าเดิม

สำหรับฮอร์โมนอินซูลินที่เอามาใช้ในการทดแทนนั้น แพทย์ได้นำมาจาก 2 แหล่ง คือจากการตัดต่อทางพันธุวิศวกรรม (MGO) และการสกัดออกมาจากตับอ่อนของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอย่างหมูและวัว แต่ทั้งนี้แพทย์มักจะนิยมใช้อินซูลินแบบแรกมากกว่า เนื่องจากมีความเหมือนกับอินซูลินของมนุษย์มาก และไม่ค่อยก่อให้เกิดการแพ้เท่าไรนัก โดยวิธีการนำอินซูลินจากภายนอกเข้าสู่ร่างกาย จะใช้วิธีการ “ฉีด” เข้าไปเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ในอดีตเคยมีการนำอินซูลินเข้าสู่ร่างกายด้วยการให้รับประทานมาก่อน แต่ปรากฏว่าถูกน้ำย่อยต่าง ๆ ในทางเดินอาหารทำลายไปจนหมดสิ้น จึงต้องฉีดเข้าไปใต้ผิวหนังแทน เพื่อให้สามารถรับประโยชน์จากอินซูลินภายนอกได้สูงที่สุด

ร่างกายของมนุษย์ มีกลไกต่าง ๆ ที่มหัศจรรย์อยู่มากมาย รวมทั้งฮอร์โมนทุกชนิดก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน เราจึงควรดูแลตัวเองเป็นอย่างดี เมื่อใดก็ตามที่พบความผิดปกติขึ้น (รวมถึงปัญหาขาดฮอร์โมนอินซูลิน) ก็ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อที่จะได้หาวิธีรักษาที่ถูกต้องต่อไป 


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Hormones and Obesity: Changes in Insulin and Growth Hormone Secretion Following Surgically Induced Weight Loss. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1930422/)
Insulin: Function and types. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/323760)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)