การส่องกล้องทางเดินปัสสาวะคืออะไร?

เผยแพร่ครั้งแรก 17 ส.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
การส่องกล้องทางเดินปัสสาวะคืออะไร?

การส่องกล้องทางเดินปัสสาวะ (Cystoscopy) เป็นหัตถการเพื่อตรวจด้านในของกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะ การส่องกล้องนี้ใช้เครื่องมือที่เรียกว่าซิสโตสโคป (Cystoscope) ซึ่งเป็นท่อยาวที่มีกล้องและไฟอยู่ที่ปลายท่อ เครื่องมือนี้มีทั้งแบบที่ยืดหยุ่นและแบบตรง หากเป็นแบบตรงจะมีช่องพิเศษที่สามารถใส่อุปกรณ์ชิ้นเล็กเข้าไปทำหัตถการภายในเพื่อวินิจฉัยหรือรักษาปัญหาของระบบทางเดินปัสสาวะ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ประโยชน์ของการส่องกล้องทางเดินปัสสาวะ

การส่องกล้องทางเดินปัสสาวะ จะช่วยระบุสาเหตุของความผิดปกติทางระบบปัสสาวะได้หลายอาการ เช่น

  • ปัสสาวะมีเลือดปน
  • ปวดท้องน้อย
  • มีการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะบ่อย
  • กลั้นปัสสาวะไม่ได้
  • ปัสสาวะแสบขัด
  • ปัสสาวะบ่อย 
  • ไม่สามารถปัสสาวะได้สุด

นอกจากนี้ การส่องกล้องทางเดินปัสสาวะยังสามารถตรวจหาหรือติดตามโรคทางระบบทางเดินปัสสาวะที่สงสัยว่าจะเป็นได้หลายโรค เช่น

  • ท่อปัสสาวะตีบหรืออุดตัน
  • มีเนื้องอกหรือมะเร็งในทางเดินปัสสาวะ
  • นิ่วในไตหรือกระเพาะปัสสาวะ
  • ต่อมลูกหมากโต

ระหว่างการส่องกล้อง แพทย์จะใส่เครื่องมือเข้าไปเพื่อตัดชิ้นเนื้อ หรือนำนิ่วในกระเพาะปัสสาวะออกมา รวมถึงเก็บตัวอย่างปัสสาวะจากท่อปัสสาวะ (ซึ่งเชื่อมระหว่างไตและกระเพาะปัสสาวะ) เพื่อนำไปตรวจเพิ่มเติม และยังสามารถใช้การส่องกล้องนี้เพื่อใส่ขดลวดถ่างขยายท่อปัสสาวะที่มีภาวะตีบแคบเพื่อช่วยให้ปัสสาวะไหลได้ดีขึ้น 

ขั้นตอนการส่องกล้องทางเดินปัสสาวะ

การส่องกล้องปัสสาวะจะดำเนินการภายใต้ยาชา หากใช้กล้องแบบที่ยืดหยุ่นได้ อาจใช้ยาชาเฉพาะที่ทาบริเวณท่อปัสสาวะก่อนทำ แต่หากใช้กล้องแบบท่อตรง แพทย์มักจะเลือกใช้การดมยาสลบแทน หลังจากใช้ยาชาแล้ว แพทย์จะหล่อลื่นบริเวณกล้องด้วยเจลชนิดพิเศษก่อนจะสอดเข้าไปทางท่อปัสสาวะ และดันเข้าไปเรื่อยๆ ตามทางเดินปัสสาวะจนถึงกระเพาะปัสสาวะ หลังจากนั้นจะใช้น้ำกลั่นผ่านเข้าไปทางกล้องเพื่อให้กระเพาะปัสสาวะโป่งออก 

ระหว่างที่ทำการตรวจ ผู้เข้ารับการผ่าตัด (ในกรณีที่ใช้ยาชา) จะต้องอธิบายว่ารู้สึกอย่างไรเพื่อให้ได้ข้อมูลครบถ้วนเกี่ยวกับความผิดปกติที่เกิดขึ้น เนื่องจากน้ำกลั่นจะไปทำให้ผนังกระเพาะปัสสาวะขยายออกจึงอาจทำให้รู้สึกปวดปัสสาวะ โดยทั่วไปแล้วหัตถการนี้จะใช้เวลา 5-20 นาที หลังจากการตรวจเสร็จสิ้นลง แพทย์อาจสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะเพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อจากการส่องกล้องในครั้งนี้


13 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Cystoscopy: Purpose, Procedure, and Preparation. Healthline. (https://www.healthline.com/health/cystoscopy)
Cystoscopy - What happens. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/cystoscopy/what-happens/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป