การส่องกล้องที่เข่าคืออะไร?

เผยแพร่ครั้งแรก 28 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
การส่องกล้องที่เข่าคืออะไร?

การส่องกล้องที่เข่านั้นเป็นเทคนิคการผ่าตัดที่สามารถช่วยวินิจฉัยและรักษาโรคเกี่ยวกับข้อเข่าได้ ในระหว่างที่ทำ แพทย์จะมีการกรีดแผลขนาดเล็กก่อนจะใส่กล้องขนาดเล็กเข้าไปในข้อเข่า ทำให้เห็นภายในข้อ และเริ่มทำการตรวจสอบปัญหาที่เกิดขึ้นภายในและทำการรักษาโดยการใช้เครื่องมือขนาดเล็กสอดเข้าไปผ่านกล้อง

การส่องกล้องนั้นสามารถวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับเข่าได้หลายโรค เช่นภาวะหมอนรองข้อฉีกขาดหรือกระดูกสะบ้าอยู่ผิดที่ นอกจากนั้นยังสามารถซ่อมเอ็นที่ยึดข้อได้อีกด้วย หัตถการนี้นั้นมีความเสี่ยงและน้อยและผลลัพธ์ดีในผู้ป่วยส่วนใหญ่ ระยะเวลาในการพักฟื้นและการพยากรณ์โรคนั้นจะขึ้นกับความรุนแรงของปัญหาที่เกิดขึ้นและความยากง่ายของหัตถการที่ต้องทำ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ทำไมถึงต้องทำการส่องกล้องที่เข่า

แพทย์อาจจะแนะนำให้คุณทำหัตถการนี้หากมีอาการปวดเข่า แพทย์อาจจะมีการวินิจฉัยโรคที่ทำให้เกิดอาการปวดแล้ว หรืออาจจะส่งตรวจอันนี้เพื่อช่วยในการวินิจฉัย ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตามแต่การส่องกล้องที่เข่านั้นเป็นวิธีที่สามารถช่วยให้แพทย์ยืนยันการวินิจฉัยสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดและรักษาได้

การส่องกล้องที่เข่านั้นสามารถวินิจฉัยและรักษาการบาดเจ็บที่เข่าดังต่อไปนี้

  • เอ็นไว้ยึดข้อด้านหน้าหรือหลังฉีกขาด
  • หมอนรองข้อขาด
  • กระดูกสะบ้าอยู่ผิดตำแหน่ง
  • มีชิ้นส่วนของกระดูกอ่อนที่ฉีกขาดหลุดเข้ามาอยู่ในข้อ
  • การตัด Baker’s cyst
  • กระดูกของข้อเข่าแตก
  • เยื่อหุ้มข้อบวม

การเตรียมตัวก่อนทำ

แพทย์จะแนะนำวิธีการเตรียมตัวก่อนเข้ารับการผ่าตัด ในระหว่างนี้อย่าลืมแจ้งยาทุกชนิดที่กำลังรับประทานอยู่ รวมถึงอาหารเสริมและยาสมุนไพร คุณอาจจะต้องหยุดรับประทานยาบางตัวเช่นแอสไพรินหรือ ibuprofen ล่วงหน้าเป็นสัปดาห์หรือเป็นวันก่อนที่จะเข้ารับการผ่าตัด

นอกจากนั้นยังต้องมีการงดน้ำและงดอาหาร 6-12 ชั่วโมงก่อนการผ่าตัด ในบางราย แพทย์อาจจะมีการสั่งจ่ายยยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการที่อาจจะเกิดขึ้นหลังผ่าตัด คุณควรกินยานี้ก่อนล่วงหน้าเพื่อเตรียมตัวให้พร้อมก่อนการผ่าตัด

ในระหว่างที่ทำการผ่าตัดนั้นเกิดอะไรขึ้นบ้าง

แพทย์จะมีการใช้ยาชาก่อนที่จะเริ่มทำซึ่งอาจจะเป็น

  • การใช้ยาชาเฉพาะที่เข่า
  • การทำให้ชาตั้งแต่เอวลงไป
  • การดมยาสลบ
  • หากคุณตื่น คุณอาจจะสามารถมองสิ่งที่เกิดขึ้นผ่านทางหน้าจอได้

แพทย์จะเริ่มจากการลงแผลขนาดเล็กจำนวนหนึ่งที่รอบๆ เข่า การจะฉีดน้ำเกลือเข้าไปเพื่อถ่างขยายด้านในข้อ และทำให้แพทย์มองเห็นได้ชัดขึ้น ก่อนที่จะมีการสอดกล้องเข้ามาผ่านทางแผลใดแผลหนึ่งให้แพทย์ได้มองรอบๆ ข้อ แพทย์จะเห็นภาพนั้นผ่านทางจอที่อยู่ในห้องผ่าตัด

เมื่อแพทย์พบจุดที่เป็นปัญหา อาจจะมีการใส่เครื่องมือขนาดเล็กเข้าไปเพื่อทำการรักษา หลังจากการผ่าตัด จะมีการดูดน้ำเกลือออกจากข้อและเย็บปิดแผล

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
รักษา ผ่าตัด กระดูกและข้อวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,673 บาท ลดสูงสุด 80%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นจากการส่องกล้องที่ข้อเข่า

การตรวจนี้มีความเสี่ยงเช่นเดียวกับการผ่าตัดอื่นๆ ถึงแม้ว่าจะพบได้น้อย ทุกการผ่าตัดนั้นจะมีความเสี่ยงดังต่อไปนี้

  • มีเลือดออกจำนวนมากในระหว่างผ่า
  • มีการติดเชื้อที่แผลผ่าตัด
  • มีปัญหาหายใจลำบากจากการใช้ยาสลบ
  • มีปฏิกิริยาแพ้ยาสลบหรือยาอื่นๆ ที่ใช้ระหว่างการผ่าตัด

นอกจากนั้นหัตถการนี้ยังมีความเสี่ยงอื่นๆ ที่จำเพาะ เช่น

  • มีเลือดออกภายในข้อเข่า
  • มีลิ่มเลือดเกิดขึ้นที่ขา
  • มีการติดเชื้อภายในข้อ
  • ข้อเข่ายึด
  • มีการบาดเจ็บหรือทำลายกระดูกอ่อน เส้นเอ็น หมอนรองข้อ เส้นเลือดหรือเส้นประสาทของเข่า

การฟื้นฟูหลังจากการผ่าตัด

การผ่าตัดนี้ไม่ใช่การผ่าตัดที่ใหญ่มาก ส่วนมากมักจะใช้เวลาน้อยกว่า 1 ชั่วโมงขึ้นกับแต่ละคน คุณอาจจะสามารถกลับบ้านไปพักฟื้นได้เลยภายในวันเดียวกัน ในระหว่างที่พักฟื้นควรประคบเย็นเพื่อช่วยลดอาการบวมและปวด

เมื่ออยู่ที่บ้านควรมีคนดูแลอย่างน้อยก็ในช่วงวันแรก ควรยกขาให้สูงและประคบเย็นเป็นเวลา 1-2 วันเพื่อลดอาการปวดและบวม คุณอาจจะต้องมีการทำแผล ซึ่งแพทย์สามารถสอนและบอกได้ว่าต้องทำไปนานเท่าไหร่ แพทย์อาจจะมีการนัดตรวจติดตามหลังจากการผ่าตัดผ่านไปสักระยะหนึ่ง แพทย์อาจจะมีการวางแผนการออกกำลังกายที่บ้านเพื่อช่วยในการฟื้นฟูข้อเข่า หรืออาจจะแนะนำให้พบนักกายภาพบำบัดจนกว่าคุณจะสามารถใช้เข่าได้ตามปกติ การออกกำลังกายนี้สำคัญในการทำให้คุณสามารถกลับมาเคลื่อนไหวข้อได้เต็มที่เช่นเดิมและเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ หากได้รับการดูแลที่เหมาะสม ผลลัพธ์ของการผ่าตัดนี้จะออกมาดีเยี่ยมได้


19 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Hunt SA, Jazrawi LM, Sherman OH. Arthroscopic management of osteoarthritis of the knee. J Am Acad Orthop Surg. 2002;10(5):356-63. doi:10.5435/00124635-200209000-00007 (https://doi.org/10.5435/00124635-200209000-00007)
Di caprio F, Meringolo R, Navarra MA, Mosca M, Ponziani L. Postarthroscopy Osteonecrosis of the Knee: Current Concepts. Joints. 2017;5(4):229-236. doi:10.1055/s-0037-1608666 (https://doi.org/10.1055/s-0037-1608666)
Karim AR, Cherian JJ, Jauregui JJ, Pierce T, Mont MA. Osteonecrosis of the knee: review. Ann Transl Med. 2015;3(1):6. doi:10.3978/j.issn.2305-5839.2014.11.13 (https://doi.org/10.3978/j.issn.2305-5839.2014.11.13)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป