การส่องกล้องตรวจภายในข้อ

เผยแพร่ครั้งแรก 24 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 7 นาที
การส่องกล้องตรวจภายในข้อ

การส่องกล้องตรวจภายในข้อเป็นกระบวนการผ่าตัดเปิดแผลที่มีขนาดเล็กเพื่อการวินิจฉัย และรักษาภาวะปัญหาต่าง ๆ บนข้อ

แพทย์มักใช้การตรวจรูปแบบนี้กับเข่า ข้อศอก ไหล่ เอว และข้อมือ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การส่องกล้องตรวจข้อจะมีการใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่าอาร์โทรสโคปในการตรวจสอบข้อต่อต่าง ๆ บนร่างกาย อุปกรณ์นี้จะติดตั้งด้วยแท่งโลหะเรียวบางที่มีขนาดคล้ายกับหลอดดูดน้ำ ซึ่งมีตัวฉายแสงและกล้องติดตั้งอยู่ ภาพที่อุปกรณ์อาร์โทรสโคปส่องเห็นจะถูกส่งไปยังหน้าจอเพื่อให้ศัลยแพทย์มองเห็นภาพข้อต่อของคนไข้ได้

อีกทั้งอาจมีการใช้เครื่องมือศัลยกรรมผ่าตัดขนาดเล็กเข้ามาใช้ร่วมกับอุปกรณ์ชนิดนี้ได้ในกรณีที่แพทย์ต้องทำการรักษาภาวะที่อยู่ในข้อต่อคนไข้

เนื่องจากอุปกรณ์ที่ต้องสอดเข้าร่างกายของคนไข้มีขนาดเล็กมาก ทำการเจาะผิวหนังคนไข้มีขนาดเล็ก และด้วยเหตุเช่นนี้ จึงทำให้กระบวนการนี้มีข้อดีเหนือกว่าการผ่าตัดวินิจฉัยด้วยการเปิดแผลแบบดั้งเดิมอย่างมาก ยกตัวอย่างเช่น:

  • สร้างความเจ็บหลังการผ่าตัดน้อยกว่า
  • ใช้เวลาพักฟื้นสั้น
  • โอกาสในการติดเชื้อต่ำ
  • คนไข้สามารถกลับบ้านได้หลังการตรวจ
  • คนไข้สามารถกลับไปทำกิจกรรมตามปรกติของตนได้เร็วกว่า

เหตุใดกระบวนการดังกล่าวจึงถูกใช้งานกัน?

การส่องกล้องตรวจข้อเหมาะสมกับผู้ที่มีปัญหาที่ข้อต่าง ๆ เรื้อรัง อย่างเช่นมีอาการเจ็บปวดข้อ ข้อบวม หรือตึง ซึ่งการสแกนทั่วไปมิอาจระบุถึงสาเหตุของปัญหาได้

การส่องกล้องตรวจข้อถูกใช้รักษาปัญหาและภาวะต่าง ๆ ที่ข้อได้ ยกตัวอย่างเช่น:

  • เพื่อซ่อมแซมกระดูกอ่อน
  • เพื่อนำเศษกระดูกที่อยู่ภายในช่องข้อออก
  • เพื่อดูดของเหลวออกจากข้อ
  • เพื่อรักษาภาวะต่าง ๆ อย่างเช่นโรคข้ออักเสบ โรคไหล่ติด หรือโรคเส้นประสาทข้อมือถูกกดทับ เป็นต้น

เกิดอะไรขึ้นระหว่างกระบวนการส่องกล้องตรวจข้อ

ตัวอุปกรณ์อาร์โทรสโคปจะถูกสอดผ่านรูตัดขนาดเล็กบนผิวหนังเหนือข้อต่อที่ต้องการตรวจสอบ อาจต้องทำการกรีดลงไปให้กว้างขึ้นหากต้องมีการใช้อุปกรณ์ผ่าตัดระหว่างการตรวจ ศัลยแพทย์จะตรวจสอบสภาพข้อของคุณจากภาพที่กล้องอาร์โทรสโคปส่งขขึ้นมาบนจอกระบวนการดังกล่าวมักมีการใช้ยาชาเฉพาะจุด หรือยาระงับความรู้สึกไปตามกรณีกระบวนการมักดำเนินการกับเคสผู้ป่วยนอก ทำให้ผู้รับการตรวจสามารถกลับบ้านได้หลังเสร็จสิ้นกระบวนการทั้งหมดแล้ว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การพักฟื้นหลังกระบวนการส่องกล้องตรวจข้อ

ระยะเวลาพักฟื้นหลังการส่องกล้องตรวจข้อจะแตกต่างกันไปตามตำแหน่งข้อต่อที่ทำการตรวจโดยส่วนมาก ผู้รับการตรวจจะสามารถกลับไปทำงานหรือดำเนินกิจกรรมเบา ๆ ได้ภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์ ซึ่งแพทย์อาจแนะนำให้ผู้รับการตรวจเลี่ยงการทำกิจกรรมหนัก ๆ อย่างการยกของหรือเล่นกีฬาเป็นเวลาหลายเดือนก็เป็นได้

แพทย์และทีมรักษาของคุณจะแนะนำระยะเวลาพักฟื้นและกิจกรรมที่คุณควรเลี่ยงแก่คุณภายหลังกระบวนการตรวจและในขณะที่คุณกำลังอยู่ในช่วงพักฟื้น คุณควรติดต่อไปยังทีมศัลยแพทย์ของคุณทันทีหากคุณคาดว่าตัวเองกำลังประสบกับภาวะข้างเคียงหลังการตรวจ

การส่องกล้องตรวจข้อมีความเสี่ยงอะไรบ้าง?

การส่องกล้องตรวจข้อถูกยอมรับว่าเป็นกระบวนการที่ปลอดภัยมาก แต่ก็เช่นเดียวกับกระบวนการผ่าตัดประเภทอื่น ๆ ที่ย่อมมีความเสี่ยงบ้างบางประการ ส่วนมากผู้รับการตรวจจะประสบกับภาวะข้างเคียงระยะสั้น ๆ อย่างมีอาการบวม มีรอยฟกช้ำ มีอาการตึงและไม่สบายข้อ ซึ่งมักจะดีขึ้นตามกาลเวลาเอง

ภาวะข้างเคียงที่รุนแรงมักจะพบได้ไม่บ่อยนักหรือจะเกิดกับผู้ที่รับการตรวจ 1 คนจาก 100 คนเท่านั้น ซึ่งมีดังนี้:

  • มีลิ่มเลือดเกิดขึ้นภายในแขนขาข้างใดข้างหนึ่ง: หรือที่เรียกว่าภาวะเส้นเลือดขอด (DVT) ซึ่งจะก่อให้เกิดความเจ็บปวดที่แขนขาข้างนั้น ๆ และจะมีอาการอวัยวะบวมออก
  • การติดเชื้อภายในข้อ: หรือข้ออักเสบติดเชื้อ ซึ่งจะทำให้มีไข้สูง รู้สึกเจ็บปวด และมีอาการข้อบวม
  • เลือดออกภายในข้อ: ซึ่งมักทำให้ผู้ที่เป็นรู้สึกเจ็บปวดรุนแรงที่ข้อ และมีอาการข้อบวม
  • ความเสียหายที่ประสาทใกล้ข้อจากอุบัติเหตุระหว่างกระบวนการ: ซึ่งจะทำให้อวัยวะส่วนนั้นชาหรืออาจเสียความรู้สึกไปบ้าง และมีทั้งแบบถาวรและแบบชั่วคราว

คุณควรทำการพูดคุยทำความเข้าใจถึงความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับคุณก่อนเข้ารับการส่องกล้องตรวจข้อ

การส่องกล้องตรวจข้อจะถูกดำเนินการเมื่อไร?

การส่องกล้องตรวจข้อสามารถดำเนินการเพื่อการวินิจฉัยเพียงอย่างเดียว หรือเพื่อการรักษาภาวะปัญหาข้อไปพร้อมกับการตรวจ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การวินิจฉัยปัญหาที่ข้อต่อ

การส่องกล้องตรวจข้อสามารถใช้ชี้ถึงภาวะปัญหาดังต่อไปนี้:

  • อาการปวดข้อต่อ
  • ข้อตึง
  • มีอาการบวมที่ข้อ
  • ข้อต่อหลุดออกจากตำแหน่งปกติ

ปัญหาที่กล่าวไปอาจสามารถตรวจพบได้จากการเอกซเรย์ ซีทีสแกน หรือจากการถ่ายภาพแม่เหล็กไฟฟ้าก็ได้ แต่หากการสแกนเหล่านี้ไม่พบสาเหตุของปัญหา แพทย์อาจต้องทำการเจาะตรวจข้อเพื่อตรวจสอบสาเหตุโดยตรง

การส่องกล้องตรวจข้อยังสามารถใช้เพื่อประเมินระดับความเสียหายจากการบาดเจ็บที่ข้อต่อได้อีกเช่นกัน ทั้งนี้ก็เพื่อให้แพทย์หรือศัลยแพทย์สามารถทำการรักษาได้อย่างถูกต้อง ยกตัวอย่างเช่น:

  • การซ่อมแซมกระดูกอ่อน เส้นเอ็น หรือเอ็นยึด (ยกตัวอย่างเช่นการผ่าตัดเอ็นยึดที่เข่า)
  • เพื่อการตัดเนื้อเยื่อที่อักเสบออก
  • เพื่อการนำเศษกระดูกออกจากข้อต่อ
  • เพื่อดูดน้ำไขข้อที่มากเกินไปออกมา (ของเหลวที่ใช้หล่อลื่นข้อต่อ)

ภาวะที่สามารถทำการรักษาระหว่างการส่องกล้องตรวจข้อ มีดังนี้:

  • โรคข้ออักเสบ: ภาวะที่พบได้บ่อย ซึ่งสร้างความเจ็บปวดและอักเสบภายในข้อ
  • ก้อนปมหลังเข่า: เป็นภาวะที่เกิดจากการสะสมกันของน้ำไขข้อจนทำให้เกิดอาการตึงและบวม
  • โรคไหล่ติด: ภาวะที่สร้างความเจ็บปวดและตึงบริเวณไหล่ ซึ่งจะรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ
  • โรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ: ภาวะที่ก่อให้เกิดอาการชา หยุกหยิก และอาจมีอาการเจ็บที่มือและนิ้วได้ในบางครั้ง
  • เข่าแข็ง: เป็นการติดขัดที่เนื้อเยื่อที่เคยบาดเจ็บมาก่อนจนทำให้การใช้งานข้อนั้น ๆ ไม่เหมือนเดิม
  • กระดูกงอก: เป็นกระดูกที่เติบโตอย่างผิดปรกติจนสร้างความเจ็บปวดเรื้อรังขึ้น
  • เยื่อบุข้ออักเสบ: เป็นการอักเสบของผนังข้อต่อ
  • ความผิดปรกติของข้อต่อขากรรไกร (TMD): เป็นภาวะปัญหาที่ส่งผลที่ข้อต่อขากรรไกรล่างกับส่วนล่างของกะโหลก

การส่องกล้องตรวจข้อดำเนินการอย่างไร?

กระบวนการส่องกล้องตรวจข้อมักใช้เวลาประมาณ 30 นาที ไปจนถึง 2 ชั่วโมง ภายหลังการรักษาหรือวินิจฉัย คุณก็สามารถกลับบ้านได้ทันที หรือภายในเช้าวันถัดไป

การเตรียมตัวเข้ารับการตรวจ

ก่อนการส่องกล้องตรวจข้อ คุณจะถูกนัดให้มาทำการตรวจเบื้องต้นก่อน

ซึ่งจะมีการประเมินสุขภาพโดยรวมของคุณเพื่อให้แพทย์มั่นใจว่าร่างกายคุณพร้อมกับการผ่าตัดนี้ อีกทั้งระหว่างนี้คุณจะได้รับการชี้แจงถึง:

  • สิ่งที่คุณสามารถรับประทานหรือดื่มได้ในวันที่ต้องเข้ารับการผ่าตัด
  • ยาที่คุณควรเริ่มหรืองดก่อนการผ่าตัด
  • ระยะเวลาที่คุณควรพักฟื้นหลังการผ่าตัด
  • ความจำเป็นของการออกกำลังการเวชศาสตร์ฟื้นฟูหลังการผ่าตัด

ทีมรักษาของคุณยังจะอธิบายถึงผลประโยชน์และความเสี่ยงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเข้าตรวจส่องกล้องข้อต่อ อีกคุณรับทราบถึงความเสี่ยงทั้งหมดและประสงค์จะเข้ารับการตรวจส่องกล้องอยู่ คุณต้องทำการลงชื่อเพื่อยืนยันการตัดสินใจของคุณ ซึ่งเป็นหลักฐานว่าคุณเข้าใจและน้อมรับความเสี่ยงที่รับทราบแล้วนั่นเอง

การดำเนินการส่องกล้องตรวจข้อต่อ

การส่องกล้องตรวจข้อมักดำเนินการโดยใช้ยาสลบ ซึ่งมีบางกรณีแพทย์อาจใช้วิธีการระงับความรู้สึกที่ไขสันหลังหรือใช้ยาชาเฉพาะที่แทน แพทย์ที่ทำการตรวจจะเลือกและชี้แจงการใช้ยาระงับความรู้สึกที่เหมาะสมกับกรณีของคุณ ซึ่งในบางกรณีคนไข้ก็สามารถเลือกได้เองว่าอยากให้แพทย์ใช้วิธีใดกับตน

หากคุณได้รับยาชา ข้อต่อของคุณจะถูกทำให้ชาจนไม่รู้สึกถึงความเจ็บปวดใด ๆ ซึ่งคุณยังรู้สึกตัวตลอดกระบวนการ อย่างรู้สึกถึงการดึงหรือกดเล็กน้อย เป็นต้น

แพทย์จะใช้น้ำฆ่าเชื้อแบคทีเรียทำความสะอาดผิวหนังบริเวณข้อต่อเพื่อทำการกรีดเจาะช่องลงไป หากกระบวนการนั้นใช้เพียงกล้องอาร์โทรสโคป บาดแผลจะมีความยาวไม่กี่มิลิเซนติเมตรเท่านั้น หากมีการใช้เครื่องมือศัลยกรรมอื่น ๆ ร่วมกระบวนการด้วย แพทย์อาจทำการเจาะช่องเพิ่มเพื่อทำการสอดเครื่องมือลงไป

ศัลยแพทย์อาจเติมน้ำปลอดเชื้อลงข้อต่อเพื่อขยายช่องออกจนทำให้สามารถมองเห็นภายในได้ชัดเจนยิ่งขึ้น หากจำเป็นหรือเป็นไปได้ แพทย์อาจสามารถกำจัดสาเหตุหรือซ่อมแซมส่วนที่เสียหายภายในได้เลย

หลังจากกระบวนการ แพทย์จะดึงกล้องอาร์โทรสโคปและอุปกรณ์ต่าง ๆ ออกพร้อมกับดูดน้ำที่ใส่เข้าข้อต่อเพิ่มออกมา รอยแผลจะถูกปิดด้วยเทปปิดแผลชนิดพิเศษ หรืออาจทำการเย็บปิดซึ่งจะถูกปิดด้วยผ้าปิดแผลสะอาดไว้

การพักฟื้น

ระยะเวลาพักฟื้นหลังการส่องกล้องตรวจข้อจะแตกต่างกันไปตามกรณีรูปแบบการผ่าตัดที่ผ่านไป รวมไปถึงสุขภาพโดยรวมและประเภทของกิจกรรมที่คุณต้องทำในแต่ละวัน

บางคนอาจรู้สึกดีขึ้นภายในเวลาไม่กี่วัน ในขณะที่บางคนอาจต้องใช้เวลานานเป็นเดือน ๆ

ภายหลังการผ่าตัด

หลังการส่องกล้องตรวจข้อ คุณจะถูกส่งตัวไปในห้องพักฟื้นจากฤทธิ์ยาสลบ (ในกรณีที่ใช้)

คุณอาจรู้สึกเจ็บข้อบ้าง ซึ่งหากคุณประสบกับความเจ็บปวดมากไป ให้แจ้งพยาบาลที่ดูแลให้จัดเตรียมยาแก้ปวดมาให้คุณ

ผู้คนส่วนมากที่ผ่านการส่องกล้องตรวจจะสามารถออกจากโรงพยาบาลในวันเดียวกับที่ทำการผ่าตัดหรือภายในเช้าวันถัดไปได้เลย ซึ่งก่อนจะกลับบ้าน คุณจะได้รับการนัดหมายกับนักกายภาพเพื่อเรียนรู้วิธีการออกกำลังกายที่บ้าน

คุณอาจต้องใช้ไม้เท้าหรือเข้าเผือกรองรับและป้องกันข้อต่อส่วนที่ถูกตรวจสอบในระหว่างการพักฟื้น ขึ้นอยู่กับกระบวนการผ่าตัดที่ผ่านไป บางคนอาจได้รับปั๊มชนิดพิเศษหรือโดนรัดแขนไว้เพื่อควบคุมการไหลเวียนเลือด

คำแนะนำสำหรับการพักฟื้น

หลังการผ่าตัดคุณจะรู้สึกเหนื่อยและวิงเวียน ซึ่งเป็นผลมาจากฤทธิ์ยาสลบ คุณควรพาบุคคลที่สามมากับคุณในวันตรวจด้วยเนื่องจากระหว่างนี้คุณจะไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เท่าที่ควร โดยคนส่วนมากมักจะสร่างจากยาสลบภายใน 48 ชั่วโมง

เมื่อคุณเดินทางถึงบ้าน ให้พยายามยกข้อต่อส่วนที่ผ่านการผ่าตัดให้อยู่สูง และทำการประคบเย็นเพื่อลดอาการบวม และถ้าแพทย์แนะนำให้มีการออกกำลังกายข้อต่อ คุณควรปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด

ผ้าปิดแผลหรือเฝือกที่ใช้ปกปิดแผลต้องแห้งอยู่ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นคุณควรปกปิดส่วนนั้นด้วยถุงพลาสติกในขณะที่คุณกำลังอาบน้ำ หากสิ่งเหล่านี้เปียกหรือหลุดออก ให้เปลี่ยนอันใหม่ทันที ซึ่งอุปกรณ์ปกปิดแผลเหล่านี้มักจะถอดออกได้หลังจากนั้น 5 ถึง 10 วัน

แผลของคุณควรจะหายดีภายในเวลาไม่กี่วัน หากแพทย์ใช้ด้ายเย็บแผล (ที่ละลายไม่ได้) ปิดปากแผลระหว่างการผ่าตัด คุณจะถูกนัดเข้ามาถอดด้ายออกภายหลังจากนั้นประมาณหนึ่งหรือสองอาทิตย์

โดยทั่วไป ทางแพทย์จะนัดให้คุณมาเพื่อการติดตามผลหลังจากผ่าตัดไม่กี่สัปดาห์ เพื่อประเมินดูผลการผ่าตัด การฟื้นตัวของคุณ และการรักษาอื่น ๆ ที่คุณต้องได้รับ

การกลับไปทำกิจกรรมตามปรกติ

ทางศัลยแพทย์หรือทีมรักษาจะให้คำแนะนำถึงระยะเวลาในการพักฟื้น และกิจกรรมที่ควรหลีกเลี่ยงต่าง ๆ แก่คุณ

คุณอาจต้องลางานอย่างน้อยหนึ่งหรือสองสัปดาห์ ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามบุคคล หรือลักษณะงานที่ต้องทำในแต่ละวัน

คุณสามารถขับรถได้เมื่อคุณพร้อม หรือเมื่อไม่มีอาการเจ็บปวดใด ๆ ซึ่งมักจะใช้เวลาประมาณไม่กี่อาทิตย์หรือหลายเดือนหลังการผ่าตัด ซึ่งทางแพทย์จะสามารถบอกคุณได้ชัดเจนมากกว่า

แพทย์สามารถแนะนำได้ถึงระยะเวลาที่คุณต้องงดทำกิจกรรมที่ต้องออกแรงมาก ๆ อย่างเช่นการยกของ หรือเล่นกีฬา โดยส่วนมากมักจะใช้เวลาพักฟื้นหลังจากผ่าตัด 6 อาทิตย์ก่อนที่จะสามารถกลับไปทำกิจกรรมหนัก ๆ ได้ หากไม่ใช่กรณีนี้ คุณอาจต้องงดกิจกรรมดังกล่าวนานเป็นหลายเดือน

เมื่อไรที่ควรเข้าพบแพทย์

คุณควรติดต่อแพทย์หรือคลีนิคที่คุณเข้ารับการผ่าตัดทันทีที่คุณประสบเหตุดังต่อไปนี้:

  • มีไข้สูง
  • มีอาการเจ็บปวดรุนแรงหรือเพิ่มขึ้น
  • มีอาการบวมแดงรุนแรงหรือเพิ่มขึ้น
  • มีของเสียกลิ่นแรงหรือมีสีผิดแปลกขับออกมาจากบาดแผล
  • มีอาการชาหรือคันหยุกหยิก

ปัญหาเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณของภาวะแทรกซ้อนที่หนักหนาได้ อย่างเช่นการติดเชื้อหรือความเสียหายที่ปลายประสาท เป็นต้น


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Endoscopy Procedure Risks, Preparation, Pain, and Results. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/endoscopy/article.htm)
Endoscopy. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/endoscopy.html)
Endoscopy. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/endoscopy/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)