หนองในเทียม หรือ "คลามายเดีย (Chlamydia)" เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชื่อ "คลามายเดีย แทรโคมาทิส (Chlamydia trachomatis)"
โรคหนองในเทียมเป็นอีกชนิดของ "โรคหนองใน (Gonorrhoea)" ซึ่งเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดได้บ่อยที่สุด โดยการติดเชื้อแบคทีเรียดังกล่าว จะเกิดบริเวณเซลล์เยื่อบุผิว (Epithelial cells) ทั้งบริเวณผิวนอกของร่างกาย และผิวภายในของอวัยวะกลวง รวมถึงต่อมต่างๆ ในร่างกาย
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
แบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคหนองในสามารถติดเชื้อที่เซลล์เยื่อบุผิวของอวัยวะต่างๆ ดังต่อไปนี้
- องคชาติ
- ช่องคลอด
- ปากมดลูก
- ทวารหนัก
- ท่อปัสสาวะ
- ตา
- ลำคอ
โรคหนองในเทียมเป็นการติดเชื้อแบบซ่อนเร้น เพราะส่วนมาก ผู้ติดเชื้อมักไม่แสดงอาการ แต่ก็สามารถแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นได้ ทำให้โรคนี้มีอัตราการติดเชื้อสูง
ลักษณะอาการโรคหนองในเทียม
ในผู้ป่วยชายจะมีอาการปัสสาวะขัด มีมูกใส หรือมูกขุ่น รู้สึกคันที่ท่อปัสสาวะ ส่วนผู้หญิงมักไม่มีอาการแสดงชัดเจน แต่อาจมีตกขาวมากผิดปกติ หรือตรวจพบปากมดลูกอักเสบ
การติดเชื้อโรคหนองในเทียม
โดยทั่วไป โรคหนองในเทียมสามารถติดต่อได้ผ่านการเพศสัมพันธ์ทางปาก ช่องคลอด หรือทางทวารหนักโดยไม่ป้องกัน โดยตัวกลางที่ทำให้เกิดการติดโรคหนองในถึงกันในคู่นอน คือ สารคัดหลั่งที่หลั่งออกมาระหว่างมีเพศสัมพันธ์ และมีเชื้อปนอยู่ด้วย เช่น
- สารคัดหลั่งในช่องคลอด
- น้ำกาม หรือน้ำหล่อลื่นของเพศชาย (pre-cum: pre-ejaculatory fluid)
- การสัมผัสกับเยื่อบุผิวชนิดเยื่อเมือก เช่น บริเวณภายในช่องคลอด รูเปิดของท่อปัสสาวะ ทวารหนัก ปาก หรือดวงตา
โรคหนองในเทียมสามารถติดต่อกันได้ แม้องคชาติ หรือลิ้นของคู่นอนไม่ได้ผ่านเข้าไปในช่องคลอด หรือทวารหนัก หรือถึงแม้ไม่ได้หลั่งน้ำกามก็ตาม
นอกจากนี้ การใช้อุปกรณ์ช่วยสำเร็จความใคร่ร่วมกัน และเด็กทารกที่คลอดทางช่องคลอดจากแม่ที่มีเชื้อโรคหนองในก็อาจติดเชื้อโรคนี้ไปด้วยได้
ตรวจ STD วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 97 บาท ลดสูงสุด 76%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
เชื้อโรคหนองในยังสามารถแพร่จากบริเวณหนึ่งของร่างกายไปยังบริเวณอื่นได้ เช่น สามารถแพร่เชื้อจากช่องคลอดไปทวารหนัก หรือจากทวารหนักไปยังช่องคลอด โดยการเช็ดทำความสะอาด หรือสามารถแพร่ไปยังดวงตาได้ หากสัมผัสดวงตาหลังสัมผัสส่วนที่ติดเชื้อโดยไม่ได้ล้างมือ
อย่างไรก็ตาม การจูบ การหอมแก้ม การใช้ของใช้ในชีวิตประจำวันร่วมกัน หรือการนั่งบนโถชักโครกร่วมกัน ไม่ได้ทำให้ติดเชื้อโรคหนองในเทียมได้ เนื่องจากเชื้อแบคทีเรียดังกล่าวไม่สามารถอยู่นอกร่างกายได้เป็นเวลานาน
ภาวะแทรกซ้อนของหนองในเทียม
หากไม่รีบรักษาโรคหนองในเทียม โรคติดต่อชนิดนี้สามารถก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว
โรคหนองในเทียมในผู้หญิงสามารถก่อให้เกิดการติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน (Pelvic inflammatory disease) ซึ่งเป็นการแพร่กระจายของเชื้อไปยังมดลูก หรือท่อนำไข่ ซึ่งจะนำไปสู่ภาวะดังต่อไปนี้
- เกิดความเสียหายอย่างถาวรต่อท่อนำไข่ มดลูก และเนื้อเยื่อโดยรอบ
- อาการปวดอุ้งเชิงกรานเรื้อรัง
- ภาวะมีบุตรยากชนิดที่เกิดจากปัญหาที่ท่อนำไข่ เรียกว่า tubal factor infertility
- ท้องนอกมดลูก คือการตั้งครรภ์ที่ตัวอ่อนฝังตัวอยู่ภายนอกมดลูก ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตต่อแม่ได้
นอกจากนี้ การติดเชื้อหนองในเทียมระหว่างการตั้งครรภ์จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด หรือทารกน้ำหนักแรกคลอดน้อยกว่าปกติได้
ส่วนในผู้ชาย โรคหนองในเทียมสามารถแพร่กระจายไปยังลูกอัณฑะ และท่อนำอสุจิ (epididymis) ได้ ทำให้เกิดการอักเสบของท่อนำอสุจิ (epididymitis) รวมถึงอาจเกิดภาวะข้ออักเสบจากการตอบสนองของร่างกาย ซึ่งทำให้เกิดการอักเสบของข้อต่างๆ ดวงตา หรือท่อปัสสาวะ
ตรวจ STD วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 97 บาท ลดสูงสุด 76%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
การวินิจฉัยโรคหนองในเทียม
แพทย์จะซักถามประวัติสุขภาพ รวมถึงพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของผู้ป่วย เช่น เปลี่ยนคู่นอนบ่อยหรือไม่ มีเพศสัมพันธ์โดยป้องกันหรือไม่ เคยมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก ทางปาก หรือใช้อุปกรณ์ใดร่วมกับการมีเพศสัมพันธ์บ้าง
หลังจากนั้นแพทย์อาจมีการตรวจทางห้องปฏิบัติการอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น การย้อมสีเซลล์ (Gram stain)
การรักษาโรคหนองในเทียม
การรักษาโรคหนองในเทียมมักเป็นการให้รับประทานยาซึ่งจะขึ้นอยู่กับบริเวณที่เป็นหนองใน โดยยาที่นิยมให้รับประทานเพื่อรักษาโรคนี้ ได้แก่
1. ยาสำหรับรักษาโรคหนองในเทียมในช่องคอ อวัยวะเพศ และทวารหนักใน
- อะซิโธรมัยซิน (Azithromycin)
- ด็อกซีไซคลิน (Doxycycline)
- รอกซิโทรมัยซิน (Roxithromycin)
- อีริโธรมัยซิน สเตียเรต (Erythromycin stearate)
2. ยาสำหรับรักษาโรคหนองในเทียมในเยื่อบุตาในผู้ป่วยผู้ใหญ่
- เตตราไซคลีน (Tetracycline)
- อีริโธรมัยซิน (Erythromycin)
- ด็อกซีไซคลิน
- อะซิโธรมัยซิน
3. ยาสำหรับรักษาโรคหนองในในหญิงตั้งครรภ์
- อะซิโธรมัยซิน
- อะม็อกซี่ซิลลิน (Amoxicillin)
- อีริโธรมัยซิน สเตียเรต
นอกจากการรักษาตนเอง หากผู้ป่วยตรวจพบว่า ตนเองเป็นโรคหนองใน และเคยมีเพศสัมพันธ์ภายใน 60 วันก่อนมีอาการ ควรให้คู่นอนมาตรวจโรคพร้อมกันด้วย เพื่อจะได้รีบหาทางรักษาไปพร้อมๆ กัน
เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจก่อนแต่งงาน จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android
เป็นไข้หวัดใหญ่ชนิดเดียวกันในช่วงๆเวลาใกล้กันได้หรือไม่คะ