กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Botulism (โรคโบทูลิซึม)

เผยแพร่ครั้งแรก 25 ก.พ. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที

โรคโบทูลิซึมเป็นโรคหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะอัมพาตได้ แต่ก็พบได้น้อย โดยเกิดจากสารพิษจากเชื้อ Clostridium ที่ส่งผลต่อระบบประสาท ซึ่งเชื้อนี้พบได้ในดินและน้ำที่ไม่ผ่านการกรอง เชื้อที่มักทำให้เกิดโรคนี้ชื่อว่า Clostridium botulinum แต่เชื้อชนิด C. butyricum และ C. Baratii ก็สามารถทำให้เกิดโรคนี้ได้เช่นกัน

รูปแบบของโรคโบทูลิซึม

ศูนย์ป้องกันโรคติดต่อในสหรัฐอเมริกา (CDC) ได้ทำการแบ่งโรค Botulism ออกเป็น 5 รูปแบบ ประกอบด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • Foodborne botulism botulinum toxin
  • Wound botulism Botulinum
  • Infant botulism
  • Adult toxemia botulism
  • Iatrogenic botulism

มีการประมาณว่ามีผู้ป่วยโรคนี้ประมาณ 145 รายต่อปีในสหรัฐอเมริกา โดยรูปแบบการติดเชื้อที่พบบ่อยที่สุดคือ Infant botulism คิดเป็น 65% ของทั้งหมด ตามด้วย foodborne และ wound botulism ที่ประมาณ 15 และ 20% ตามลำดับ ส่วน Adult toxemia botulism และ Iatrogenic botulism นั้นพบได้น้อยมาก

อาการของโรคโบทูลิซึม

สาร Botulinum toxin สามารถทำให้เกิดการเป็นอัมพาตของกล้ามเนื้อจำนวนมากได้ โดยจะทำให้เกิดอาการต่อไปนี้ในเด็กและผู้ใหญ่

Foodborne botulism มักทำให้เกิดอาการเหล่านี้ตั้งแต่ 18-36 ชั่วโมงหลังจากรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเข้าไป แต่ก็สามารถเกิดได้ตั้งแต่ช่วง 6 ชั่วโมงแรกจนถึง 10 วันหลังจากการกิน

อาการของโรคโบทูลิซึมในทารก ได้แก่

  • กินอาหารได้น้อย
  • อ่อนเพลียและดูอ่อนแรง
  • ท้องผูก
  • น้ำลายฟูมปาก
  • ร้องเสียงเบา
  • ความตึงตัวของกล้ามเนื้อและการควบคุมศีรษะลดลง
  • การตอบสนองของระบบประสาทรีเฟลกซ์ลดลง

หากไม่ได้รับการรักษาจะทำให้เกิดอัมพาตที่แขน ขา ลำตัว และกล้ามเนื้อของการหายใจ ซึ่งสามารถทำให้เกิดการเสียชีวิตจากการที่ไม่สามารถหายใจได้

การรักษาโรคโบทูลิซึม

ยาที่ชื่อว่า Botulinum antitozin เป็นยาสามารถใช้ต้านพิษของแบคทีเรียที่อยู่ในร่างกายได้ โดยหากให้ยาต้านพิษนี้ก่อนที่จะเกิดอัมพาต จะสามารถป้องกันอาการรุนแรงที่จะเกิดขึ้นภายหลังได้ และช่วยลดระยะเวลาในการฟื้นตัวจากอาการของโรค 

ในผู้ที่เป็นโรคโบทูลิซึมขั้นรุนแรงซึ่งมีอาการของอัมพาตและหายใจล้มเหลว จะต้องใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นระยะเวลาตั้งแต่หลายสัปดาห์หรือหลายเดือน นอกจากนั้นยังต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากอพทย์และพยาบาลจนกว่าอาการอัมพาตจะดีขึ้น ซึ่งจะดีขึ้นอย่างช้าๆ 

ในผู้ที่เป็น Foodborne botulism นั้นแพทย์อาจกระตุ้นให้เกิดอาเจียนหรือถ่ายเพื่อให้อาหารที่ปนเปื้อนเชื้อและยังคงค้างอยู่ภายในลำไส้ออกมา และทำให้สามารถฟื้นตัวได้เร็วมากขึ้น ส่วนผู้ป่วยที่เป็น Wound botulism การรักษาแผลด้วยการผ่าตัดและให้ยาฆ่าเชื้อก็สามารถช่วยให้ฟื้นตัวได้เร็วขึ้นเช่นกัน


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Deborah Weatherspoon, Ph.D, MSN, RN, CRNA, Botulism (https://www.healthline.com/health/botulism), January 28, 2016
Jill Seladi-Schulman, Ph.D., Botulism: What is it and how can we prevent it? (https://www.medicalnewstoday.com/articles/173943.php), January 24, 2018

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)