นพ. สุวพัชญ์ พิศาลมงคล แพทย์ทั่วไป
เขียนโดย
นพ. สุวพัชญ์ พิศาลมงคล แพทย์ทั่วไป

มีอาการจุกแน่นที่คอ บ่งบอกถึงอะไร?

จุกแน่นที่คอเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่ละสาเหตุมีวิธีดูแลตัวเองเบื้องต้นต่างกัน
เผยแพร่ครั้งแรก 20 ส.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 29 มี.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
มีอาการจุกแน่นที่คอ บ่งบอกถึงอะไร?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • อาการจุกแน่นที่คอสามารถเกิดจากสาเหตุธรรมดาๆ เช่น ติดเชื้อภายในลำคอจากการเป็นไข้หวัด ซึ่งหลังหายเป็นไข้หวัด อาการจะหายไปได้เอง อาการจุกแน่นคออาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ หากมีอาการแพ้รุนแรงจะทำให้บริเวณคอบวม กดเบียดทางเดินหายใจ และขาดออกซิเจนในที่สุด
  • อาการจุกแน่นที่คอยังสามารถเกิดได้จากสาเหตุต่อไปนี้ ได้แก่ กรดไหลย้อน ต่อมไทรอยด์โต ความวิตกกังวล เช่น อาการแพนิค (Panic attack)
  • วิธีแก้ไขอาการจุกแน่นที่คอ เริ่มจากการแก้ไขตามสาเหตุอย่างถูกวิธีและทันเวลา เช่น แก้อาการแพ้ แก้อาการติดเชื้อ แก้อาการกรดไหลย้อน 
  • หากอาการจุกแน่นที่คอเกิดขึ้นพร้อมกับมีผื่นคันขึ้นตามลำตัว หายใจไม่สะดวก แน่นหน้าอก จุกแน่นภายในลำคอ มีอาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสียถ่ายเหลว หน้ามืด หมดสติควรรีบไปสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุด
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิง ผู้ชายทุกวัย

อาการจุกแน่นที่คอเป็นคำอธิบายกว้างๆ ได้ถึงหลายอาการ เช่น มีอาการคอบวม รู้สึกเหมือนมีอะไรอยู่ในคอ รู้สึกว่ามีก้อนในลำคอ มีอาการเจ็บคอ มีอาการหายใจไม่สะดวก หายใจลำบาก  

หลายคนคงเคยมีอาการจุกแน่นที่คอกันมาบ้าง และเมื่อมีอาการดังกล่าวคงจะกังวลว่า "เกิดจากสาเหตุใด"

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจ รักษา หู คอ จมูก วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 854 บาท ลดสูงสุด 54%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

สาเหตุของอาการจุกแน่นที่คอ

อาการจุกแน่นที่คอสามารถเกิดจากสาเหตุธรรมดาๆ เช่น ติดเชื้อภายในลำคอจากการเป็นไข้หวัด ซึ่งหลังหายเป็นไข้หวัด อาการจะหายไปได้เอง อาการจุกแน่นคออาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ หากมีอาการแพ้รุนแรง (Anaphylaxis) ทำให้บริเวณคอบวม กดเบียดทางเดินหายใจ ทำให้หายใจติดขัด และขาดออกซิเจนในที่สุด 

ในบทความนี้จะกล่าวถึงสาเหตุที่ทำให้มีอาการจุกแน่นที่คอ วิธีการแก้ไขเบื้องต้น และอาการใดบ้างที่มีอันตรายถึงชีวิต ซึ่งควรรีบไปโรงพยาบาลโดยด่วน

จุกแน่นที่คอจากการแพ้ (Allergic reaction) 

อาการแพ้เกิดจากการที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น ได้แก่ อาหาร ยา หรือการถูกแมลงกัดต่อย ทำให้มีผื่นคันขึ้นตามลำตัวและส่วนต่างๆของร่างกายได้ 

นอกจากการมีผื่นแพ้แล้ว การแพ้ยังสามารถมีอาการได้ใน 4 ระบบของร่างกาย ประกอบด้วย 

  • ระบบผิวหนัง ทำให้มีผื่นแพ้ 
  • ระบบหายใจ ทำให้ทางเดินหายใจบวม หายใจลำบาก หายใจติดขัด รู้สึกจุกแน่นภายในคอ 
  • ระบบหัวใจและหลอดเลือด ทำให้มีอาการหน้ามืดหมดสติได้ 
  • ระบบทางเดินอาหาร ทำให้มีอาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง และถ่ายเหลวได้ 

หากมีอาการแพ้ในระบบต่างๆของร่างกายตั้งแต่ 2 ระบบขึ้นไป ถือเป็นการแพ้รุนแรง (Anaphylaxis) ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิต ควรจะรีบไปสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุดโดยเร็ว

จุกแน่นที่คอจากกรดไหลย้อน (Gastroesophageal reflux: GERD) 

เกิดจากกล้ามเนื้อหูรูดส่วนล่างของหลอดอาหารไม่แข็งแรง อาหารและกรดในกระเพาะอาหารจึงสามารถไหลย้อนกลับจากกระเพาะอาหารขึ้นมายังบริเวณหลอดอาหารได้ ทำให้มีอาการจุกแน่นที่คอ แสบร้อนกลางอกและบริเวณคอ มีอาการเรอเปรี้ยว 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

นอกจากนี้อาจพบมีอาการไอเรื้อรังและเสียงแหบได้ จากการที่กรดไปทำให้เกิดการระคายเคืองบริเวณหลอดลมและบริเวณกล่องเสียง

จุกแน่นที่คอจากการติดเชื้อ (Infection) 

เช่น ต่อมทอนซิลอักเสบ (Tonsillitis) และการติดเชื้อภายในลำคออื่นๆ ทำให้มีอาการเจ็บแน่นภายในลำคอ กลืนเจ็บ และมีไข้ได้

จุกแน่นที่คอจากต่อมไทรอยด์โต (Goiter) 

ต่อมไทรอยด์อยู่บริเวณลำคอด้านหน้ากล่องเสียง หากต่อมนี้มีขนาดใหญ่จะทำให้คอบวม และรู้สึกแน่นบริเวณคอได้

จุกแน่นที่คอจากความวิตกกังวล (Anxiety) 

ถึงแม้ความวิตกกังวลจะเป็นอาการทางจิต แต่ก็สามารถก่อให้เกิดอาการทางกายได้ เช่น อาการแพนิค (Panic attack) ทำให้รู้สึกจุกแน่น หายใจลำบาก หายใจเหนื่อยหอบ

วิธีแก้ไขอาการจุกแน่นที่คอเบื้องต้น

การแก้ไขอาการจุกแน่นบริเวณลำคอขึ้นอยู่กับสาเหตุ ดังนี้

  • หากเป็นเพราะการแพ้รุนแรง หากเกิดอาการเป็นครั้งแรกควรรีบไปสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุดโดยเร็ว และแจ้งประวัติการได้รับสิ่งกระตุ้นที่สงสัยให้แพทย์ทราบ การรักษาที่ต้องได้รับโดยเร็วที่สุดคือ การฉีดยาอะดรีนาลีน (Adrenaline) เข้าไปในบริเวณกล้ามเนื้อ และได้รับยาต่างๆ ตลอดจนการนอนสังเกตอาการต่อภายในโรงพยาบาล ผู้ป่วยที่เคยมีประวัติการแพ้รุนแรงจะได้รับยาอะดรีนาลีนแบบฉีดไว้พกติดตัว เมื่อสงสัยว่า มีอาการดังกล่าวควรรีบฉีดเข้าที่กล้ามเนื้อต้นขาโดยเร็วและรีบไปรับการรักษาต่อที่โรงพยาบาล
  • หากเป็นเพราะกรดไหลย้อน ผู้ป่วยที่เป็นโรคกรดไหลย้อนควรจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น ลดความอ้วน ไม่รับประทานอาหารมากจนแน่นท้องโดยเฉพาะมื้อก่อนนอน ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่เข้านอนทันทีหลังรับประทานอาหาร นอกจากนี้ควรตรวจรักษากับแพทย์เพื่อพิจารณาให้ยาลดกรดในกระเพาะอาหารและยาบรรเทาอาการจุกแน่น แสบร้อนกลางอกและลำคอ
  • หากเป็นเพราะการติดเชื้อภายในลำคอ เช่น เชื้อแบคทีเรีย ควรได้รับยาปฏิชีวนะในการรักษา
  • หากเป็นเพราะต่อมไทรอยด์โต ควรไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่ทำให้มีขนาดผิดปกติ การรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุ มีทั้งการรักษาด้วยยา การกลืนแร่ (Radioactive iodine) และการผ่าตัด
  • หากเป็นเพราะความวิตกกังวล ควรปรึกษาจิตแพทย์ ส่วนการรักษามีทั้งรักษาด้วยยาและจิตบำบัด

อาการจุกแน่นคอที่ได้กล่าวมาในบทความนี้ สาเหตุที่เป็นอันตรายถึงชีวิตคือ "การแพ้รุนแรง" ซึ่งอาการดังกล่าวจะเกิดขึ้นทันทีหลังได้รับสิ่งกระตุ้น 

อาการเหล่านี้ได้แก่ มีผื่นคันขึ้นตามลำตัว หายใจไม่สะดวก แน่นหน้าอก จุกแน่นภายในลำคอ มีอาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสียถ่ายเหลว หน้ามืด หมดสติ หากมีอาการต่างๆ เหล่านี้ควรรีบไปสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุด

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิง ผู้ชายทุกวัย จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Stephanie Watson, What Causes Tightness in Throat and How Can You Manage This Symptom? (https://www.healthline.com/health/tightness-in-throat), 2 August 2017.
Melinda Ratini, Tightness in the Throat: Causes and Treatments (https://www.webmd.com/a-to-z-guides/tightness-in-throat-causes-treatments#1), 14 May 2019.
Jayne Leonard, What to do about tightness in the throat (https://www.medicalnewstoday.com/articles/320931.php), 15 February 2018.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
โรคไซนัสอักเสบ ชนิดเรื้อรัง และเฉียบพลัน สาเหตุ การรักษา
โรคไซนัสอักเสบ ชนิดเรื้อรัง และเฉียบพลัน สาเหตุ การรักษา

รู้จักชนิดของไซนัสอักเสบ อาการที่หลายคนเป็น หากปล่อยไว้นานอาจต้องผ่าตัด

อ่านเพิ่ม