การเลือกรับประทานอาหารที่ดีระหว่างที่คุณกำลังตั้งครรภ์ จะช่วยทำให้สุขภาพร่างกายทั้งของคุณและทารกในครรภ์แข็งแรง ไม่จำเป็นต้องทานอาหารแบบพิเศษ หรือมีราคาสูง เพียงทานอาหารให้หลากหลายในทุกๆ วันเพื่อให้ได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ
มื้อเช้าเป็นมื้ออาหารที่สำคัญมากสำหรับสตรีมีครรภ์ เพราะจะช่วยให้อิ่มท้องไปตลอดทั้งวัน ในช่วงตั้งครรภ์ ผู้หญิงหลายคนจะรู้สึกหิวมากกว่าปกติ และอาจรับประทานอาหารมากกว่าปกติโดยอ้างว่ากินเผื่อลูกด้วย ซึ่งถ้าหากไม่ระวัง ก็อาจมีเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อคุณและทารกในครรภ์
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
หากตั้งครรภ์ควรรับประทานอะไรบ้าง และรับประทานในปริมาณเท่าไรจึงจะเหมาะสม?
- ผักและผลไม้ : ผักและผลไม้อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และไฟเบอร์ ที่ช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น และช่วยป้องกันการท้องผูกระหว่างตั้งครรภ์ แนะนำให้รับประทานผักและผลไม้ต่างชนิดกันอย่างน้อย 5 ส่วนทุกวัน และควรล้างให้สะอาดก่อนรับประทาน เพื่อป้องกันปรสิต ท็อกโซพลาสมา (Toxoplasma) ที่อาจทำให้ทารกในครรภ์มีความพิการแต่กำเนิดได้
- แป้ง : แป้งเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญทั้งต่อคุณแม่และทารก จึงควรรับประทานให้ได้มากกว่า 1/3 ของมื้ออาหาร แต่ให้เลือกทานเป็นโฮลเกรนแทนที่จะเป็นแป้งที่ผ่านการขัดสีมาแล้ว เพื่อให้ได้รับสารอาหารต่างๆ เพิ่มเติมมากขึ้น
- โปรตีน : โปรตีนมีส่วนสำคัญในการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ รวมถึงช่วยซ่อมแซมและบำรุงส่วนต่างๆ ของคุณแม่ ดังนั้น โดยอาหารที่มีโปรตีนสูง ได้แก่ อาหารทะเล ไข่ เนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อสัตว์ปีก ถั่วเปลือกแข็ง หากรับประทานเนื้อสัตว์ ควรเลือกเป็นเนื้อแดงไม่ติดมัน และควรปรุงให้สุกก่อนรับประทานเสมอ
- นม : หรืออาหารที่มีส่วนผสมของนม เช่น ชีส หรือโยเกิร์ต เต็มไปด้วยแคลเซียมที่ช่วยสร้างกระดูกให้กับทารก และบำรุงกระดูกของคุณแม่ให้แข็งแรง ควรรับประทานนม หรืออาหารที่มีส่วนประกอบของนมอย่างน้อยวันละ 2-3 ส่วน ควรเลือกแบบไขมันต่ำและลดน้ำตาลเพื่อสุขภาพที่ดี
- ชีสประเภท Hard Cheese : หรือชีสเนื้อแข็งทุกชนิด เช่น เชดดาชีส พาร์เมซานชีส สามารถรับประทานเพื่อเพิ่มแคลเซียมได้
- ปลา : การรับประทานปลาในช่วงตั้งครรภ์ จะช่วยเพิ่มโปรตีน แคลเซียม กรดไขมันโอเมก้า 3 และกรดไขมันโอเมก้า 6 ซึ่งจะช่วยทำให้การเจริญเติบโตของทารกเป็นไปอย่างสมวัยและแข็งแรง อย่างไรก็ตาม ควรเลี่ยงการรับประทานปลาที่มีไขมันสูงไม่ให้เกินสัปดาห์ละ 2 ส่วน และควรหลีกเลี่ยงการรับประทานปลาดิบในระหว่างนี้
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงในระหว่างตั้งครรภ์
- อาหารที่มีน้ำตาลและไขมันสูง : เช่น เนย น้ำมัน น้ำสลัด ครีม ช็อกโกแลต ขนมอบกรอบ เค้ก พุดดิ้ง น้ำอัดลม ควรลดความถี่ในการรับประทานอาหารเหล่านี้ให้น้อยลง เพราะนอกจากจะทำให้อ้วนแล้ว ยังเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน และเสี่ยงต่อการเกิดภาวะความดันโลหิตสูง
- ชีสประเภท Soft Cheese : เช่น บลูชีส เพราะชีสประเภทนี้มีกรดและมีความชื้นสูง ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมที่เหมาะแก่การเติบโตของแบคทีเรียชนิดที่ทำให้เกิดอันตราย เช่น Listeria ที่อาจทำให้เกิดภาวะแท้งบุตร แต่ถ้าหากผลิตจากนมที่พาสเจอร์ไรซ์ เช่น คอทเทจ มอสซาเรลลา และผ่านการปรุงสุกแล้ว สามารถรับประทานได้ตามปกติ
- ปลาบางชนิด : เช่น ปลาฉลาม ปลากระโทงดาบ หรือปลากระโทงสีน้ำเงิน เนื่องจากปลาเหล่านี้มีสารปรอทสูง ซึ่งอาจทำให้เกิดอันตรายต่อเด็กในครรภ์
- เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน : การสะสมของคาเฟอีนปริมาณมาก เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแท้งบุตร หรืออาจทำให้ทารกมีน้ำหนักแรกคลอดต่ำ ซึ่งจะมีผลต่อการเกิดปัญหาสุขภาพในภายหลัง ดังนั้น จึงควรงดบริโภคเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน แต่ถ้าไม่สามารถงดได้ ให้จำกัดการดื่มไม่ให้มากกว่า 200 มิลลิกรัม/วัน