เล็บลอกคืออะไร?

เผยแพร่ครั้งแรก 28 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
เล็บลอกคืออะไร?

ในปัจจุบันนี้ เล็บนั้นเหมือนมีหน้าที่เพียงแค่เพื่อเพิ่มความสวยงามเท่านั้น แต่เหตุผลหลักแต่ดั้งเดิมในการใช้เล็บนั้นคือการขุดและการป้องกันตัว เล็บนั้นช่วยป้องกันผิวหนังบริเวณปลายนิ้วและเพิ่มความสามารถในการหยิบจับของต่างๆ

เล็บนั้นสร้างขึ้นมาจากเคราติน ซึ่งเป็นโปรตีนที่พบในเส้นผม เล็บนั้นประกอบขึ้นมาจากชั้นแข็งๆ หลายๆ ชั้นซึ่งสามารถลอกได้ ซึ่งทำให้เล็บอาจจะดูบางและเปราะกว่าปกติ ทำให้เล็บแยก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

เล็บที่ลอกนั้นอาจจะเกิดจากการบาดเจ็บจากภายนอกที่ทำต่อเล็บ แต่ในบางครั้งอาจจะแสดงว่ามีความผิดปกติบางอย่างเกิดขึ้นในร่างกายได้

เล็บนั้นต้องใช้เวลานานถึง 6 เดือนก่อนที่จะงอกกลับมายาวเท่าเดิม ดังนั้นคุณจึงอาจจะมีความผิดปกติที่เล็บซึ่งเกิดจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นหลายเดือนก็ได้

สาเหตุ

การบาดเจ็บหรือทำลายที่เกิดกับเล็บโดยตรงสามารถทำให้เล็บลอกได้ การแช่มือในน้ำร้อนขณะที่ล้างจานหรือทำกิจกรรมอื่นๆ ที่ทำให้อยู่ในน้ำนานๆ นั้นก็สามารถทำให้เล็บแห้ง และสามารถทำให้เล็บลอกได้

สาเหตุอื่นๆ ที่อาจทำให้เล็บลอกประกอบด้วย

  • กิจกรรมที่มีการกดทับที่เล็บ
  • การใช้เล็บเป็นอุปกรณ์หรือเครื่องมือมากเกินไป
  • การแกะหรือการลอกาสีทาเล็บ
  • การติดเล็บปลอม

หากคุณไม่สามารถแยกได้ว่าเล็บที่ลอกนั้นเกิดจากปัจจัยภายนอกหรือภายใน วิธีหนึ่งในการแยกความแตกต่างก็คือการเปรียบเทียบเล็บเท้ากับเล็บมือ หากเล็บมือนั้นลอกแต่เล็บเท้าไม่ลอก (หรือในทางกลับกัน) แสดงว่าเกิดจากปัจจัยภายนอก แต่ถ้าหากทั้งเล็บมือและเล็บเท้าลอก แสดงว่าเกิดจากปัจจัยภายในร่างกาย

ปัจจัยภายในนั้นมีได้หลายอย่าง แต่บางครั้งการที่เล็บแห้งและลอกนั้นอาจจะแสดงว่ามีการขาดวิตามิน ซึ่งมักจะเป็นธาตุเหล็ก

เมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์

โดยปกติแล้วเล็บที่ลอกนั้นแทบจะไม่ได้เกิดจากปัจจัยภายในหรือมีสาเหตุที่ต้องรีบไปพบแพทย์ แต่ถ้าหากเล็บมีอาการปวดอย่างรุนแรงหรือเลือดออกร่วมกับการลอก อาจจะต้องไปพบแพทย์

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ในกรณีทั่วไป การรักษาที่บ้านนั้นสามารถช่วยลดโอกาสในการเกิดเล็บลอกได้

การรักษาที่บ้าน

หากคุณสงสัยว่าเล็บนั้นลอกจากการขาดธาตุเหล็ก คุณอาจจะต้องพิจารณาเพิ่มการรับประทานธาตุเหล็ก ตัวอย่างอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงประกอบด้วย

  • มันฝรั่งอบทั้งเปลือก
  • ซีเรียลที่มีการเติมธาตุเหล็ก
  • เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน
  • เลนทิล
  • ผักโขม
  • ถั่วขาว

หรืออาจจะรับประทานธาตุเหล็กเสริมก็ได้เช่นกัน หากรับประทานวิตามินรวม ควรอ่านฉลากให้ละเอียด เพราะไม่ใช่ทุกยี่ห้อที่จะมีธาตุเหล็กรวมอยู่ในวิตามินรวม

มีข้อมูลพบว่าการรับประทานธาตุเหล็กมากกว่า 25 มิลลิกรัมนั้นจะลดความสามารถในการดูดซึมสังกะสีของร่างกาย ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการรับประทานธาตุเหล็กในปริมาณที่มากเกินไป

นอกเหนือจากนั้นยังแนะนำให้รับประทาน biotin เพื่อช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับเล็บ

คุณควรดูแลให้เล็บชุ่มชื้นด้วยการหลีกเลี่ยงการแช่น้ำนานๆ หากคุณต้องทำงานบ้านที่ต้องแช่น้ำ ควรใส่ถุงมือป้องกัน หากคุณทำกิจกรรมทางน้ำเช่นว่ายน้ำ ควรทาโลชั่นหรือครีมที่มือและเล็บ

การป้องกัน

หากเป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยงการติดเล็บปลอม เพราะจะทำให้เล็บลอกและเกิดแผลเป็นกับผิวหนังที่อยู่ใต้เล็บซึ่งจะทำให้เล็บนั้นบางและแตกง่าย

แต่ควรดูแลเล็บด้วยการตะไบเล็บให้มนและไม่มีจุดที่แหลมออกมาทางด้านข้างหรือด้านบน ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้เล็บแตกและแยก การขัดเล็บนั้นอาจจะทำให้เล็บดูสวยแต่ควรขัดไปในทิศทางเดียวกัน หากขัดไปขัดมาจะทำให้เล็บบางและทำให้ลอกได้ง่ายขึ้น

บางครั้งเล็บที่ลอกนั้นก็เกิดจากการที่เล็บแห้ง คุณสามารถป้องกันเล็บได้โดยการทาเล็บสีใส โดยเฉพาะชนิดที่มีเส้นใยไนลอนซึ่งจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับเล็บ อีกวิธีหนึ่งก็คือการหลีกเลี่ยงการใช้เล็บเป็นอุปกรณ์ในการแกะหรือเปิดสิ่งของต่างๆ เพราะจะทำให้เล็บอ่อนแอลงได้ แต่ควรใช้ส่วนของนิ้วแทน


11 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Peeling nails: Causes, treatment, and prevention. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/322321)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป