กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

ผักตบชวา (Water Hyacinth)

ผักตบชวา นอกจากจะนำมาทำผลิตภัณฑ์แปรรูปต่างๆ ปุ๋ยหมัก หรือบำบัดน้ำเสียได้แล้ว ยังสามารถนำมารับประทานเป็นอาหารได้อีกด้วย
เผยแพร่ครั้งแรก 10 มี.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 29 ต.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ผักตบชวา (Water Hyacinth)

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ผักตบชวา วัชพืชทางน้ำที่หลายคนคิดว่าไม่น่ามีประโยชน์ แต่จริงๆแล้วสามารถนำมารับประทาน แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ ของใช้ต่าง ๆ ได้
  • ผักตบชวาสามารถนำไปประกอบอาหารได้ ให้พลังงานแค่ 30 กิโลแคลอรี่ มีสรรพคุณช่วยขับสารพิษและระบายความร้อนออกจากร่างกาย
  • การเพิ่มมูลค่าให้แก่ผักตบชวาสามารถทำได้หลากหลายรูปแบบ เช่น ผลิตภัณฑ์จักสาน กระถางต้นไม้ ตะกร้าใส่ของ
  • ก่อนจะนำผักตบชวามาใช้หรือรับประทาน ต้องเลือกผักตบชวาจากแหล่งน้ำที่สะอาด ล้างผักให้สะอาดก่อนทาน เพราะผักตบชวาเป็นพืชที่ดูดซับสารพิษได้ดี
  • หากคุณเป็นผู้ที่รับประทานอาหารหรือใช้สิ่งของที่ทำจากผักตบชวา แล้วเกิดอาการแพ้ ดูแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้ได้ที่นี่

ในมุมมองของคนทั่วไปต่อผักตบชวาคิดว่า เป็นวัชพืชที่ก่อให้เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมทางน้ำ ไม่มีประโยชน์ แต่ในความเป็นจริงแล้วผักตบชวามีประโยชน์มากมายหลายด้าน เช่น สามารถนำมาทำเป็นสิ่งของเครื่องใช้ หรือยาสมุนไพร เพื่อบรรเทาอาการเจ็บป่วย และรักษาโรคบางชนิดได้

ทำความรู้จักผักตบชวา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ผักตบชวา (Water hyacinth) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Eichornia crassipes (Mart.) Solms เป็นพืชลอยน้ำใบเลี้ยงเดี่ยวที่สามารถขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็วโดยการใช้เมล็ด และการแตกหน่อ 

มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ เข้าใจว่ามีการกำเนิดอยู่ในประเทศบราซิล ก่อนจะถูกนำมาปลูกในไทย สมัยรัชกาลที่ 5 ณ วังสระปทุม ผักตบชวาเจริญเติบโตรวดเร็วจนเต็มสระ เมื่อเกิดน้ำท่วมก็ได้ลอยออกไป และแพร่กระจายตามแหล่งน้ำต่างๆ

ผักตบชวามักมีสีเขียวสด ลอยอยู่บนผิวน้ำ ดอกมีสีม่วง หรือชมพู สามารถนำมาใช้ประกอบอาหารแก่คนและสัตว์ รวมถึงสามารถนำมาใช้เป็นส่วนผสมทางยาเพื่อรักษาโรคได้เช่นกัน

คุณค่าทางโภชนาการของผักตบชวา

ผักตบชวาสด 100 กรัม มีพลังงาน 30 กิโลแคลอรี่ มีความชื้นสูงถึง 92.73% และมีคุณค่าทางโภชนาการดังนี้

สรรพคุณของผักตบชวา

ผักตบชวามีประโยชน์มากมายไม่แพ้พืชผักชนิดอื่น ดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • ให้พลังงานแก่ร่างกาย ในผักตบชวามีสารอาหารที่ดีต่อร่างกาย เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต น้ำ ไขมัน และใยอาหาร ซึ่งจะช่วยเพิ่มพลังงานให้แก่ร่างกาย และยังช่วยฟื้นฟู รวมถึงซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอได้ดีอีกด้วย
  • ขับสารพิษ ผักตบชวามีฤทธิ์ช่วยกระตุ้นการขับสารพิษ และของเสียในร่างกาย ซึ่งเป็นทางหนึ่งที่ช่วยฟื้นฟูสุขภาพให้แข็งแรง และมีอายุที่ยืนยาวมากยิ่งขึ้นด้วย
  • ระบายความร้อนออกจากร่างกาย บางครั้งเมื่อร่างกายมีความร้อนมากเกินไป ก็อาจรู้สึกไม่สบายตัว หรือเกิดอาการร้อนในขึ้นได้ โดยผักตบชวาจะช่วยระบายความร้อนภายในร่างกายได้เป็นอย่างดี และมีฤทธิ์แก้อาการร้อนในได้อีกด้วย

แนวทางการใช้ผักตบชวา

  • ใช้เลี้ยงสัตว์ ผักตบชวาสามารถนำมาใช้ในการเลี้ยงสัตว์ต่างๆ ได้ เช่น วัว ควาย ม้า ไก่ โดยเฉพาะไก่และหมู เพราะมีคุณค่าทางสารอาหารสูง อย่างไรก็ตาม ผักตบชวาที่จะนำมาต้มให้สัตว์กินได้ต้องมาจากแหล่งน้ำที่ปลอดสารพิษ ปลอดยาฆ่าแมลง เพื่อความปลอดภัยของสัตว์
  • ใช้ทำปุ๋ยหมัก ผักตบชวามีโพแทสเซียมสูง ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่มีความสำคัญมากต่อต้นไม้ และพืชผักต่างๆ จึงเหมาะแก่การนำมาทำปุ๋ยหมัก
  • ใช้บำบัดน้ำเสีย ผักตบชวาสามารถเจริญเติบโตได้ดีในน้ำที่มีปริมาณธาตุอาหารและคราบน้ำมันสูง และสามารถดูดซับโลหะสารชนิดต่างๆ ในน้ำได้ดี 
    ผักตบชวาในแหล่งน้ำเสียจะทำหน้าที่กรองสารแขวนลอยที่ปนมากับน้ำ ดูดสารอินทรีย์ และจุลินทรีย์ได้ จึงทำให้น้ำสะอาดขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดจากวัชพืชใต้น้ำได้ดีเช่นกัน
  • ทำเครื่องจักรสาน ผักตบชวาสามารถนำมาแปรรูปเป็นเครื่องจักรสาน เช่น รองเท้า เปลญวน กระเป๋า กระดาษ ซึ่งมีความเหนียวแน่น ทนทาน ใช้ได้นาน
  • ใช้เป็นวัสดุในการเพาะเห็ดฟาง ผักตบชวามีคุณสมบัติเก็บความชื้นได้ดี จึงเหมาะสำหรับนำมาใช้เพาะเห็ดมาก โดยให้นำผักตบชวาที่ตากแห้งมาคลุมดินบริเวณที่เพาะเห็ด จะทำให้เห็ดมีการเติบโตที่ดี และมีความสมบูรณ์
  • ใช้เป็นวัสดุในการทำเยื่อกระดาษ และยังมีการพัฒนาต่อยอดทำเส้นด้าย โดยผสมกับฝ้ายในสัดส่วนที่เหมาะสม

เมนูสุขภาพที่ทำจากผักตบชวา

ผักตบชวานอกจากนำมาใช้ประโยชน์ได้มากมายแล้ว ยังสามารถนำมาทำอาหารรับประทานได้หลากหลายเมนู เช่น นำมาลวกจิ้มกับน้ำพริก โดยนำยอดอ่อน ใบอ่อน และดอกอ่อนของผักตบชวามาลวกในน้ำเดือด จิ้มกับน้ำพริก และรับประทานกับข้าวสวยร้อนๆ หรือจะนำมาทำแกงก็ได้ โดยเมนูที่นำเสนอวันนี้คือ “แกงผักตบชวาใส่ปลาดุก”

แกงผักตบชวาใส่ปลาดุก

วัตถุดิบ

  • ผักตบชวา
  • ปลาดุก
  • น้ำพริกกะปิ
  • เกลือเม็ด

วิธีทำ

  • นำผักตบชวามาเด็ดยอดอ่อนกับก้านออก จากนั้นลอกใบ นำเอาเฉพาะส่วนที่เป็นฟองน้ำมาล้างให้สะอาด พักไว้
  • ล้างปลาดุกให้สะอาด หั่นเป็นชิ้น
  • โขลกน้ำพริกหนุ่มกับกะปิ ใส่เกลือเม็ดลงไป
  • ใส่น้ำลงไปในหม้อ ต้มให้เดือด ตามด้วยใส่พริกแกง รอจนน้ำเดือดอีกครั้ง จึงใส่ปลาดุกลงหม้อ
  • เมื่อปลาดุกเริ่มสุกให้ใส่ผักตบชวา น้ำปลา แล้วเติมพริกแห้ง ต้มต่อไปสักพัก ปิดไฟ บีบมะนาว ยกขึ้นเสิร์ฟได้เลย

ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผักตบชวา

ผักตบชวาสามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์หลายอย่าง เช่น

  • เชื้อเพลิง แม้จะเป็นพืชที่เติบโต และลอยอยู่บนผิวน้ำ แต่ก็สามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ดีทีเดียว วิธีการคือ ให้นำผักตบชวากับแกลบมาบดผสมเข้าด้วยกันแล้วอัดเป็นแท่ง ซึ่งสามารถให้ความร้อนได้ใกล้เคียงกับแกลบอย่างเดียวอัดแท่งมาก แต่มีต้นทุนในการผลิตน้อยกว่า
  • รองเท้าแตะ ผักตบชวานิยมนำมาแปรรูปเป็นรองเท้าแตะแบบสาน เพระมีเส้นใยเหนียวแน่น และทนทานพอสมควร สามารถใช้สวมใส่ได้ดี ทั้งยังให้ความรู้สึกสบายเท้า และดีต่อสุขภาพอีกด้วย
  • กระถางต้นไม้ การนำผักตบชวามาแปรรูปเป็นกระถางต้นไม้ เป็นส่วนหนึ่งในการรักษาสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเวลาจะนำต้นไม้ลงดิน สามารถนำลงปลูกได้เลยทั้งกระถาง ต้นผักตบชวาจะค่อยๆ สลายไปเอง ทั้งยังกลายเป็นปุ๋ยในดินให้แก่ต้นไม้ได้อย่างดีอีกด้วย
  • เสื่อ เสื่อที่สานด้วยผักตบชวาจะมีความเหนียวแน่นและทนทานมากเป็นพิเศษ ใช้งานได้อย่างคุ้มค่า

ข้อควรระวัง

การจะนำผักตบชวามาใช้ ควรเลือกจากแหล่งน้ำสะอาด ไร้สารเคมี เนื่องจากผักตบชวาเป็นพืชที่ดูดซับสารเคมีและโลหะหนักได้ดี และนำมาล้างทำความสะอาดเสียก่อน เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของสารอันตรายหรือเชื้อโรค


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ทิพย์วัลย์ คำเหม็ง, องค์ประกอบของผักตบชวา, วารสารวิทยาศาสตร์ มข.
ศุภสิทธิ์ ศิลปะสิทธิ์, วิทยานิพนธ์ เรื่อง การใช้ผักตบชวาทดแทนโปรตีนในอาหารเลี้ยงปลาแรดบัณฑิตมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล (http://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/scan/3937292.pdf)
ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง, ผักตบชวา (http://clgc.agri.kps.ku.ac.th/resources/weed/eichornia.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)