ยาวาร์ฟาริน คือ ยาต้านการแข็งตัวของเลือด (anticoagulant) ชนิดรับประทานตัวหลักที่ใช้ในประเทศไทย หรือเรียกว่าเป็นยากันเลือดแข็งตัว
การแข็งตัวของเลือด หรือ Clotting เป็นขั้นตอนที่ต้องอาศัยปัจจัยการแข็งตัวของเลือด (clotting factor) หลายตัว ซึ่งปัจจัยการแข็งตัวของเลือด จะถูกสร้างโดยตับและจะทำหน้าที่เป็นตัวควบคุมการไหลของเลือด โดยปัจจัยการแข็งตัวของเลือดจะต้องทำงานร่วมกับเซลล์กระตุ้นการแข็งตัวของเลือด (เซลล์เกล็ดเลือด) เพื่อให้ขั้นตอนการแข็งตัวของเลือดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การสร้างปัจจัยการแข็งตัวของเลือดตับจะต้องใช้วิตามิน เค ในการสร้าง กลไกการออกฤทธิ์ของยาวาร์ฟารินจึงไปขัดขวางการทำงานของเอนไซม์ที่จะนำวิตามินเคมาใช้ ซึ่งจะไปรบกระบวนการแข็งตัวของเลือด ทำให้ใช้ระยะเวลาในการทำให้เลือดแข็งตัวนานยิ่งขึ้น
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
แพทย์ใช้ยาวาร์ฟารินเมื่อใด
กลุ่มยาต้านแข็งตัวของเลือด เช่น ยาวาร์ฟาริน จะถูกสั่งใช้กับผู้ป่วยที่โรคเกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเลือด เช่น
- โรคหลอดเลือดสมอง (stroke)
- ภาวะหัวใจวาย (heart attack)
- ภาวะหลอดเลือดดำอุดตัน (deep vein thrombosis) ส่วนมากจะเป็นบริเวณขา
- โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด (pulmonary embolism)
ยาวาร์ฟารินอาจจะใช้ในการป้องกันความเสี่ยงการเกิดลิ่มเลือดอุดตันแก่ผู้ป่วย ดังเช่นในกลุ่มโรค
- ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ หรือใส่ลิ้นหัวใจเทียม
- ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (atrial fibrillation)
- ภาวะการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ (thrombophilia)
การใช้ยาวาร์ฟาริน
การใช้ยาวาร์ฟารินในขนาดที่ถูกต้องนั้นมีความสำคัญมาก ผู้ป่วยต้องไม้เพิ่มขนาดยาด้วยตนเอง เปลี่ยนเมื่อแพทย์สั่งเท่านั้น ยาวาร์ฟารินปกติจะรับประทานวันละครั้ง ในตอนเย็น ซึ่งการรับประทานยาให้เป็นเวลาเดียวกันทุกวันมีความสำคัญมาก เป้าหมายของการใช้ยาวาร์ฟารินคือการลดระยะเวลาในการแข็งตัวของเลือด ไม่ใช่การหยุดการแข็งตัวของเลือดเสียทีเดียว ดังนั้นขนาดของยาวาร์ฟารินจึงต้องมีการตรวจติดตามเฝ้าระวังและปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมอยู่เสมอ
ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจเลือดเป็นประจำ เพื่อตรวจสอบว่าขนาดยาที่ได้นั้นเหมาะสมหรือไม่ โดยจะตรวจหาค่าไอเอ็นอาร์ หรือ The international normalised ratio (INR) ซึ่งเป้นค่าที่แสดงระยะเวลาในการแข็งตัวของเลือด ยิ่งได้ค่าสูงก็หมายถึงระยะเวลาในการแข็งตัวของเลือดนาน ซึ่งแพทยจะใช้ค่าไอเอ็นอาร์ในการปรับเปลี่ยนขนาดยาให้เหมาะสมแก่ผู้ป่วยแต่ละราย ถึงแม้ในปัจจุบันจะมียาต้านการแข็งตัวของเลือดชนิดใหม่ที่ไม่ต้องตรวจติดตามมากเท่าวาร์ฟาริน เช่น ไรวารอกซาแบน (rivaroxaban)อะพิซาแบน (apixaban) ดาบิกาแทรน (dabigatran) แต่แพทย์ยังนิยมให้ยาวาร์ฟารินแก่ผู้ป่วย
ผู้ที่เริ่มใช้ยาวาร์ฟารินนั้นจะได้สมุดประจำตัว ซึ่งจะบอกถึงการใช้ยา และโรคที่ผู้ป่วยเป็น ควรพกติดตัวไว้เสมอ
การลืมรับประทานยาวาร์ฟาริน
หากผู้ป่วยลืมรับประทานยาวาร์ฟารินในเวลาใกล้เคียงกับเวลาที่รับประทานปกติ ให้รับประทานทันทีที่นึกได้ และรับประทานมื้อต่อไปตามปกติ ห้ามเพิ่มขนาดยาเป็นสองเท่าในมื้อถัดไป แต่ถ้าหากลืมแล้วนึกขึ้นได้ในเวลาที่ใกล้กับมื้อถัดไปแล้ว ไม่ต้องรับประทานเม็ดที่ลืม ให้เริ่มมื้อใหม่ตามปกติ หากลืมเกินกว่านี้ควรไปพบแพทย์
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ผู้ที่ไม่ควรได้รับยาวาร์ฟาริน
ผู้ที่ไม่ควรใช้ยาวาร์ฟาริน มีดังนี้
- ผู้ป่วยตั้งครรภ์ เนื่องจากยาจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเด็กได้
- ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้
- ผู้ที่มีความเสี่ยงเลือดออกในช่องท้อง เช่น ผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหารอักเสบ
- ผู้ที่มีเลือดออกผิดปกติ เช่น โรคฮีโมฟีเลีย หรือ โรคที่เลือดไหลไม่หยุด
ผลข้างเคียงของการใช้ยาวาร์ฟาริน
เลือดออกง่ายคือผลข้างเคียงหลักของยาวาร์ฟาริน เนื่องจากยามีผลให้เลือดแข็งตัวช้าลง ผู้ป่วยจะมีความเสี่ยงของการเกิดเลือดไหลไม่หยุดในช่วงระยะสัปดาห์ต้นๆ ของการเริ่มใช้ยา ผู้ป่วยควรพบแพทย์หากมีอาการดังนี้
- เลือดออกปนกับปัสสาวะหรืออุจจาระ หรือถ่ายดำ
- มีจ้ำ หรือ รอยช้ำรุนแรง
- เลือดออกตามไรฟัน
- อาเจียนหรือไอเป็นเลือด
- เลือดกำเดาไหลไม่หยุด
- ปวดศรีษะอย่างรุนแรง
- ประจำมามากผิดปกติ หรือมีเลือดออกทางอวัยวะเพศ
นอกจากนั้นผู้ป่วยควรระมัดระวังเป็นพิเศษหากต้องโกนหนวด หรือโกนขน การแปรงฟันควรทำอย่างเบามือ สวนเครื่องมือป้องกันหากต้องใช้งานของมีคม หรือเล่นกีฬาที่มีการกระแทก ระวังอุบัติเหตุหรือการลื่นล้มต่างๆ
การมีผื่นคัน หรือผมร่วงเป็นอาการข้างเคียงปกติของยาวาร์ฟาริน หากมีอาการนอกเหนือจากนี้ควรพบแพทย์
ข้อควรระวังในการใช้ยาวาร์ฟารินร่วมกับยาชนิดอื่นและอาหาร
ระหว่างยาวาร์ฟารินกับยาชนิดอื่น
วาร์ฟารินสามารถเกิดอันตรกิริยาได้กับยาหลายชนิด ซึ่งจะบอกไว้ในสมุดประจำตัวของผู้ป่วยแล้ว ซึ่งผู้ป่วยควรสอบถามเภสัชกร หรือแพทย์ก่อนที่จะซื้อยาใช้เองทุกครั้ง
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ผู้ป่วยที่ใช้ยาวาร์ฟาริน ห้ามใช้ยาแอสไพริน (aspirin) หรือยาที่มีส่วนผสมของแอสไพริน และรวมถึงยาไอบูโพรเฟน (ibuprofen) เนื่องจากจะทำให้เลือดไหลไม่หยุดได้ แต่ผู้ป่วยสามารถใช้ยาพาราเซตามอล (paracetamol) ในขนาดที่เหมาะสมได้ ยาสมุนไพรหรืออาหารเสริมต่างๆ ก็สามารถเกิดอันตรกิริยากับยาวาร์ฟารินได้ ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการใช้ หรือปรึกษาเภสัชกรก่อนใช้
ระหว่างยาวาร์ฟารินกับอาหารและเครื่องดื่ม
อาหารบางชนิดอาจเกิดปฏิกิริยากับยาวาร์ฟารินได้หากรับประทานในปริมาณมาก เช่น อาหารที่มีวิตามินเคสูง ดังเช่น ผักใบเขียวจำพวก บลอคโครี่ ผักโขม เป็นต้น น้ำมันที่สะกัดจากผัก ธัญพืช ในเนื้อสัตว์อาจมีวิตามินเคอยู่เล็กน้อย หรือผลิตภัณฑ์จากนม ผู้ป่วยควรจะรับประทานอาหารหรือผักใบเขียวตามปกติ ไม่ควรเพิ่มหรือลดขนาดลง เนื่องจากจะรบกวนการดูดซึมยาได้
เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ การรับประทานในปริมาณมากจะเพิ่มการทำงานของวาร์ฟาริน ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดเลือดไหลไม่หยุดได้ โดยควรรับประทานเบียร์ไม่เกิน 6 กระป๋องต่อสัปดาห์
ข้อมูลที่น่าสนใจอื่นๆ
การผ่าตัดและทันตกรรมในผู้ที่ใช้ยาวาร์ฟาริน
เนื่องจากผู้ที่ใช้ยาวาร์ฟารินจะมีความเสี่ยงเลือดไหลไม่หยุด ดังนั้นอาจต้องลดขนาดยาลง หรือ หยุดใช้ยาก่อนการผ่าตัดประมาณ 2-3 วัน และผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์ให้ทราบว่ากำลังใช้ยาวาร์ฟารินอยู่เสมอ
การฉีดวัคซีนในผู้ที่ใช้ยาวาร์ฟาริน
ผู้สามารถรับการฉัดวัคซีนได้ และการฉีดจะต้องเป็นการฉีดระดับผิวหนัง ไม่ใช่ระดับกล้ามเนื้อ เนื่องจากกะทำให้เกิดรอยช้ำหรือจ้ำเขียวได้
การเล่นกีฬาในผู้ที่ใช้ยาวาร์ฟาริน
ผู้ใช้ยาวาร์ฟารินสามารถเล่นกีฬาได้ แต่ควรหลีกเลี่ยงกีฬาที่ต้องมีการกระแทก เช่น ฟุตบอล รักบี้ คริกเก็ต และ ฮอคกี้ เลี่ยงศิลปะการป้องกันตัว ชกมวย เป็นต้น ผู้ใช้ยาสามารถเล่นกีฬา เช่น วิ่ง ปั่นจรกรยาน เรคเก็ต เป็นต้น แต่ควรสวมอุปกรณืป้องกันให้ครบถ้วน
การเจาะตามร่างกายในผู้ที่ใช้ยาวาร์ฟาริน
ไม่แนะนำให้เจาะส่วนต่างๆ ของร่างกายเนื่องจากจะเลือดออกไม่หยุด และเสี่ยงต่อการติดเชื้อ