ไวรัสซิกา เชื้อที่ก่อให้เกิดโรคไข้ซิกา (Zika Fever) เป็นโรคที่มีอาการคล้ายโรคไข้เลือดออก แต่ไม่ร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต ไม่สามารถติดต่อผ่านคนสู่คน แต่จะติดต่อจากแม่สู่ลูกผ่านอสุจิด้วยการมีเพศสัมพันธ์ หรือผ่านทางน้ำนมและสายรก ซึ่งหลายประเทศทั่วโลกมีการเฝ้าระวังการระบาดอย่างต่อเนื่อง เพราะในขณะนี้ยังไม่มียาและวัคซีนที่รักษาได้ให้หายขาด (Update ก.พ. 2559)
ในช่วงปี 2558 ไวรัสซิกาได้ระบาดอย่างหนักในแถบลาตินอเมริกา โดยเฉพาะบราซิลที่ระบาดรุนแรงจนถึงกับต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ทำให้ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ได้ประกาศให้การระบาดของไวรัสซิกา เป็นภาวะที่ฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ไวรัสซิกา คืออะไร
สำหรับไวรัสซิกา หรือไข้ซิกา เป็นเชื้อไวรัสตระกูลเฟลวิไวรัส (flavivirus) ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับ ไวรัสไข้เหลือง และไวรัสเดงกี ซึ่งเป็นสาเหตุของไข้เลือดออก รวมถึงไวรัสเวสต์ไนล์อันเป็นสาเหตุของไข้สมองอักเสบ และไวรัสไข้สมองอักเสบเจอี ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนมียุงลายเป็นพาหะนำเชื้อทั้งสิ้นซึ่งเชื้อไวรัส
ไวรัสซิกาได้ถูกค้นพบครั้งแรกจากน้ำเหลืองของลิงวอก ที่นำมาจากป่าซิกาในประเทศยูกันดา เพื่อการศึกษาไข้เหลือง ในปี 2490 และมีการพบในคนเมื่อปี 2511 ในประเทศไนจีเรีย สำหรับเชื้อไวรัสซิกาพบได้ในประเทศแถบทวีปแอฟริกา อเมริกา เอเชียใต้ และที่หมู่เกาะในแถบมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก
สาเหตุของโรค
ไข้ซิกาเกิดจากยุงลายที่เป็นพาหะ ซึ่งเคยระบาดหนักในแถวลาตินอเมริกา แต่ด้วยการขนส่งคมนาคม จึงทำให้เกิดเชื้อไวรัสแพ่กระจายในหลายประเทศต่อจากนั้น จนองค์การอนามัยโลกออกมาประกาศว่าการระบาดของไวรัสซิกาให้เป็นภาวะฉุกเฉินทันที ในประเทศไทยเราพบผู้ติดเชื้อจำนวนหนึ่ง แต่ในตอนนี้ยังไม่เกิดการระบาดในวงกว้าง
[caption id="" align="aligncenter" width="680"] ยุงลายเป็นพาหะ[/caption]
ระยะฟักตัวของโรค
โรคซิกาหลังจากเกิดการติดเชื้อจากคนสู่คนแล้ว จะมีระยะฟักตัวประมาณ 4-7 วันขึ้นอยู่กับสภาพบุคคล โดยอาการที่เห็นได้ชัดคือในช่วง 2-5 วันแรก ผู้ป่วยจะมีผื่นคัน มีไข้ มีอาการปวดอย่างรุนแรงตามส่วนต่างๆของร่างกาย วิงเวียนศรีษะ ตาแดง อาจมีอาการของอุจาระร่วง ซึ่งอาการของโรคโดยรวมนั้นคล้ายกับโรคไข้เลือดออก แต่ไม่รุนแรงจนทำให้ผู้ป่วยถึงแก่ชีวิต
ปัญหาของโรคซิกา
ผลกระทบของการเกิดโรค ตรวจพบในรุ่นพันธุกรรมถัดไป ซึ่งก็คือทารกที่จะเกิดมา หากพ่อหรือแม่เป็นพาหะที่ติดเชื้อแล้ว จะส่งผลให้ลูกที่เกิดมามีอาการผิดปกติ เช่น พิการทางสมอง ศรีษะเล็ก เหตุที่ต้องให้ไวรัสซิก้าเป็นโรคร้ายแรง ที่ต้องแจ้งความเมื่อพบ ก็เพราะว่าโรคนี้ยังไม่มีทางรักษา และส่งผลต่อระบบพันธุกรรมของมนุษย์ในอนาคต
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ผลกระทบต่อทารกในครรภ์
- ทำให้ทารกพิการ
- ทำให้ทารกมีศรีษะเล็กกว่าปกติ
การวินิจฉัยโรค
กลุ่มเสี่ยงติดเชื้อไวรัสซิกามากที่สุดคือ "กลุ่มสตรีมีครรภ์" เพราะหากติดเชื้อแล้วจะทำให้เด็กในครรภ์ได้รับอันตรายไปด้วย โดยจะทำให้เด็กมีศีรษะที่เล็กกว่าปกติ เพราะเหตุนี้จึงมีคำเตือนหญิงตั้งครรภ์ไม่ให้เดินทางไปประเทศที่มีการระบาดของโรค หรือหากเป็นคนในประเทศที่มีการระบาดก็ชะลอการตั้งครรภ์ออกไปก่อน ทั้งนี้หากหญิงตั้งครรภ์มีอาการไข้ มีผื่นขึ้น ตาแดง และปวดเมื่อยตามตัว ปวดข้อ ควรรีบพบแพทย์ เพื่อเจาะเลือดตรวจหาเชื้อจะเป็นการดีที่สุด
นอกจากกลุ่มสตรีมีครรภ์แล้ว ยังมีกลุ่มเสี่ยงอีกได้แก่กลุ่มผู้ป่วยที่มีไข้ออกผื่น กลุ่มเด็กทารกที่มีศีรษะลีบ และกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการปลายประสาทอักเสบ ก็ถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงของโรคนี้เช่นกัน
อาการของไวรัสซิกา
ผู้ติดเชื้อ 1 ใน 4 จะแสดงอาการออกมาให้เห็นหลังรับเชื้อ ซึ่งอาการจะคล้ายคลึงกับอาการของไข้เลือดออก ได้แก่ มีผื่นแดงจ้ำขึ้นตามตัว มีไข้ขึ้นสูง เยื่อบุที่ตาอักเสบ ปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อ และรู้สึกไม่สบายเนื้อสบายตัว ปวดหัว แต่สุดท้ายอาการเหล่านี้จะทุเลาลงภายใน 2-7 วัน ถ้าได้รับการรักษาอย่างถูกต้องทันท่วงที ซึ่งไม่รุนแรงเท่ากับโรคไข้เลือดออก แต่หากปล่อยไว้ อาจรุนแรงถึงขั้นระบบการทำงานของสมองผิดปกติได้ สำหรับหญิงกำลังตั้งครรภ์ เชื้อไวรัสอาจทำให้เกิดความผิดปกติกับทารกในครรภ์ คือมีความผิดปกติที่ศีรษะได้
การป้องกันโรค
- ไม่ให้ยุงกัด
- กำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย ที่มักอยู่ในบริเวณน้ำนิ่ง
- หากมีอาการไข้ ผื่นคัน ตาแดง ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจ
- สตรีมีครรภ์ควรหลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังแหล่งที่มีการระบาดของโรค
- ใช้สารไล่แมลงทาบริเวฯร่างกาย เพื่อป้องกันยุงกัด
- การกางมุ้งในขณะนอนหลับ
- หากคู่สามีภรรยาคาดว่าอาจจะติดเชื้อไวรัสซิกกา ก็ให้ชะลอการมีบุตรออกไปก่อน
การรักษาโรค
แม้ว่าไข้ซิกาเป็นโรคที่ไม่รุนแรง แต่ไวรัสซิกา เป็นโรคที่ไม่มีวัคซีนป้องกัน หรือวิธีรักษาที่แน่ชัด จึงทำได้แค่รักษาตามอาการเท่านั้น โดยผู้ป่วยควรพักผ่อนมาก ๆ ดื่มน้ำให้เพียงพอ และทานยาตามแพทย์สั่ง ซึ่งส่วนใหญ่นั้นจะใช้ยาแก้ปวดลดไข้เช่น ยาพาราเซตามอล เป็นยาหลักเพื่อบรรเทาอาการ เพราะอาการส่วนใหญ่ไม่ร้ายแรงถึงขนาดต้องนอนรักษาในโรงพยาบาล นอกจากนี้ควรระมัดระวังไม่ให้เกิดการแทรกซ้อนที่ไม่พึงประสงค์ด้วย
สถาณการณ์การประกาศภาวะฉุกเฉิน
1 ก.พ. 2559 WHO - องค์การอนามัยโลกได้มีการประกาศให้โรคซิกาเป็นโรคที่ต้องเฝ้าระวัง เพื่อมีจุดประสงค์ให้ทุกๆประเทศร่วมมือกันตรวจหาผู้ติดเชื้อ และเร่งมือพัฒนาวัคซีนเพื่อวิจัยโรคให้เร็วขึ้นกว่าเดิม ซึ่งการประกาศภาวะฉุกเฉินในครั้งนี้ จะประกาศเฉพาะใน 23 พื้นที่ที่มีการติดเชื้อไวรัสในวงกว้าง ซึ่งได้แก่
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
[caption id="" align="aligncenter" width="680"] แผนที่การระบาดของโรค[/caption]
- บราซิล
- โคลอมเบีย
- โดมินิกัน
- นิการากัว
- เอลซัลวาดอร์
- เฟรนช์เกียนา
- กัวเตมาลา
- เฮติ
- ฮอนดูรัส
- มาร์ตีนิก
- เม็กซิโก
- ปานามา
- ปารากวัย
- ซูรินาม
- เวเนซุเอลา
- เปอร์โตริโก
- บาร์เบโดส
- โบลิเวีย
- เอกวาดอร์
- กัวเดอลุป
- กายอานา
- หมู่เกาะเวอร์จินของสหรัฐอเมริกา
- และเกาะเซนต์มาร์ติน
http://www.dw.com/en/who-expects-zika-virus-to-spread-through-americas-except-canada-and-chile/a-19002259
Update: 30 สิงหาคม 2559 ในประเทศไทย ตรวจพบผู้ติดเชื้อไวรัสซิกกา ที่ จ.เชียงใหม่จำนวน 7 คนในชุมชนบ้านแม่โจ้ และสามารถควบคุมพื้นที่แพร่กระจายได้แล้ว หน่วยงานต่างๆ พร้อมเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง (แหล่งอ้างอิง)
สำหรับประเทศไทยก็มีการพบผู้ติดเชื้อ แม้จะยังไม่ถึงขั้นระบาด ในปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขประเทศไทย ได้ออกมาประกาศว่า ไวรัสซิกา สามารถพบได้ในทั่วประเทศไทย เนื่องจากประเทศไทยมียุงลายและเป็นเขตร้อนชื้น แต่ยังไม่มีรายงานการติดเชื้อจากแม่สู่ลูกจนทำให้ทารกนั้นเกิดความพิการ แต่เพื่อความไม่ประมาทกระทรวงสาธารณสุขจึงประกาศให้ โรคติดต่อไข้ซิก้า เป็นโรคติดต่อที่ต้องแจ้งความ