เชื้อราที่ช่องคลอด

เผยแพร่ครั้งแรก 28 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 6 นาที
เชื้อราที่ช่องคลอด

ภาวะเชื้อราที่ช่องคลอด (Vaginal thrush) เป็นภาวะติดเชื้อยีสต์ที่ผู้หญิงส่วนมากจะประสบเจอสักช่วงใดช่วงหนึ่งในชีวิต ภาวะนี้สร้างความไม่สบายเนื้อสบายตัวและความกังวลใจ แต่ก็สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาที่หาซื้อได้จากร้านขายยาทั่วไปหรือจัดจ่ายโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

อย่างไรก็ตาม ผู้หญิงบางคนอาจประสบกับการรักษาภาวะเชื้อราที่ช่องคลอดยากกว่าผู้ป่วยรายอื่น หรือบางคนก็จะประสบกับภาวะนี้ซ้ำ ๆ หลายครั้งก็ได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

อาการของเชื้อราที่ช่องคลอด

ภาวะเชื้อราที่ช่องคลอดจะมีอาการทั่วไปดังนี้:

  • คันและเจ็บบริเวณรอบปากช่องคลอด
  • มีของเสียขับออกจากช่องคลอด: มักจะไม่มีกลิ่นและดูคล้ายของเหลวขาวข้น
  • ความเจ็บปวดระหว่างมีเพศสัมพันธ์จนทำให้ผู้ป่วยรู้สึกไม่สบายใจที่จะมีเพศสัมพันธ์
  • เจ็บแปลบขณะปัสสาวะ

บางครั้งผิวหนังรอบช่องคลอดก็มีอาการแดงหรือบวมได้เช่นกัน อีกทั้งยังอาจมีอาการเจ็บปวดบนผิวหนังก็ได้ กระนั้นอาการนี้ก็มักจะเป็นสัญญาณของโรคเริมที่อวัยวะเพศเสียมากกว่า

คุณควรทำอย่างไรหากประสบกับเชื้อราที่ช่องคลอด

หากคุณเคยประสบกับเชื้อราที่ช่องคลอดมาก่อนและคาดว่าคุณกลับมาเป็นซ้ำ คุณสามารถรักษาได้เองด้วยยาที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป

คุณควรไปขอรับคำแนะนำจากแพทย์หรือไปยังคลินิกสุขภาพทางเพศหากว่า:

  • คุณประสบกับเชื้อราเป็นครั้งแรก
  • คุณมีอายุต่ำกว่า 16 หรือมากกว่า 60 ปี
  • คุณกำลังตั้งครรภ์หรือกำลังให้น้ำนมแก่บุตรอยู่
  • คุณมีอาการที่ไม่ปรกติ เช่นมีของเสียมีสีหรือมีกลิ่นแรง หรือมีอาการเจ็บบนผิวหนังรอบช่องคลอด
  • คุณมีเลือดออกจากช่องคลอดอย่างผิดปกติ หรือมีความเจ็บปวดบริเวณท้องน้อย
  • คุณประสบกับภาวะเชื้อราเช่นนี้สองครั้งภายในช่วงเวลาหกเดือนที่ผ่านมา
  • คุณมีการตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาต้านเชื้อราในอดีตไม่ดี หรือไม่ได้ผล
  • คุณหรือคู่นอนของคุณเคยมีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (sexually transmitted infection - STI) และคุณคาดว่าโรคนั้น ๆ กลับมา
  • อาการไม่ดีขึ้นหลังการรักษา 7-14 วัน

ภาวะติดเชื้อราไม่ใช่เป็นภาวะร้ายแรงจนเป็นกังวล แต่แพทย์อาจทำการเก็บตัวอย่างจะช่องคลอดของคุณไปตรวจเพื่อยืนยันการวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะเชื้อราก็ได้

แพทย์ยังสามารถแนะนำวิธีรักษาที่เหมาะสมกับคุณที่สุด และจะทำการจัดจ่ายยาให้ตามความจำเป็น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ภาวะเชื้อราที่ช่องคลอดรักษาอย่างไร?

ภาวะเชื้อราที่ไม่รุนแรงจะสามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาต้านเชื้อราเป็นคอร์สสั้น ๆ ซึ่งอาการต่าง ๆ ควรจะหายไปในที่สุดภายในหนึ่งหรือสองสัปดาห์

การรักษาอาจต้องดำเนินการนานกว่านั้นหากคุณประสบกับภาวะเชื้อราซ้ำ ๆ

ยารักษาเชื้อราหลายตัววางขายตามร้านขายยา ในขณะที่อีกกลุ่มต้องให้แพทย์เป็นผู้จ่ายให้เท่านั้น

ประเภทของยาที่ใช้กันมีดังนี้:

  • ยาเหน็บช่องคลอด: ยาชนิดพิเศษที่ต้องสอดเข้าไปในช่องคลอด
  • ครีมทาภายในช่องคลอด: ครีมที่ต้องใช้ภายในช่องคลอดด้วยการใช้อุปกรณ์เฉพาะ
  • แคปซูล: ยาทานที่ใช้ได้สะดวกกว่ายาเหน็บหรือครีมทาภายในช่องคลอด แต่ก็อาจมีผลข้างเคียงที่น่ารำคาญบ้าง อย่างเช่นอาเจียน หรือปวดท้อง

การรักษาเหล่านี้มีประสิทธิภาพเทียบเท่ากัน ทำให้คุณสามารถเลือกการรักษาได้เองตามความสะดวกใจ กระนั้นยาแคปซูลจะไม่แนะนำกับสตรีมีครรภ์หรือคุณแม่ที่ต้องนมบุตร

คุณยังอาจจะได้ครีมที่ใช้ทาผิวหนังรอบปากช่องคลอดเพื่อบรรเทาอาการคันและเจ็บอีกเช่นกัน หรือคุณก็สามารถใช้สารเพิ่มความชุ่มชื้นแทนก็ได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะเชื้อราที่ช่องคลอดขึ้น?

ภาวะเชื้อราที่ช่องคลอดเกิดจากยีสต์จากกลุ่มของเชื้อราที่เรียกว่า Candida

ผู้หญิงหลายคนจะมีเชื้อรา Candida อยู่ในช่องคลอดโดยที่ไม่มีอาการใด ๆ อยู่แล้ว แต่ภาวะเชื้อราจะเกิดขึ้นหากว่าสมดุลจุลชีพตามธรรมชาติถูกขัดขวางจนทำให้เชื้อรา Candida นี้เพิ่มจำนวนขึ้น

คุณจะมีโอกาสประสบกับภาวะเชื้อรามากขึ้นหากว่า:

  • คุณมีอายุตั้งแต่ยี่สิบและสามสิบปี: ภาวะเชื้อราจะไม่ค่อยพบกับเด็กผู้หญิงที่ยังไม่มีประจำเดือน หรือกลุ่มผู้หญิงช่วงหมดประจำเดือน
  • กำลังตั้งครรภ์
  • มีเพศสัมพันธ์ในขณะที่อารมณ์ยังไม่ถูกปลุกเร้าเต็มที่หรือคุณมีความกังวลว่าจะเจ็บขณะทำกิจกรรม: ช่องคลอดที่แห้งและรัดเกินจะทำให้การมีเพศสัมพันธ์ยิ่งไปกระตุ้นให้เกิดภาวะเชื้อราขึ้น
  • กำลังใช้ยาปฏิชีวนะ
  • เป็นเบาหวานและไม่ได้ควบคุมโรคอยู่
  • มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ: ยกตัวอย่างเช่นจากภาวะ HIV หรือกำลังรับการรักษาเคมีบำบัดอยู่

ภาวะเชื้อราที่ช่องคลอดไม่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มโรค STI แต่ก็สามารถถูกกระตุ้นได้จากการมีเพศสัมพันธ์ โดยเฉพาะหากคุณไม่ผ่อนคลายและมีช่องคลอดที่แห้งเกิน และปัจจัยเหล่านี้ยังทำให้มีความเสี่ยงส่งต่อโรคไปยังคู่นอนอีกด้วย

การป้องกันภาวะเชื้อราที่ช่องคลอด

หากคุณประสบกับภาวะเชื้อราบ่อยครั้ง คุณสามารถ:

  • ใช้น้ำหรือสารเพิ่มความชุ่มชื้นทำความสะอาดผิวหนังแทนสบู่รอบช่องคลอดของตนเอง แต่พยายามเลี่ยงการทำความสะอาดตำแหน่งซ่อนเร้นนั้นมากกว่าหนึ่งครั้งต่อวัน
  • ทาสารเพิ่มความชุ่มชื้นชนิดเหนอะกับผิวหนังรอบช่องคลอดหลาย ๆ ครั้งต่อวันเพื่อปกป้องจุดซ่อนเร้น (แต่ต้องพึงจำไว้ว่าสารเพิ่มความชุ่มชื้นประเภทนี้ทำให้ประสิทธิผลของถุงยางลดลง)
  • เลี่ยงสารก่อความระคายเคืองแก่ผิวหนังต่าง ๆ อย่างเช่นสบู่หอม เจลอาบน้ำ ยาดับกลิ่นช่องคลอด กระดาษชำระเปียก และแป้ง
  • เลี่ยงการสวมใส่กางเกงในหรือกางเกงที่แน่นเกินไป: ผู้หญิงบางคนสังเกตว่าการใช้กางเกงชั้นในผ้าไหมที่ออกแบบมาให้กับผู้ป่วยผิวหนังอักเสบและเชื้อรานั้นได้ผลจริง
  • หากคุณเป็นเบาหวาน พยายามควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ได้
  • ผู้หญิงบางคนใช้วิธีทานโยเกิร์ตหรืออาหารเสริม probiotic เพื่อป้องกันภาวะเชื้อราที่ช่องคลอด กระนั้นก็ยังไม่มีหลักฐานเพียงพอว่าการทำเช่นนี้ได้ผลจริงหรือไม่

การรักษาภาวะเชื้อราที่ช่องคลอด

ภาวะเชื้อราที่ช่องคลอดสามารถรักษาได้ด้วยยาทั้งจากร้านขายยาและจากแพทย์ หากคุณเคยเป็นเชื้อราที่ช่องคลอดมาก่อน และคาดว่าคุณกลับมาเป็นซ้ำ คุณสามารถรักษาได้ด้วยยาที่หาซื้อได้จากร้านขายยาทั่วไป แต่หากยังไม่เคยเป็นมาก่อน และคาดว่าประสบกับภาวะนี้ ควรไปพบแพทย์เพื่อรับคำแนะนำ

การใช้ยารักษาเชื้อรา

ภาวะเชื้อราสามารถรักษาได้ด้วยยาต้านเชื้อราที่อยู่ในรูปของยาเหน็บ ครีมทาช่องคลอด หรือยาแคปซูล

ยาเหล่านี้มีประสิทธิภาพเท่ากัน ทำให้คุณสามารถเลือกได้ว่าคุณสะดวกใช้การรักษาชนิดไหน

1.ยาเหน็บและครีมทาภายในช่องคลอด

ยาเหน็บคือยาที่ต้องสอดเข้าไปในช่องคลอดด้วยการใช้อุปกรณ์พิเศษ ส่วนครีมทาภายในช่องคลอดคือยาที่ใช้ทาภายในช่องคลอดของคุณ

ยาประเภทนี้ที่ใช้รักษาเชื้อรามี:

  • โคลไทรมาโซล: ซื้อได้จากร้านขายยา
  • อีโคนาโซล ไมโคนาโซล และเฟนทิโคนาโซล: จัดจ่ายโดยแพทย์

ยาเหน็บที่วางขาย ณ ร้านขายยามักจะถูกกำหนดให้ใช้รายวันเป็นเวลาหนึ่งถึงหกวัน ส่วนครีมทาภายในช่องคลอดมักถูกกำหนดให้ใช้เพียงครั้งเดียว ผลข้างเคียงของยาประเภทนี้คืออาการแสบร้อนเล็กน้อย ผิวแดงขึ้นเล็กน้อย หรืออาการคันเล็กน้อย

การรักษาเหล่านี้อาจทำให้ถุงยางเสียหายได้ ดังนั้นคุณควรเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ หรือใช้การคุมกำเนิดรูปแบบอื่นระหว่างที่ต้องดำเนินการรักษานี้แทน และต้องเช่นนี้ไปก่อนแม้จะจบการรักษาแล้วห้าวันหลังจากนั้น

2.แคปซูล

หากคุณไม่สะดวกใจจะใช้ยาเหน็บหรือครีมทาช่องคลอด ก็มีตัวเลือกการรักษาด้วยแคปซูลต้านเชื้อราอยู่

ยาประเภทนี้ที่ใช้รักษาเชื้อรามีดังนี้:

  • ฟลูโคนาโซล: ซื้อได้จากร้านขายยา
  • อิทราโคนาโซล: จัดจ่ายโดยแพทย์

แคปซูลที่หาซื้อได้จากร้านขายยามักจะมาเพียงโดสเดี่ยว ๆ

ผลข้างเคียงของยาประเภทนี้มีทั้งคลื่นไส้ ปวดท้อง ท้องร่วง และปวดศีรษะ

3.ครีมทาผิว

หากผิวหนังรอบปากช่องคลอดของคุณมีอาการปวดหรือคัน คุณสามารถใช้ครีมต้านเชื้อราพร้อมกับการรักษาข้างต้นก็ได้

ครีมที่มีส่วนผสมของโคลไทรมาโซลจะหาซื้อได้จากร้านขายยา โดยในกล่องยังรวมทั้งยาเหน็บต้านเชื้อรา ครีมทาภายในช่องคลอด หรือแคปซูลเช่นกัน

ครีมที่ใช้มักกำหนดให้ทาสองหรือสามครั้งภายในต่อวันเป็นเวลาอย่างน้อยสองสัปดาห์ ผลข้างเคียงของยาประเภทนี้มีทั้งระคายเคืองผิวหนัง แสบ และคันผิว

อีกวิธีคือการใช้สารเพิ่มความชุ่มชื้นใกล้กับช่องคลอดเพื่อบรรเทาอาการต่าง ๆ ซึ่งจะส่งผลข้างเคียงน้อยกว่าครีมต้านเชื้อรา

สารเพิ่มความชุ่มชื้นและครีมต้านเชื้อราบนผิวหนังจะทำให้ผลของถุงยางอนามัยอ่อนลง ดังนั้นคุณควรเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ หรือใช้การคุมกำเนิดรูปแบบอื่นระหว่างที่ต้องดำเนินการรักษานี้แทน และต้องเช่นนี้ไปก่อนแม้จะจบการรักษาแล้วห้าวันหลังจากนั้น

คู่นอนและเพศสัมพันธ์

ภาวะเชื้อราที่ช่องคลอดไม่ถูกจัดเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STI) ดังนั้นคู่นอนของคุณจึงไม่จำเป็นต้องรับรู้ ต้องถูกทดสอบ หรือต้องถูกรักษาหากพวกเขาไม่มีอาการอะไรหลังจากมีกิจกรรมทางเพศกับคุณ

อย่างไรก็ตามภาวะนี้ก็มีโอกาสเล็กน้อยที่จะส่งต่อให้คู่นอนได้ ดังนั้นคุณจึงควรเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์หรือใช้วิธีคุมกำเนิดไประหว่างและหลังการรักษาเชื้อรา

การรักษาบางประเภทจะทำให้ผลของถุงยางอนามัยอ่อนลง ดังนั้นคุณควรเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ หรือใช้การคุมกำเนิดรูปแบบอื่นระหว่างที่ต้องดำเนินการรักษานี้แทน และต้องเช่นนี้ไปก่อนแม้จะจบการรักษาแล้วห้าวันหลังจากนั้น

หากเชื้อรากลับมาเรื่อย ๆ

ให้คุณปรึกษาแพทย์ทันทีที่คุณประสบกับภาวะเชื้อราซ้ำ ๆ

แพทย์จะจัดการทดสอบเพื่อยืนยันการวินิจฉัยและตรวจหาสาเหตุที่ทำให้เกิดเชื้อราขึ้น อย่างเช่นเบาหวาน เป็นต้น

แพทย์อาจจัดยาให้คุณใช้เมื่อมีอาการของเชื้อรากลับมา หรือแนะนำให้คุณใช้การรักษาระยะยาวที่อาจกินเวลานานกว่าหกเดือน

หากคุณกำลังตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร

ให้พบแพทย์ทันทีที่คุณกำลังตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตรและประสบกับเชื้อรา

แพทย์อาจแนะนำให้คุณใช้วิธีการรักษาด้วยยาเหน็บหรือครีมทาช่องคลอด เนื่องจากยาแคปซูลจะไม่แนะนำกับคนกลุ่มนี้เนื่องจากยาจะไปก่ออันตรายกับเด็กทารกได้

หากคุณกำลังตั้งครรภ์ พยายามระมัดระวังในขณะที่ใช้อุปกรณ์สอดยาเหน็บหรือทาครีมช่องคลอด เพราะคุณอาจทำให้คอช่องคลอดของคุณบาดเจ็บได้

หากคุณมีอาการคันหรือปวดรอบปากช่องคลอด คุณสามารถใช้ครีมหรือสารเพิ่มความชุ่มชื้นต้านเชื้อราบนผิวหนังรอบช่องคลอดได้แม้ว่าคุณกำลังตั้งครรภ์หรือต้องให้นมบุตรอยู่


14 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Eight home remedies for a yeast infection. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/317935)
Yeast infection (vaginal) - Symptoms and causes. Mayo Clinic. (https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/yeast-infection/symptoms-causes/syc-20378999)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป