กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

7 สาเหตุที่คาดไม่ถึงว่าสามารถทำให้คุณท้องผูก

เผยแพร่ครั้งแรก 5 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
7 สาเหตุที่คาดไม่ถึงว่าสามารถทำให้คุณท้องผูก

"ท้องผูก" ถือเป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพที่พบได้ในคนทุกเพศทุกวัย และมันทำให้ผู้ป่วยทรมานขณะขับถ่ายได้ไม่มากก็น้อย เมื่อพูดถึงสาเหตุของอาการท้องผูก หลายคนอาจคิดว่ามันเกิดจากการทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพหรือมีกากใยน้อย แต่ความจริงแล้วยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้คุณต้องออกแรงขณะอยู่ในห้องน้ำมากขึ้น ซึ่งบางอย่างอาจเป็นสิ่งที่คุณคาดไม่ถึงเลยค่ะ แต่จะมีอะไรบ้างนั้น เราลองมาดูพร้อมกันเลยดีกว่า

1. ความวิตกกังวลและความเครียด

เมื่อคุณเครียด หรือตกอยู่ในสถานการณ์ที่ทำให้อารมณ์แปรปรวน ระบบประสาทของคุณก็จะถูกทำให้เปลี่ยนไป ซึ่งส่งผลกระทบด้านลบต่อการทำงานทั่วไปของร่างกาย สำหรับวิธีแก้ปัญหาในกรณีนี้ไม่ใช่การทานยาถ่าย แต่ให้คุณสร้างสมดุลให้ระบบประสาทโดย

  • ทานอาหารให้หลากหลาย โดยเน้นผักและผลไม้ อาหารที่ไม่ผ่านการแปรรูปและไม่ขัดสี และไขมันชนิดที่ดี เช่น อะโวคาโด ถั่ว เมล็ดพันธุ์ น้ำมันมะกอก น้ำมันมะพร้าว ฯลฯ
  • ทานอาหารเสริมที่ช่วยบำรุงระบบประสาท ตัวอย่างเช่น บริเวอร์ยีสต์ จมูกข้าวสาลี สไปรูลิน่า แมคนีเซียม ฯลฯ
  • ทานพืชที่ช่วยทำให้ผ่อนคลาย เช่น เลมอนบาล์ม Passion flower Lime blossom คาโมมายล์ ฯลฯ
  • ออกกำลังกายและบำบัด โดยใช้วิธีนวด โยคะ ไทจี๊ ยืดเส้นยืดสาย เต้น ฯลฯ

2. ทานโปรตีนไม่เพียงพอ

ปัจจัยข้อนี้ถือเป็นหนึ่งในสิ่งที่หลายคนไม่รู้มากที่สุด การทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูงและโปรตีนต่ำสามารถทำให้ท้องผูก ทั้งนี้มันอาจเป็นปัญหาสำหรับคนทานมังสวิรัติที่ไม่ได้ทานอาหารให้สมดุล อย่างไรก็ตาม การทานอาหารที่มีโปรตีนเป็นจำนวนมากไม่ใช่วิธีแก้ปัญหา แต่ให้คุณมองหาแหล่งของโปรตีนที่มีคุณภาพดี ตัวอย่างเช่น ผัก เมล็ดพันธุ์ อะโวคาโด เมล็ดพันธุ์เต็มเมล็ด ฯลฯ

3. ทานเนื้อมากเกินไป

การทานอาหารจำพวกเนื้อแดงและไขมันชนิดไม่ดีในปริมาณมาก และทานไฟเบอร์ที่ได้จากผักไม่เพียงพอก็สามารถทำให้ท้องผูกได้ นอกจากนี้การทานเนื้อแดงที่มีไขมันสูงเป็นจำนวนมากยังทำให้ลำไส้อักเสบ และอาจทำให้เกิดโรคมะเร็ง ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่คุณควรจำกัดการทานเนื้อแดงให้เหมาะสม

4. ดื่มน้ำน้อย

การดื่มน้ำน้อยถือเป็นปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพที่ร้ายแรง ซึ่งสามารถทำให้เกิดความผิดปกติอย่างการมีอาการท้องผูก อย่างไรก็ดี การที่อุจจาระถูกขับออกมาได้นั้น ร่างกายจำเป็นต้องได้รับน้ำอย่างเพียงพอ หากอุจจาระมีขนาดเล็กและเป็นทรงกลม มันก็มีแนวโน้มว่าสาเหตุหลักคือภาวะขาดน้ำ

5. การมีฮอร์โมนเอสโตรเจนในผู้หญิงสูง

ระดับของฮอร์โมนเอสโตรเจนอาจมีความเกี่ยวข้องกับอาการท้องผูกเรื้อรังในผู้หญิง สำหรับวิธีตรวจสอบว่ามันเกิดจากสาเหตุดังกล่าวคือ ผู้หญิงจะหายท้องผูกก่อนมีประจำเดือน และในระหว่างมีประจำเดือน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำลง อย่างไรก็ตาม หนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดที่ช่วยควบคุมระดับของเอสโตรเจนก็คือ เชสต์เบอร์รี ซึ่งคุณสามารถทานเป็นในรูปแบบของอินฟิวชั่นหรือเม็ดก็ได้ค่ะ

6. ใช้ชีวิตแบบนั่งๆ นอนๆ

การไม่ออกกำลังกาย และใช้เวลาส่วนใหญ่ของวันไปกับการนั่งสามารถส่งผลทางลบต่อการเคลื่อนไหวของลำไส้เป็นอย่างมาก และนั่นก็จะทำให้คุณมีโอกาสท้องผูกได้ในที่สุด ดังนั้นคุณควรออกกำลังกายทุกวัน และเล่นกีฬาที่ต้องออกแรงมากอย่างน้อย 2 ครั้งต่อสัปดาห์ เพื่อให้ร่างกายได้เคลื่อนไหวบ้าง

7. ทานยาระบายและยาบางชนิด

ยาระบาย และยาบางชนิดสามารถทำลายแบคทีเรียชนิดดีในลำไส้ และทำให้การทำงานของลำไส้ผิดแปลกไปจากเดิม ทั้งนี้คุณอาจเปลี่ยนไปใช้ยาชนิดอื่น หรือใช้ตัวช่วยจากวิธีธรรมชาติที่ไม่ทำให้ลำไส้ระคายเคือง และทานอาหารเสริมที่ช่วยเติมแบคทีเรียชนิดดีให้ร่างกาย

การมีอาการท้องผูกสามารถทำให้เราทรมานทั้งกายและใจ และหากปล่อยให้มันเกิดขึ้นเป็นประจำ มันก็จะไม่ดีต่อสุขภาพของลำไส้ เมื่อรู้แล้วว่ามีสาเหตุใดบ้างที่ทำให้คุณมีโอกาสท้องผูก คุณก็ควรหลีกเลี่ยงและทำตามวิธีที่เราแนะนำไปข้างต้นค่ะ

ที่มา : https://steptohealth.com/surpr...


12 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Constipation Symptoms and Causes: What To Do For Severe Constipation. WebMD. (https://www.webmd.com/digestive-disorders/digestive-diseases-constipation)
Constipation: Causes, symptoms, treatments, and more. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/150322)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป