ปรับความเข้าใจ เสื้อชั้นใน ไม่ได้มีประโยชน์อย่างที่คิด

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ปรับความเข้าใจ เสื้อชั้นใน ไม่ได้มีประโยชน์อย่างที่คิด

ความเชื่อที่ว่า เสื้อชั้นในสตรี เป็นสิ่งจำเป็นและมีประโยชน์ต่อสุขภาพทรวงอกนั้นไม่ถูกต้องเสียทีเดียว ซึ่งเสื้อชั้นในสตรีในที่นี้หมายถึงยกทรงทั่วไป ไม่รวมถึงเสื้อชั้นในสำหรับการเล่นกีฬา (sport bras)

ผู้หญิงหลายคนเข้าใจว่าเสื้อชั้นในทั่วไปนี้ช่วยในการพยุงทรวงอกไม่ให้หย่อนยาน บางคนใส่แบบดันทรงหรือขนาดที่เล็กกว่าขนาดตัวเล็กน้อยเพื่อเพิ่มความกระชับ แต่ในความเป็นจริงเสื้อชั้นในไม่ได้มีส่วนช่วยในเรื่องเหล่านี้เลย อีกทั้งผู้ผลิตเสื้อชั้นในก็ไม่เคยกล่าวถึงประโยชน์ของเสื้อชั้นในที่มีต่อด้านสุขภาพเลยด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ความเข้าใจผิด เกี่ยวกับเสื้อชั้นในสตรี

ปัจจุบันผู้หญิงเข้าใจผิดกันมากว่าเสื้อชั้นในสตรีป้องกันไม่ให้ทรวงอกหย่อนยาน ซึ่งไม่เป็นความจริง การสวมใส่เสื้อชั้นในนั้นไม่ได้ช่วยป้องกันการหย่อนยานของหน้าอกเลย เพราะการหย่อนยานของหน้าอกนั้นเป็นไปกดของแรงโน้มถ่วงและเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเมื่อเนื้อเยื่อด้านในหมดอายุไขและมีไขมันเข้ามาทดแทน ไม่มีผู้หญิงคนไหนสามารถหลีกเลี่ยงการหย่อนยานของทรวงอกได้ แม้จะสวมใส่เสื้อชั้นในตลอดเวลาก็ตาม เสื้อชั้นในสตรีจึงไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นเลยในการป้องกันการหย่อนยานของทรวงอก หากแต่จะนำไปสู่ปัญหาสุขภาพเสียมากกว่า

ปัญหาสุขภาพจากการสวมใส่เสื้อชั้นใน

หากเสื้อชั้นในที่คุณใส่ทำให้รู้สึกไม่สบายเนื้อไม่สบายตัว นั่นแปลว่าขนาดของเสื้อชั้นในนั้นเล็กเกินไป การใส่เสื้อชั้นในที่แน่นมากนอกจากจะทำให้รู้สึกอึดอัดแล้ว ยังสามารถก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพมากมาย ดังนี้

1. โรคผิวหนัง

เสื้อชั้นในที่รัดแนนจนเกินไปสามารถทำให้เกิดแผลเป็นหรือตุ่มใสๆ ซึ่งเป็นตุ่มน้ำเหลือง อาการเหล่านี้เกิดจากการกดทับและการเสียดสีของผิวหนังกับโครงเหล็ก ตะขอ หรือขอบเสื้อชั้นในที่รัดแน่นจนเกินไป หากปล่อยไว้นานจะก่อให้เกิดโรคผิวหนังเรื้อรัง

2. ปัญหากล้ามเนื้อปวดเมื่อย

กล้ามเนื้อบริเวณปีกหลังนั้นเชื่อมต่อกับหัวไหล่และคอของเราโดยตรง เมื่อกล้ามเนื้อในบริเวณนี้ถูกรั้งด้วยสายเสื้อชั้นในมากๆ  กล้ามเนื้อจะเกร็งตัวเพื่อลดแรงกดทับ การเกร็งตัวนี้จึงทำให้ไหล่และคอของเรารู้สึกปวดเมื่อยได้ และเมื่อเกิดขึ้นเป็นเวลานานอาจส่งผลกระทับต่อกล้ามเนื้อที่บริเวณหลังได้ด้วย

3. ปัญหาเกี่ยวกับระบบหมุนเวียนเลือด

กล้ามเนื้ออีกบริเวณที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการกดทับของเสื้อชั้นในคือกล้ามเนื้อบริเวณหน้าอก ซึ่งภายใต้กล้ามเนื้อในส่วนนี้นั้นมีเส้นเลือดและเส้นประสาทฝังตัวอยู่มากมาย เมื่อเสื้อชั้นในรัดแน่นจนเกินไปเส้นเลือดเหล่านี้ก็จะถูกกดทับไปด้วย ซึ่งขัดขวางการหมุนเวียนเลือด และอาจทำให้มีอาการหน้ามืดได้ในที่สุด

4. ระบบการหายใจขัดข้อง

การสวมใส่เสื้อชั้นในที่มีขนาดเล็ดกว่าขนาดตัวหรือเสื้อชั้นในที่มีโครงเหล็กนั้นจะทำให้รู้สึกอึดอัดและหายใจไม่สะดวกอย่างสังเกตได้ในทันที เพราะทรวงอกของผู้หญิงนั้นอยู่ในตำแหน่งที่ใกล้กับซี่โครงและปอดมาก การกดทับของเสื้อชั้นในจะจำกัดระยะที่ซี่โครงของเราสามารถเคลื่อนไหวได้ ซึ่งส่งผลให้ปอดของเราถูกจำกัดพื้นที่เพื่อหมุนเวียนอากาศไปด้วย

5. โรคลำไส้แปรปรวน

แรงกดทับจากเสื้อชั้นในนอกจากจะส่งผลกระทบต่อผิวหนังและกล้ามเนื้อแล้ว ยังสามารถส่งผลกระทบต่อลำไส้ได้อีกด้วย ทั้งนี้เนื่องจากลำไส้ของเราอยู่ใกล้กับซี่โครงมาก เสื้อชั้นในที่รัดแน่นมากๆจะทำให้ซี่โครงไปเบียดกับลำไส้และส่งผลให้ระบบย่อยอาหารทำงานผิดปกติได้

ปัญหาสุขภาพเหล่านี้เป็นผลกระทบโดยตรงจากการสวมใส่เสื้อชั้นในที่รัดแน่นจนเกินไป แต่มีปัญหาสุขภาพอีกชนิดหนึ่งที่ยังคงหาข้อสรุปไม่ได้ว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการสวมใส่เสื้อชั้นในหรือไม่ นั่นก็คือ โรคมะเร็งเต้านม ทางการแพทย์ยังหาข้อเกี่ยวโยงที่แน่ชัดไม่ได้ว่าเสื้อชั้นในที่รัดแน่นก่อให้เกิดมะเร็งเต้านมได้อย่างไร แต่งานวิจัยจำนวนไม่น้อยก็มีข้อสรุปว่า ประเทศที่มีวัฒนธรรมไม่สวมเสื้อชั้นในเลยหรือสวมใส่น้อยครั้งมาก มีสถิติของการเกิดโรคมะเร็งเต้านมที่น้อยกว่าประเทศที่ผู้หญิงนิยมใส่เสื้อชั้นใน


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
What Men Should Know About Underwear. Everyday Health. (https://www.everydayhealth.com/mens-health/what-men-should-know-about-underwear.aspx)
Thought Labeling as a Mindfulness Meditation Technique. Verywell Mind. (https://www.verywellmind.com/mindfulness-meditation-technique-labeling-thoughts-3144768)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป