ขนาดเสื้อชั้นในที่ใช่หาได้ยังไง? Finding the Right Bra

เผยแพร่ครั้งแรก 27 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
ขนาดเสื้อชั้นในที่ใช่หาได้ยังไง? Finding the Right Bra

เสื้อชั้นในหรือบราไม่ได้มีหน้าที่ช่วยพยุงรับทรวงอกให้มีความกระชับและช่วยให้หน้าอกของคุณสาวๆ ดูสวยขึ้นเท่านั้น แต่มันยังส่งผลด้านสุขภาพด้วย

เสื้อชั้นในหรือบราไม่ได้มีหน้าที่ช่วยพยุงรับทรวงอกให้มีความกระชับหรือช่วยให้หน้าอกของคุณสาวๆ ดูสวยขึ้น เท่านั้น แต่ยังมีผลต่อสุขภาพด้วย ดังนั้นการสวมใส่เสื้อชั้นในที่มีขนาดเหมาะสมจะช่วยพยุงทรวงอกของคุณสาวๆ ในขณะเล่นกีฬา ทั้งยังช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอาการบาดเจ็บต่อทรวงอกด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การสวมใส่เสื้อชั้นในที่กระชับนั้นสำคัญต่อบุคลิกของคุณสาวๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากพวกเธอมีขนาดหน้าอกที่ใหญ่ การสวมใส่เสื้อชั้นในที่ไม่พอดีอาจทำให้เกิดปัญหาบริเวณหลัง กล้ามเนื้อตึง และอาจทำให้ปวดศีรษะได้ พบว่า 8 ใน 10 ของผู้หญิงสวมใส่ชุดชั้นในที่ไม่พอดีกับสรีระ

เกี่ยวกับสายเสื้อชั้นใน ตะขอ แถบรัดรอบอก และขนาดของคัพ

การหาชุดชั้นในที่เหมาะสมไม่ได้เป็นเรื่องยากเกินไป คุณเพียงต้องรู้ข้อมูลเกี่ยวกับขนาดของบราเท่านั้นเอง ซึ่งขนาดของบรามี 2 แบบ คือ ขนาดรอบอก และขนาดของคัพ

ขนาดรอบอกหรือขนาดของแถบรอบอกเป็นส่วนหนึ่งของเสื้อชั้นในซึ่งพาดผ่านรอบอกของสาวๆ ไปถึงด้านหลังของพวกเธอ ส่วนคัพคือส่วนของถ้วยที่ครอบเต้านมไว้ ซึ่งเสื้อชั้นในจะมีหลากหลายขนาดมากทั้งขนาดของรอบอก (อย่างในอเมริกาจะแสดงเป็นตัวเลขของขนาด เช่น 32 34 36 เป็นต้น) และขนาดของคัพ (ที่แสดงเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษ เช่น คัพAA A B C เป็นต้น)

ดังนั้นจึงจำเป็นมากที่คุณต้องเลือกบราที่พอดีทั้งขนาดรอบอกและขนาดของคัพ เพราะหากสาวๆ ใส่บราที่มีขนาดไม่พอดี แถบรัดรอบอกจะคับแน่นเกินไปและทำให้รู้สึกอึดอัดหรืออาจจะหลวมเกินไปทำให้แถบรัดรอบอกหลุดขึ้นมาถึงเต้านมได้ หากขนาดคัพเล็กเกินไปก็จะไปกดทับเต้านมและทำให้เนื้อเต้านมล้นออกด้านข้าง ส่วนขนาดคัพที่ใหญ่เกินไปก็จะทำให้เต้านมไม่กระชับและหย่อนยานทำให้เมื่อใส่ออกมาแล้วดูไม่สวยเอาซะเลย

การวัดขนาดด้วยตัวเอง

แล้วคุณจะวัดขนาดรอบอกและขนาดคัพของคุณเองได้อย่างไร? มันง่ายมาก! และคุณสามารถทำได้เองที่บ้าน ในห้อง หรือพื้นที่ส่วนตัว อุปกรณ์ที่คุณต้องมีก็คือ “สายวัด”

ผู้เชี่ยวชาญด้านการเลือกขนาดยกทรงแนะนำวิธีการวัดขนาดหน้าอกของตัวเอง 2 วิธี คือ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

1) วัดขนาดรอบอกบริเวณใต้เต้านม ซึ่งสายวัดจะต้องราบไปกับลำตัวซึ่งจะต้องไม่รัดให้ตึงแน่นเกินไปและไม่ปล่อยให้หลวมเกินไป จดบันทึกขนาดของรอบอกไว้และบวกด้วยจำนวน 5 นิ้ว จึงจะเป็นขนาดรอบอกเสื้อชั้นในที่แท้จริงของคุณ

นอกจากนี้คุณยังสามารถวัดขนาดรอบอกได้ด้วยการใช้สายวัดวัดบริเวณรอบหน้าอกเลย วิธีวัดเช่นนี้ง่ายกว่ามากเพราะคุณไม่ต้องบวกจำนวนใดๆ เข้าไป แต่บางคนพบว่าการวัดเช่นนี้ให้ขนาดที่แม่นยำน้อยกว่าวิธีข้างต้น

หากขนาดที่วัดได้ออกมาเป็นเลขคี่ เช่น 31 หรือ 33 คุณจะต้องเลือกขนาดบราในไซส์ที่ลดลงมาคือ 30 และ 32 เป็นต้น เนื่องจากบราจะยืดออกเองเมื่อใช้ไปสักระยะและบราส่วนใหญ่จะมีตะขอด้านหลังให้สามารถปรับขนาดได้

2) การวัดขนาดคัพ มีลักษณะเช่นเดียวกับการวัดขนาดรอบอก เมื่อคุณวัดขนาดคัพต้องแน่ใจว่าสายวัดไม่หย่อนเกินไปหรือคับแน่นเกินไป หากคุณมีเสื้อชั้นในที่ไม่มีฟองน้ำที่มีขนาดพอดีกับคุณอยู่แล้ว แนะนำให้สวมมันในขณะวัดขนาดคัพด้วย คุณจำเป็นต้องคำนึงถึงชนิดของบราที่คุณสวมในขณะวัดด้วยเพราะ Sport bra อาจทำให้น่าอกแบนได้ซึ่งจะทำให้ขนาดคัพเล็กเกินไป แต่การสวมบราที่มีฟองน้ำหรือโครงเสริมจะให้ผลในทางตรงกันข้ามคือขนาดคัพจะใหญ่เกินไป

คราวนี้ลองใช้สายวัดวัดรอบอก ซึ่งคุณจำเป็นต้องวัดบริเวณรอบทรวงอกจริงๆ จากนั้นจดตัวเลขของขนาดไว้ แล้วจึงหักลบกับตัวเลขที่ได้จากการวัดรอบใต้ทรวงอก หากตัวเลขแตกต่างกันน้อยกว่า 1 นิ้วขนาดคัพจะเป็น AA - ต่างกัน 1 นิ้วขนาดคัพจะเป็น A – ต่างกัน 2 นิ้วจะเป็นคัพ B – ต่างกัน 3 นิ้วจะเป็นคัพ C เป็นต้น

จากนั้นนำขนาดที่วัดได้ไปเลือกซื้อเสื้อชั้นในได้เลย แต่หากลองสวมบราที่จะซื้อแล้วมันก็ยังไม่พอดี จะทำอย่างไรล่ะ?

เนื่องจากยกทรงแต่ละแบบและยี่ห้ออาจทำออกมาให้มีความพอดีที่แตกต่างกันไป ดังนั้นคุณอาจต้องหยิบหลายๆ แบบและยี่ห้อเข้าไปลองในห้องลองเสื้อผ้า ลองจนกว่าจะหาไซส์ที่พอดีจริงๆ และอย่าลืมลองขยับตะขอด้วย แต่หากเป็นบราแบบเวลโกเทปหรือเทปตีนตุ๊กแก คุณควรลองขยับเข้าออกจนกว่าจะรู้สึกพอดีที่สุด ซึ่งบราที่ดีและมีขนาดพอดีส่วนขอบล่างของแถบรัดรอบอกจะต้องอยู่บริเวณกลางลำตัวและสายเสื้อในต้องลากผ่านสะบักไหล่ลงมา เพื่อการพยุงเต้านมอย่างมีประสิทธิภาพ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

สายเสื้อชั้นในจะช่วยให้คุณสามารถปรับระดับความกระชับของคัพและการพยุงเต้าได้ หากสายชั้นในถูกปรับให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม บราจะยกทรวงอกทำให้คุณรู้สึกสบายและหลังคุณจะตั้งตรง แต่หากหลังของคุณถูกดึงให้ตึงไปด้านหลังเกินไปนั่นหมายความว่าคุณอาจปรับสายชั้นในให้กระชับเกินไป แนะนำให้สอดมือไปใต้สายซึ่งจะต้องสอดได้หนึ่งนิ้วเพราะหากสอดนิ้วมือไม่ได้เลยนั่นแปลว่าคุณปรับมันแน่นเกินไป โดยปกติแล้วหญิงที่มีรูปร่างเล็กจะต้องปรับสายชั้นในให้สั้นลง ส่วนหญิงที่มีรูปร่างสูงจะปรับสายชั้นในให้ยาวขึ้น แต่หากคุณได้ปรับสายชั้นในให้หย่อนลงสุดแล้วและยังพบว่ามันยังคับแน่นมากนั่นอาจหมายความว่าขนาดคัพนั้นเล็กเกินไปสำหรับคุณ

ขนาดคัพอาจมีขนาดเล็กเกินไปหากคุณสังเกตว่ามีเนื้อเต้านมเกินออกมาด้านข้าง ด้านบน หรือส่วนล่างของเสื้อชั้นใน และหากสังเกตพบว่าคัพชั้นในย่นหรือมีช่องว่างระหวางเต้านมและชั้นในนั่นหมายความว่าขนาดคัพใหญ่เกินไปนั่นเอง

เสื้อชั้นใน – ตัวช่วยพยุงทรวงอก นอกจากความพอดีแล้ว ยังมีอีกหลายสิ่งที่คุณควรคำนึงถึงเมื่อเลือกซื้อชุดชั้นใน

ขนาดของเต้านมที่อาจเพิ่มขึ้นได้ หน้าอกของเด็กสาวอาจมีขนาดเพิ่มขึ้นและอาจเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วซึ่งคุณอาจต้องเปลี่ยนขนาดบราอยู่บ่อยครั้งจนกว่าขนาดของเต้านมจะโตเต็มที่ ดังนั้นแนะนำว่าไม่ควรซื้อบราจำนวนมากเพราะคุณจะต้องคอยเช็คขนาดและเปลี่ยนไซส์บราอยู่เสมอ

เนื่องการเจริญเติบโตของทรวงอกอาจทำให้เด็กสาวรู้สึกอ่อนไหวได้ ดังนั้นคุณจำเป็นต้องเลือกบราที่มีรูปแบบและเนื้อผ้าที่เหมาะกับผิวคุณมากที่สุด ยกตัวอย่างเช่น บางคนชอบชั้นในแบบไร้รอยต่อหรือตะเข็บเพราะจะไม่ทำให้หัวนมระคายเคือง ในขณะที่บางคนเลือกยกทรงที่สามารถรองรับเต้านมให้กระชับได้เพื่อลดอาการปวดเมื่อหน้าอกขยายใหญ่ขึ้น

รอบเดือนมีการเปลี่ยนแปลง เด็กสาวหลายคนมีขนาดและรูปร่างของหน้าอกที่เปลี่ยนไปในขณะมีประจำเดือน ดังนั้นพวกเธอจึงสวมชั้นในที่มีรูปแบบต่างไปในช่วงเวลานั้นของเดือน

ขนาดหน้าอกที่แตกต่างกัน เด็กสาวส่วนใหญ่มีขนาดหน้าอกที่ขยายใหญ่ขึ้นแตกต่างกันในแต่ละช่วงเวลา และหลายคนพบว่าตนเองมีขนาดเต้านมไม่เท่ากัน จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมผู้ผลิตชุดชั้นในจึงออกแบบผลิตภัณฑ์ที่สามารถปรับให้เหมาะสมกับผู้ใส่ในแต่ละช่วงเวลา ลองปรับสายเสื้อชั้นในให้เหมาะกับคุณอาจช่วยให้คุณรู้สึกสบายมากขึ้น

สาวๆ บางคนใช้เทคนิคในการเลือกซื้อชุดชั้นในแบบมีฟองน้ำที่สามารถถอดออกได้ สำหรับผู้ที่มีหน้าอกใหญ่เมื่อซื้อบราประเภทนี้แนะนำให้ดึงฟองน้ำออกก่อนลอง เสื้อชั้นในดันทรงแบบนี้มักจะมาพร้อมกับฟองน้ำที่สามารถถอดออกได้ซึ่งอยู่บริเวณคัพใต้เต้านม

ตะขอ สายเสื้อชั้นใน และสิ่งที่อาจเป็นอันตรายที่มากับชุดชั้นใน ก่อนซื้อชุดชั้นในให้ลองจินตนาการว่าคุณสามารถใส่ตัวที่เลือกได้ทั้งวันหรือไม่ หากคุณเลือกบราแบบตะขอหน้าและมันหลุดง่าย คุณอาจเจอกับเหตุการณ์น่าอายต่อหน้าเพื่อนๆ ได้หากอยู่ๆ มันเกิดหลุดขึ้นมา และสายเสื้อชั้นในอาจไม่ได้มีปัญหาอะไรตอนคุณลองก่อนตัดสินใจซื้อซึ่งมันพอดีและอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมตรงไหล่และไหปลาร้า แต่มันจะเป็นอย่างไรตอนคุณสะพายเป้ล่ะ?

คุณสามารถทดสอบว่าบรานั้นหลวมเกินไปหรือไม่โดยการยกแขนทั้งสองข้างขึ้นและลงด้านข้างสัก 4-5 ครั้ง หากขอบล่างของยกทรงเลื่อนขึ้นมาถึงเต้านมนั่นหมายความว่ามันหลวมไปสำหรับคุณ และหากคุณกำลังมองหา sport bra แนะนำให้ลองกระโดดขึ้นลงในขณะลองด้วยเพื่อดูว่ามันกระชับทรวงอกดีหรือไม่

คุณอาจต้องการลองเสื้อชั้นในที่คิดจะซื้อร่วมกับการใส่เสื้อยืดหรือเสื้อกันหนาว อย่างบราลายดอกกุหลาบสีชมพูอาจดูสวยตอนเลือกซื้อแต่มันอาจทำให้คุณดูเหมือนมี 3 เต้าเมื่อใส่เสื้อยืดทับลงไป นอกจากนี้ ขอให้คำนึงถึงสีของเสื้อชั้นในด้วยและควรเลือกซื้อสีที่ใกล้เคียงกับสีผิวคุณเพื่อไม่ให้เป็นที่น่าสังเกตเกินไปเมื่อสวมเสื้อผ้าสีอ่อน

ไม่ว่าคุณจะมีหน้าอกขนาดเท่าใดหรือรูปร่างลักษณะไหน สิ่งสำคัญที่สุดคือคุณจะต้องเลือกบราที่ใส่แล้วรู้สึกสบาย ดังนั้นคุณจึงต้องลองหลากหลายแบบเพื่อหาแบบที่เหมาะและพอดีกับคุณมากที่สุด สาวๆ บางคนชอบ บราที่ทำจากผ้าคอตตอน ในขณะที่บางคนชอบบราที่ทำจากเนื้อผ้าสังเคราะห์หรือแบบมีโครงดันทรง นอกจากนี้ยังมีบราแบบลดขนาดหน้าอกสำหรับผู้ที่อยากให้หน้าอกดูเล็กลง หรือบราที่มีฟองน้ำเสริมสำหรับผู้ที่ต้องการให้หน้าอกดูอวบอิ่มขึ้น ไม่มีบราอันไหนดีกว่ากัน มันขึ้นอยู่กับว่าแบบไหนที่ดีและเหมาะกับคุณที่สุดเท่านั้นเอง

ที่มาของข้อมูล http://kidshealth.org/en/teens/bra.html


9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Can your bra affect your health?. Patient. (https://patient.info/news-and-features/is-your-bra-harming-your-health)
Breasts and Bras (for Kids). Nemours KidsHealth. (https://kidshealth.org/en/kids/breasts-bras.html)
How I Finally Found a Bra That Fits. Healthline. (https://www.healthline.com/health/a-bra-that-fits)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป