การรัดหน้าอก (Chest Blinding)

การรัดหน้าอกในผู้ชายข้ามเพศ หรือผู้ที่ไม่มีกรอบทางเพศ อาจทำให้เกิดความเสี่ยงในทางลบต่อร่างกายได้ โดยเฉพาะผู้ที่วางแผนจะผ่าตัดหน้าอกในอนาคต
เผยแพร่ครั้งแรก 4 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การรัดหน้าอก (Chest Blinding)

การรัดหน้าอก (Chest blinding) เป็นวิธีที่เหล่าผู้ชายข้ามเพศ และผู้ที่มีเพศสภาพเป็นผู้หญิงโดยกำเนิดแต่มีจิตใจเป็นชาย นิยมใช้เพื่อทำให้หน้าอกแบนราบ เพราะสำหรับกลุ่มผู้ชายข้ามเพศ ผู้ที่ไม่มีกรอบทางเพศ (Non-binary) หน้าอกคือจุดที่แสดงอัตลักษณ์ทางเพศที่ชัดเจนมากเกินไปแม้การรัดหน้าอกจะสามารถลดความรู้สึกไม่พอใจในเพศ (Gender Dysphoria) ลงได้ แต่ก็อาจทำให้เกิดผลที่ไม่ดีต่อร่างกายได้เช่นกัน

การรัดหน้าอก ทำได้ด้วยวิธีใดบ้าง?

การรัดหน้าอกทำได้หลายวิธี บางคนใช้วิธีพันผ้าอีลาสติก (ผ้ายืดสำหรับพันกล้ามเนื้อ) แผ่นพลาสติกรัดรอบหน้าอก ขณะที่บางคนก็เลือกใช้เครื่องแต่งกายชนิดพิเศษสำหรับรัดหน้าอกโดยเฉพาะ ซึ่งทุกคนจะมีวิธีรัดหน้าอกที่ต่างกันออกไป มีการศึกษาหนึ่งที่ทำการสำรวจผู้ที่ทำการรัดหน้าอก ได้ผลสรุปว่า พวกเขาจะมีการรัดหน้าอกเป็นเวลา 10 ชั่วโมงต่อวันโดยเฉลี่ย โดยวิธีที่คนส่วนมากใช้คือการใช้สเตย์รัดหน้าอก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ความเสี่ยงและผลข้างเคียงจากการรัดหน้าอก

การรัดหน้าอกเป็นประจำ จะส่งผลต่อผิวหนัง กล้ามเนื้อ และการเคลื่อนไหว หากรัดหน้าอกเป็นเวลานาน และรัดอย่างแน่นหนา อาจทำให้อากาศบริเวณหน้าอกถ่ายเทไม่สะดวก ซึ่งจะทำให้เชื้อราและแบคทีเรียมีการเจริญเติบโตขึ้น นอกจากนี้ยังอาจทำให้ความสามารถในการหายใจลงได้อีกด้วย

มีการศึกษา 2 ชิ้นเกี่ยวกับผู้ที่ใช้วิธีรัดหน้าอก ที่ตีพิมพ์ในปี 2017 และ 2018 โดยการศึกษาทั้งสอง เป็นการศึกษาแบบ Cross-Sectional Studies ที่ทำการสังเกตการณ์ประชากรนั้นๆ ในช่วงเวลาหนึ่ง และทั้งสองการศึกษาได้ใช้ข้อมูลการตอบคำถามออนไลน์จาก 1,800 คน ซึ่งได้ข้อมูลว่า ผู้คนส่วนมาก (89-97%) เคยประสบกับอาการทางลบจากการรัดหน้าอกอย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิต โดยมีผลดังต่อไปนี้

  • 76-78% ของผู้ที่อยู่ในการศึกษานี้รายงานถึงปัญหาเกี่ยวกับผิวหนังหรือเนื้อเยื่อ เช่นอาการกดเจ็บ แผลเป็น บวม คัน และการติดเชื้อ
  • 74-75% ของผู้ที่อยู่ในการศึกษานี้รายงานถึงอาการปวดในหน้าอก หัวไหล่ หลัง หรือท้อง
  • 51-52% ของผู้ที่อยู่ในการศึกษานี้รายงานถึงปัญหาการหายใจ
  • 47-49% ของผู้ที่อยู่ในการศึกษานี้รายงานถึงปัญหาระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ เช่น กล้ามเนื้อลีบ หรือกระดูกซี่โครงร้าว

จากการศึกษาจากปี 2017 พบว่าผู้ที่รัดหน้าอกเกือบ 9 ใน 10 คน ประสบกับผลเสียจากการใช้ที่รัดอย่างน้อย 1 ครั้ง และมี 8 ใน 10 คนที่รู้สึกว่า ควรนำประเด็นการใช้ที่รัดหน้าอกไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ แต่มีเพียง 3 จาก 20 คน (15%) ที่ได้เข้าไปพบแพทย์อย่างจริงจัง

คำแนะนำในการรัดหน้าอก โดยไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่รัดหน้าอกอยู่ ควรปฏิบัติตามคำแนะนำดังต่อไปนี้ เพื่อไม่ให้ส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว

  1. จำกัดระยะเวลาที่รัดหน้าอก ไม่สวมที่รัดนานกว่า 8-12 ชั่วโมง ไม่ควรรัดหน้าอกขณะนอนหลับพักผ่อนในช่วงเวลากลางคืน
  2. เลี่ยงการรัดหน้าอกขณะออกกำลังกาย เพื่อช่วยให้หายใจได้ดีขึ้น และช่วยให้เคลื่อนไหวร่างกายสะดวกขึ้น หากคุณต้องการทำให้หน้าอกแบนราบขณะออกกำลังกาย ควรสวมใส่ชั้นในสำหรับออกกำลังกายแทน เพื่อป้องกันการอับชื้นจากเหงื่อ
  3. สวมใส่ที่รัดหน้าอกขนาดพอดี หากคุณใช้สินค้าสำหรับรัดหน้าอก พยายามใช้ขนาดเหมาะกับร่างกายของคุณ โดยไม่ควรใช้ขนาดที่เล็กเกินไป
  4. ไม่พันหน้าอกด้วยแผ่นพลาสติก เทปกาว หรือผ้าพันแผล เนื่องจากเป็นวัสดุที่อาจทำให้เกิดผลเสียกับร่างกาย เทปกาวสามารถสร้างความเสียหายให้กับผิวหนังได้ ส่วนผ้าพันแผลจะรัดแน่นมากขึ้นตามการเคลื่อนไหวของร่างกาย
  5. ถ้าหากกำลังวางแผนจะผ่าตัดเอาหน้าอกออกในอนาคต ก็ไม่ควรใช้ที่รัดหน้าอกบ่อยๆ  เนื่องจากจะทำให้ความยืดหยุ่นผิวหนังได้รับผลกระทบจนส่งผลต่อการผ่าตัด
  6. หากรู้สึกเจ็บปวดหรือหายใจลำบาก ให้รีบถอดที่รัดหน้าอกออก เพราะอาจหมายถึงการใช้ที่รัดแน่นเกินไปหรือใช้เป็นเวลานานเกินไป

ที่มาของข้อมูล

Jen Bell, Nicole Telfer, Chest binding: tips and tricks for trans men, nonbinary, and genderfluid people (https://helloclue.com/articles/culture/chest-binding-tips-and-tricks-for-trans-men-nonbinary-and-genderfluid), 5 มีนาคม 2019


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Health impact of chest binding among transgender adults: a community-engaged, cross-sectional study. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/27300085)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป