การเข้านอนในขณะที่หิวนั้นส่งผลต่อร่างกายได้หลายแบบแต่มักจะไม่ได้ช่วยให้คุณมีสุขภาพที่ดีหรือสามารถลดน้ำหนักได้แต่อย่างใด

เผยแพร่ครั้งแรก 17 ส.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การเข้านอนในขณะที่หิวนั้นส่งผลต่อร่างกายได้หลายแบบแต่มักจะไม่ได้ช่วยให้คุณมีสุขภาพที่ดีหรือสามารถลดน้ำหนักได้แต่อย่างใด

คุณอาจจะนอนไม่หลับ

การเลือกที่จะเข้านอนโดยไม่รับประทานอาหารเย็นนั้นอาจจะทำให้คุณนอนหลับได้ยากขึ้น และแม้ว่าคุณจะหลับได้ในที่สุดแต่ความหิวนั้นก็ยังจะกระตุ้นสมองทำให้คุณนอนหลับไม่ลึกเพียงพอ ยิ่งไปกว่านั้นการที่นอนไม่หลับยังส่งผลเสียตามมาอีกหลายอย่างเช่นการมีระดับการเผาผลาญภายในร่างกายลดลง อยากอาหารมากขึ้น ภูมิคุ้มกันต่ำลงและมีความเสี่ยงมากขึ้นในการเกิดโรคมะเร็งบางชนิด 

คุณอาจจะมีน้ำหนักเพิ่มได้

หลายๆ คนอาจจะรู้สึกว่าตัวเองทำสำเร็จเวลาที่เข้านอนในขณะที่หิว แต่ในความเป็นจริงแล้ว ยิ่งคุณหิวมากเท่าไหร่ คุณก็จะยิ่งมีการรับประทานมากขึ้นทีหลัง หากคุณรอจนคุณหิวมากๆ แล้วค่อยกิน ระดับน้ำตาลในเลือดของคุณก็จะลดต่ำลงมากจนอาจเกิดผลเสียได้ ยิ่งไปกว่านั้นการเข้านอนในขณะที่หิวจะทำให้คุณตื่นขึ้นมารับประทานอาหารปริมาณมากในตอนเช้าและทำให้ระดับน้ำตาลสูงขึ้นเกินความพอดีและส่งผลต่อระบบเผาผลาญของร่างกายตลอดทั้งวัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

คุณอาจสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ

การที่คุณเฝ้าออกกำลังกายนั้นอาจจะไม่ส่งผลอะไรเลยหากคุณเข้านอนในขณะที่หิว งานวิจัยพบว่าการนอนในขณะที่หิวนั้นจะลดสารอาหารที่จะนำโปรตีนเข้าสู่กล้ามเนื้อและร่างกายจะเริ่มทำการสลายกล้ามเนื้อมาใช้เป็นพลังงานแทน ดังนั้นเพื่อให้คุณได้ประโยชน์จากการออกกำลังกายมากที่สุด ให้รับประทานอาหารเย็นก่อนเข้านอนเป็นเวลาหลายชั่วโมงและดื่มน้ำมากๆ แต่หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารจนอิ่มเกินไป การรับประทานอาหารแต่พอดีจะช่วยให้คุณหลับได้อย่างสบายและให้ร่างกายสามารถทำงานต่างๆ ในขณะที่นอนหลับได้เช่นการซ่อมแซมและเสริมสร้างกล้ามเนื้อเป็นต้น

คุณสามารถควบคุมการกินของคุณได้

การตั้งเวลาในการรับประทานให้เป็นมื้อนั้นจะช่วยลดน้ำหนักได้ หากคุณหิวก่อนเข้านอน คุณก็จะตื่นมารับประทานอาหารในตอนเช้ามาก ดังนั้นหากคุณเลือกรับประทานอาหารเช้าที่มีเส้นใยอาหารและโปรตีนมาก และทำให้ร่างกายเคยชินกับการรับประทานอาหารเป็นเวลา จะทำให้คุณลดการกินขนมคบเคี้ยวระหว่างวันได้

คุณอาจจะมีพลังงานลดลง

คุณอาจจะเคยคิดว่าร่างกายไม่ต้องใช้พลังงานระหว่างนอนหลับ นั่นเป็นความเข้าใจที่ผิด ร่างกายมีการใช้พลังงานตลอด 24 ขั่วโมง ดังนั้นคุณจึงจำเป็นต้องรับประทานอาหารให้เพียงพอต่อการใช้งานของร่างกายแม้ในขณะที่นอนหลับ งานวิจัยหนึ่งพบว่าผู้ชายที่รับประทานโปรตีนปั่น 30 กรัมก่อนเข้านอนนั้นจะมีระดับการใช้พลังงานขณะพักสูงขึ้นในตอนเช้าเมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้รับประทาน ดังนั้นหากคุณเข้านอนในขณะที่หิว ร่างกายที่ขาดพลังงานของคุณก็จะส่งผลต่อคุณตลอดทั้งวันได้

คุณอาจจะมีอารมณ์ฉุนเฉียว

การทำงานในขณะที่หิวมักจะทำให้อารมณ์ของคุณนั้นไม่ดี โดยเฉพาะหากคุณเข้านอนในขณะที่หิว มีงานวิจัยหนึ่งที่พบว่าผู้ที่ไม่ได้รับประทานอาหารนั้นจะมีระดับ serotonin ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ทำหน้าที่ควบคึมพฤติกรรมนั้นจะมีระดับที่ไม่คงที่ซึ่งส่งผลต่อการทำงานของสมองที่ควบคุมอารมณ์โกรธ

คุณอาจจะผอมลง

นักวิจัยพบว่าการรับประทานในตอนดุกนั้นอาจจะทำให้คุณมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นได้ และการนอนหลับในขณะที่อาหารยังไม่ย่อยนั้นก็จะทำให้มีระดับอินซูลินและน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคุณมีการเคลื่อนไหวที่ลดลงในตอนกลางคืน ร่างกายก็จะเปลี่ยนพลังงานส่วนเกินเหล่านี้ให้กลายเป็นไขมันในขณะที่คุณหลับ นักวิจัยบางส่วนแนะนำให้รับประทานอาหารเย็นและอาหารเช้าของวันถัดไปห่างกันอย่างน้อย 12 ชั่วโมง อย่างไรก็ตามคุณควรหลีกเลี่ยงการรับประทานขนมคบเคี้ยวต่างๆ ในระหว่างวัน และให้เลือกขนมที่มีประโยชน์ซึ่งมีโปรตีนและเส้นใยอาหารในปริมาณมากแทนเพื่อหลีกเลี่ยงอาการหิวในช่วงดึก


10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Waking up hungry: Causes and how to stop it. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/324812)
Waking Up Hungry: Causes and What to Do. Healthline. (https://www.healthline.com/health/waking-up-hungry)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป