กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
พญ. คัคนานต์ เทียนชัย แพทย์ทั่วไป
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
พญ. คัคนานต์ เทียนชัย แพทย์ทั่วไป

หูอื้อข้างเดียวกับสาเหตุ การรักษา การป้องกัน และวิธีการดูแลตนเอง

ลักษณะอาการหูอื้อข้างเดียวแบบไหนที่เป็นอันตราย อ่านเลย!
เผยแพร่ครั้งแรก 30 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 29 มี.ค. 2021 ตรวจสอบความถูกต้อง 9 ต.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
หูอื้อข้างเดียวกับสาเหตุ การรักษา การป้องกัน และวิธีการดูแลตนเอง

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • หูอื้อ (Tinnitus) เป็นอาการที่ภายในหูมีเสียงอื้อดัง รู้สึกเหมือนมีแมลงอยู่ด้านใน หรือมีเสียงดังตุบๆ หรือได้ยินเป็นเสียงแหลม จนทำให้การได้ยินเสียงจากภายนอกลดลง สามารถเกิดข้างเดียว หรือสองข้างก็ได้ 
  • หูอื้อมีทั้งแบบเป็นอันตรายและไม่เป็นอันตราย ได้แก่ เสียงดังแบบแหลม เสียงดังแบบได้ยินตามอวัยวะต่างๆ และเสียงดังแบบตุบๆ 
  • สาเหตุของหูอื้อมีมากมาย ที่พบบ่อย เช่น เกิดจากความผิดปกติของหูชั้นนอก ชั้นกลาง และชั้นใน ความผิดปกติภายในสมอง โรคของเส้นเลือด หลอดเลือด และโรคต่างๆ เช่น โลหิตจาง ภูมิแพ้ตนเอง 
  • เสียงดังในหูที่เกิดจากพยาธิสภาพของหูชั้นใน เส้นประสาทหู และระบบประสาทส่วนกลางนั้น มักจะรักษาไม่หายขาด โดยเฉพาะหากเกิดจากประสาทหูเสื่อม
  • การป้องหูอื้อที่ดีที่สุด ได้แก่ หากเป็นหวัดต้องรับรักษาอย่าปล่อยให้เรื้อรัง พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และรักษาสุขภาพให้แข็งแรง (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพได้ที่นี่)

ไม่ว่าใครก็ต้องเคยมีอาการหูอื้อข้างเดียวกันทั้งนั้น ส่วนใหญ่มักจะเกิดอาการนานๆ ครั้ง และก็ยังสามารถรักษาให้หายได้ด้วยตนเอง เช่น ขยับกราม หรือปิดจมูกไล่ลมแรงๆ

แต่ถ้าหากมีอาการหูอื้อแล้วได้ยินเสียงลดลง หรือมีเสียงอยู่ในหูบ่อยๆ นั่นอาจหมายถึงเกิดความผิดปกติภายในหู ก็เป็นได้ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจ รักษา หู คอ จมูก วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 854 บาท ลดสูงสุด 54%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

มาดูกันว่า หูอื้อข้างเดียวเกิดจากอะไร และมีวิธีรักษา หรือวิธีป้องกันดูแลตัวเองอย่างไรบ้าง

หูอื้อ

หูอื้อ (Tinnitus) เป็นอาการที่หูมีอาการเสียงอื้อดังอยู่ในหู รู้สึกเหมือนมีแมลงอยู่ด้านใน หรือมีเสียงดังตุบๆ หรือได้ยินเป็นเสียงแหลม จนทำให้การได้ยินเสียงจากภายนอกลดลง 

มักเกิดขึ้นในขณะที่อยู่ในสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม หรือเป็นโรคอื่นแฝงอยู่ โดยสามารถเกิดข้างเดียว หรือสองข้างก็ได้ ซึ่งมีทั้งแบบเป็นอันตราย และไม่เป็นอันตราย ดังต่อไปนี้

  • เสียงดังแบบแหลม เป็นความผิดปกติของหูชั้นใน หรือเกิดจากสภาพของหูเสื่อมลง สามารถเกิดขึ้นได้ข้างเดียว หรือทั้งสองข้าง ซึ่งเป็นลักษณะที่ไม่เป็นอันตราย แต่ค่อนข้างรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น นอนไม่หลับ เพราะได้ยินตลอดเวลา ซึ่งการนอนไม่หลับจะส่งผลเสียต่อสุขภาพโดยรวม
  • เสียงดังแบบได้ยินตามอวัยวะต่างๆ มีสาเหตุมาจากความผิดปกติของหูชั้นนอก หรือหูชั้นกลางก็ได้ มักเกิดในผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ เนื่องจากมีแรงดันหูไม่ดี หรือหูระบายอากาศทำได้ไม่ดี เช่น อาการปวดหูขณะขึ้นเครื่องบินที่มักเป็นๆ หายๆ แต่หากปวดรุนแรงเป็นระยะเวลานานๆ อาจหมายถึงมีโรคร้ายแฝงอยู่
  • เสียงดังแบบตุบๆ เหมือนมีเสียงชีพจรเต้นดังก้องอยู่ในหู มีสาเหตุมาจากเนื้องอกในหูชั้นนอก ซึ่งถ้าเป็นเนื้องอกสีแดงอาจลุกลามได้เร็ว และต้องรีบรักษา โดยอาการในลักษณะนี้มักจะเป็นอาการของหูอื้อข้างเดียว

สาเหตุของหูอื้อข้างเดียว

หูชั้นนอก เช่น ขี้หูอุดตัน เยื่อแก้วหูทะลุ หูชั้นนอกอักเสบ เนื้องอกของหูชั้นนอก 

หูชั้นกลาง เช่น หูชั้นกลางอักเสบ,น้ำขังอยู่ในหูชั้นกลาง เนื่องจากท่อยูสเตเชี่ยน (ท่อที่เชื่อมต่อระหว่างหูชั้นกลางและโพรงหลังจมูก)ทำงานผิดปกติ โรคหินปูนในหูชั้นกลาง

หูชั้นใน สาเหตุที่พบได้บ่อยสุด คือ ประสาทหูเสื่อมจากอายุ นอกจากนั้นเส้นประสาทหูอาจเสื่อม สาเหตุอาจเกิดจาก 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจ รักษา หู คอ จมูก วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 854 บาท ลดสูงสุด 54%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • การได้รับเสียงที่ดังมากในระยะเวลาสั้นๆ ทำให้เส้นประสาทหูเสื่อมเฉียบพลัน (acoustic trauma) เช่น ได้ยินเสียงปืน เสียงระเบิด เสียงประทัด 
  • การได้รับเสียงที่ดังปานกลางในระยะเวลานาน ๆ ทำให้ประสาทหูเสื่อมแบบค่อยเป็นค่อยไป (noise-induced hearing loss)เช่น อยู่ในโรงงาน หรือยู่ในคอนเสิร์ตที่มีเสียงดังมากๆ 
  • การใช้ยาที่มีพิษต่อประสาทหู (ototoxic drug)เป็นระยะเวลานาน เช่น salicylate, aminoglycoside, quinine, aspirin
  • การบาดเจ็บของกะโหลกศีรษะแล้วมีผลกระทบกระเทือนต่อหูชั้นใน (labyrinthine concussion) 
  • การติดเชื้อของหูชั้นใน (labyrinthitis) เช่น ซิฟิลิส ไวรัสเอดส์ 
  • การผ่าตัดหูแล้วมีการกระทบกระเทือนต่อหูชั้นใน 
  • มีรูรั่วติดต่อระหว่างหูชั้นกลางและหูชั้นใน 
  • เป็นโรคมีเนีย หรือน้ำในหูไม่เท่ากัน

ความผิดปกติภายในสมอง โรคของเส้นเลือด เช่น เส้นเลือดในสมองตีบ เลือดออกในสมอง ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง เนื้องอกในสมอง เช่น เนื้องอกของเส้นประสาทหู และ/หรือ ประสาทการทรงตัว(acoustic neuroma) 

ความผิดปกติของหลอดเลือด เช่น หลอดเลือดแดงมีการเชื่อมต่อที่ผิดปกติกับหลอดเลือดดำ (arteriovenous malformation) 

สาเหตุอื่นๆ เช่น โรคโลหิตจาง โรคแพ้ภูมิตัวเอง โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว โรคเกล็ดเลือดสูงผิดปกติ โรคที่มีระดับยูริกในเลือดสูง โรคไต โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตต่ำ โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง โรคต่างๆ เหล่านี้สามารถทำให้เกิดเสียงดังในหูได้

การวินิจฉัย

การวินิจฉัย จะอาศัยการซักประวัติ และการตรวจอื่นๆ เพื่อหาสาเหตุต่างๆ ที่เป็นไปได้ ดังต่อไปนี้

  • การตรวจหู และบริเวณรอบหู
  • การตรวจการได้ยิน
  • การวัดความดัน ท่านอน ท่านั่ง และท่ายืน
  • การตรวจเลือด เพื่อหาความผิดปกติของเคมีในเลือด
  • การตรวจปัสสาวะ
  • การตรวจคลื่นสมองระดับก้านสมอง
  • การถ่ายภาพรังสี เช่น เอกซเรย์ คอมพิวเตอร์สมองหรือกระดูกหลังหู ตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ฉีดสารรังสีเข้าหลอดเลือด

การรักษา

รักษาตามสาเหตุ ซึ่งแบ่งการรักษาได้เป็น การรักษาด้วยยา และการผ่าตัด 

อย่างไรก็ตาม เสียงดังในหูที่เกิดจากพยาธิสภาพของหูชั้นใน เส้นประสาทหู และระบบประสาทส่วนกลางนั้น มักจะรักษาไม่หายขาด โดยเฉพาะหากเกิดจากประสาทหูเสื่อม ยกเว้นว่าสาเหตุดังกล่าวเป็นสาเหตุที่รักษาได้ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจ รักษา หู คอ จมูก วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 854 บาท ลดสูงสุด 54%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

นอกจากนั้นถ้าเกิดจากประสาทหูเสื่อม ควรหาสาเหตุ หรือปัจจัยที่จะทำให้หูเสื่อมเร็วกว่าผิดปกติ เพื่อหาทางชะลอความเสื่อมนั้นด้วย ในบางรายอาจไม่ทราบสาเหตุ หรือทราบสาเหตุแต่ก็เป็นสาเหตุที่รักษาไม่ได้ อาการอาจหายไปได้เอง หรือจะมีอยู่ตลอดชีวิตก็ได้

การป้องกันหูอื้อข้างเดียว

ควรปรับการใช้ชีวิตประจำวันเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการหูอื้อข้างเดียวด้วยวิธีดังต่อไปนี้

  • เมื่อเป็นโรคหวัดจะต้องรักษาหวัดให้หาย อย่าปล่อยให้เป็นโรคเรื้อรัง
  • รับประทานวิตามินเสริม เช่น วิตามินบี 12 เพื่อบำรุงระบบประสาท และลดความเสี่ยงต่อการเกิดอาการหูอื้อข้างเดียว
  • ควรพักผ่อนให้เพียงพอ 
  • ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม เพื่อเป็นการฟื้นฟูอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกาย

วิธีการดูแลตนเองเมื่อมีอาการหูอื้อข้างเดียว

หากมีอาการหูอื้อข้างเดียวร่วมกับอาการวิงเวียนศีรษะ ทรงตัวไม่อยู่ เป็นไข้ หรือเป็นหวัดแล้วหูอื้อ อาการเหล่านี้ยังเกิดขึ้นบ่อยจนกระทบชีวิตประจำวัน ควรไปพบแพทย์ทันที เพราะหากปล่อยทิ้งไว้อาการหูอื้ออาจรุนแรงขึ้นได้

ระหว่างนั้นผู้ป่วยจะต้องระวังไม่ให้น้ำเข้าหู และหมั่นทำความสะอาดเพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าไปข้างใน

อาการหูอื้อข้างเดียวแม้จะไม่ได้เป็นอาการที่น่ากลัว แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง รวมทั้งดูแลตนเองตามลักษณะอาการที่เกิดขึ้นอย่างทันท่วงที จึงจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะช่วยให้หาย หรือทุเลาจากโรคนี้ได้ 

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
รศ.นพ.ปารยะ อาศนะเสน, ความดันโลหิตสูง และ ปัญหาหูอื้อ เสียงดังในหู และเวียนศีรษะบ้านหมุน (http://www.rcot.org/2016/People/Detail/150), 11 พ.ย. 2553

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)