คำถามน่ารู้เกี่ยวกับโรคเอดส์

เผยแพร่ครั้งแรก 2 ต.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
คำถามน่ารู้เกี่ยวกับโรคเอดส์

โรคเอดส์ คืออะไร   

โรคเอดส์ คือโรคที่เกิดต่อเนื่องมาจากการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV)  

ระยะที่ 1 ระยะแรกเริ่มติดเชื้อจะมีอาการเพียงเล็กน้อย เช่น มีไข้ ปวดหัว เจ็บคอ มีผื่น ปวดตามกล้ามเนื้อและข้อต่อ
ระยะที่ 2 เป็นระยะอาการสงบหรือระยะเรื้อรัง ผู้ติดเชื้อจะไม่แสดงอาการ แต่เชื้อจะพัฒนาต่อไป ใช้ระยะเวลาประมาณ 7-10 ปี
ระยะที่ 3 เป็นระยะของโรคเอดส์เต็มขั้น เป็นระยะที่ภูมิคุ้มกันถูกทำลายจนเสียหายหนัก ทำให้เกิดการติดเชื้อและเจ็บป่วยด้วยโรคต่าง ๆ และเสี่ยงต่อการเสียชีวิต โดยเอดส์มีอาการสำคัญ เช่น มีไข้อยู่ตลอดเวลา เหนื่อยล้า หมดแรง น้ำหนักลด มีเหงื่อไหลตลอดทั้งคืน ท้องร่วงเรื้อรัง มีฝ้าสีขาวหรือแผลบริเวณลิ้นและปาก โดยมีอาการเรื้อรังนานเกินกว่า 3 เดือน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

โรคเอดส์ติดต่อได้อย่างไร

โรคเอดส์ติดต่อได้โดยการรับเลือดหรือสารคัดหลั่ง เช่น น้ำอสุจิ น้ำเมือกในช่องคลอด จากผู้ที่ติดเชื้อโดยวิธีเหล่านี้

  • จากการมีเพศสัมพันธ์ทั้งทางอวัยวะเพศ รูทวาร และปาก  ผู้ที่ติดเชื้อโดยวิธีนี้มีประมาณ 78%
  • การใช้ยาเสพติดชนิดฉีดเข้าหลอดเลือด โดยใช้เข็มฉีดร่วมกับคนอื่น ผู้ที่ติดเชื้อโดยวิธีนี้มีประมาณ 20%
  • ทางการรับเลือดจากผู้อื่นที่มีเชื้อไวรัส การติดเชื้อโดยวิธีนี้มีประมาณ 1.5%
  • ติดต่อจากแม่ที่ติดเชื้อสู่ลูก ซึ่งอาจติดต่อได้ทางเลือดจากแม่สู่ลูกโดยตรงผ่านทางรก หรือจากการที่ทารกกลืนเลือดของแม่ระหว่างการคลอด หรือได้รับเชื้อที่อยู่ในน้ำนมแม่
  • การติดเชื้อของบุคลากรทางการแพทย์จากอุบัติเหตุทางการแพทย์ เช่น ถูกเข็มฉีดยาหรือเข็มเจาะเลือดผู้ป่วยตำนิ้วโดยบังเอิญ โรคเอดส์ไม่สามารถติดต่อ
  • การติดเชื้อเอชไอวีจากน้ำลายหรือน้ำตา มีโอกาสเกิดได้น้อยมากๆ มักเป็นในกรณีที่มีเลือดปนสารคัดหลั่งเหล่านี้ด้วย
  • ยุงไม่ได้เป็นพาหะของโรคเอดส์
  • การจับมือ  การกอด การสัมผัสผิวหนังภายนอกของผู้ติดเชื้อ ไม่ได้ทำให้ติดเชื้อ
  • เชื้อไวรัสที่ปะปนออกมาในเลือด เสมหะที่ออกมาอยู่นอกร่างกายจะมีชีวิตอยู่ได้ไม่เกิน 24 ชั่วโมง และเชื้อจะตายเมื่อถูกน้ำยาฆ่าเชื้อ แอลกอฮอล์ หรือแสงแดด

วิธีการตรวจเอดส์แบบรวดเร็วทำได้อย่างไร

เมื่อมีความเสี่ยงสามารถรับการตรวจได้ทันทีโดยไม่ต้องรอให้มีอาการด้วยวิธี

  • Anti-HIV  เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี (เอดส์)  โดยไม่ต้องรอให้มีอาการ สามารถตรวจพบได้หลังจากรับเชื้อมาแล้ว  2-6 สัปดาห์
  • Nucleic Acid Technology (NAT) สามารถตรวจพบเชื้อได้ภายหลังรับเชื้อมาแล้ว 3-7 วัน                                                                                        

**คนไทยทุกคน ทุกสิทธิ์สามารถไปตรวจ Anti HIV ฟรี  ปีละ 2 ครั้ง ที่โรงพยาบาลภาครัฐทั่วประเทศไทย** 

ทำอย่างไรเมื่อตรวจพบว่าติดเชื้อ

เอดส์สามารถรักษาได้ถึงแม้จะไม่หายขาด การรักษาทำได้โดยการรับยาต้านไวรัส ผู้ป่วยติดเชื้อต้องทานยาตรงเวลาอย่างสม่ำเสมอ ไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง รวมทั้งปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ตนเองรับเชื้อเพิ่มและไม่แพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น


34 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
9 Things Everyone Should Know About HIV. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/things-everyone-should-know-about-hiv-49359)
What Are HIV and AIDS? How You Get It, Tests, Symptoms, and More. WebMD. (https://www.webmd.com/hiv-aids/guide/sexual-health-aids#1)
About HIV/AIDS - HIV Basics. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/hiv/basics/whatishiv.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป