พทป. บุญศิริ คณะภักดิ์ แพทย์แผนไทยประยุกต์
เขียนโดย
พทป. บุญศิริ คณะภักดิ์ แพทย์แผนไทยประยุกต์
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

สูตรวิธีแก้ประจำเดือนมาไม่ปกติ

แนะนำวิธีแก้ประจำเดือนมาไม่ปกติ อาการดูเหมือนธรรมดา...แต่อาจไม่ธรรมดา
เผยแพร่ครั้งแรก 29 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 30 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 17 มิ.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
สูตรวิธีแก้ประจำเดือนมาไม่ปกติ

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ประจำเดือนมาไม่ปกติเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ฮอร์โมนเพศผิดปกติ เกิดการติดเชื้อบริเวณอวัยวะเพศสืบพันธ์ มีก้อนเนื้อ ติ่งเนื้อในโพรงมดลูก หรือมะเร็งปากมดลูก
  • การดูแลตัวเองให้แข็งแรงจะช่วยให้ประจำเดือนมาปกติได้ เช่น ดูแลน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอ
  • ความเครียดเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ จึงไม่ควรเครียดมากเกินไป
  • ไม่ควรซื้อยากลุ่มฮอร์โมนมารับประทานเอง เพราะอาจทำให้ระดับฮอร์โมนผิดปกติจนทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติได้
  • หากประจำเดือนมาไม่ปกติติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ควรตรวจภายในเพื่อหาสาเหตุ และรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ (ดูแพ็กเกจตรวจภายในได้ที่นี่)

ประจำเดือน หรือรอบเดือน หรือที่หลายคนเรียกเลือดนี้ว่า เมนส์ นั้น เป็นสิ่งสำคัญที่บ่งบอกถึงสุขภาพและความสมบูรณ์ของผู้หญิง โดยปกติรอบประจำเดือนจะมีระยะห่างประมาณ 21-35 วัน โดยเฉลี่ยคือ 28 วัน 

แต่หากไม่มาตามช่วง หรือระยะเวลาดังกล่าว ก็อาจเรียกได้ว่าประจำเดือนมาไม่ปกติ เช่น มีระยะห่างระหว่างรอบประจำเดือนไม่สม่ำเสมอ ประจำเดือนมาถี่ ประจำเดือนมามากหรือน้อยเกินไป ขาดประจำเดือน หรืออาจพบหลายลักษณะร่วมกัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ประจำเดือนมาไม่ปกติเกิดได้จาก 2 สาเหตุ ได้แก่ 

  1. พยาธิสภาพของอวัยวะ เป็นได้ตั้งแต่การติดเชื้อบริเวณอวัยวะสืบพันธ์ มีก้อนเนื้อ ติ่งเนื้อในโพรงมดลูก ไปจนถึงขึ้นร้ายแรงคือมะเร็ง 
  2. การทำงานของระบบฮอร์โมนเพศ เช่น ในวัยเริ่มมีประจำเดือน หรือวัยทอง หรืออยู่ในภาวะเครียด นอนดึก 

จะเห็นได้ว่า ภาวะประจำเดือนผิดปกตินั้นอาจเกิดมาจากสาเหตุไม่รุนแรงไปจนถึงร้ายแรงมาก ผู้หญิงทุกคนจึงควรสังเกตในทุกรอบเดือน ทั้งระยะห่างในแต่ละรอบ จำนวนวัน สี ปริมาณ และอาการอื่นๆ หากเกิดความผิดปกติจะได้แก้ไขและรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ

8 สูตรวิธีแก้ประจำเดือนมาไม่ปกติ

หากประจำเดือนมาไม่ปกติ อาจลองสูตรวิธีแก้ประจำเดือนมาไม่ปกติ เหล่านี้

  1. ดูแลน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เนื่องจากผู้ที่น้ำหนักตัวน้อยจะมีไขมันน้อย ซึ่งจำเป็นต่อการผลิตฮอร์โมนที่ทำให้ไข่ตก ส่วนผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากเกินมาตรฐาน ก็อาจส่งผลให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนมากเกินไป ทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ
  2. รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ในปริมาณที่เหมาะสม ได้พลังงานเพียงพอต่อความต้องการในแต่ละวัน เพื่อให้ได้สารอาหารครบถ้วน เพราะหากขาดสารอาหารก็สามารถทำให้ประจำเดือนมาผิดปกติได้
  3. ออกกำลังกาย อย่างน้อย 30 นาที สัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง อย่างสม่ำเสมอ ในรูปแบบที่เหมาะสม เช่น โยคะ พิลาทิส เป็นต้น และไม่ควรออกกำลังกายอย่างหักโหม จะส่งผลให้ระดับฮอร์โมนเพศเปลี่ยนแปลง เช่น นักกีฬา นักเพาะกาย มีประจำเดือนมักมาไม่ปกติ ไม่สม่ำเสมอ หรือขาดประจำเดือน
  4. เลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน สูบบุหรี่ และใช้สารเสพติด 
  5. พยายามผ่อนคลายความเครียด เช่น ฟังเพลง นั่งสมาธิ อ่านหนังสือ ทำกิจกรรมตามที่ชื่นชอบ หรือหากเป็นมากควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
  6. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ โดยนอนวันละ 6-8 ชั่วโมง และไม่ควรนอนดึก เนื่องจากการนอนดึกมีผลกระทบต่อการหลั่งฮอร์โมนและการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ
  7. ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง โดยเฉพาะยากลุ่มฮอร์โมน สมุนไพร หรืออาหารเสริม ที่กล่าวอ้างว่ามีสรรพคุณว่าช่วยขับประจำเดือน ทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง ทำให้ช่องคลอดกระชับ เป็นต้น เนื่องจากการรับฮอร์โมนมากๆจะทำให้ร่างกายตอบสนองต่อระดับฮอร์โมนผิดปกติไป และเสียสมดุลฮอร์โมน จนทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติได้
  8. ปรึกษาแพทย์เมื่อมีอาการผิดปกติ ข้อนี้สำคัญที่สุด เนื่องจากประจำเดือนมาไม่ปกติอาจเป็นอาการแสดงของโรครุนแรงแฝงอยู่ได้

ประจำเดือนมาไม่ปกตินั้นอาจเกิดได้ทั้งจากสาเหตุที่เป็นอันตราย และไม่เป็นอันตราย ดังนั้นหากประจำเดือนมาไม่ปกติติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน จึงควรไปตรวจภายในเพื่อหาสาเหตุ และรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ

ดูแพ็กเกจตรวจภายใน เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์, ประจำเดือนมาไม่ปกติ บอกอะไร? (Amenorrhea) (http://www.siphhospital.com/th/news/article/share/827/Amenorrhea)
รศ. นพ. พีรพงศ์ อินทศร, เลือดออกผิดปกติจากช่องคลอด : สัญญาณอันตราย (https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=665), 28 พฤษภาคม 2561.
ชำนาญ เกียรติพีรกุล, Abnormal Menstruation (http://www.med.cmu.ac.th/dept/obgyn/2011/index.php?option=com_content&view=article&id=264:abnormal-menstruation&catid=39&Itemid=360), 13 พฤศจิกายน 2010.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป