กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
พญ.รุจิรา เทียบเทียม
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
พญ.รุจิรา เทียบเทียม

เสียงฟู่ของหัวใจ (Heart Murmur)

เสียงฟู่และเสียงผิดปกติของหัวใจบ่งบอกความผิดปกติของร่างกายได้หลายอย่าง หมั่นสังเกตตนเองและคนที่คุณรักให้ดี
เผยแพร่ครั้งแรก 6 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 12 ก.พ. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
เสียงฟู่ของหัวใจ (Heart Murmur)

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • เสียงหัวใจผิดปกติที่พบบ่อยที่สุดคือ เสียงฟู่ คล้ายเสียงเป่าปาก หรือเสียงเหมือนมีลมผ่านช่องเล็กๆ ระหว่างการเต้นของหัวใจ
  • โดยปกติเสียงฟู่ของหัวใจจะเกิดจากการเคลื่อนไหวของเลือดผ่านหัวใจ การออกกำลังกาย การเจ็บป่วยทั่วไป หรือกำลังตั้งครรภ์ 
  • เสียงฟู่ของหัวใจที่ผิดปกติ มักเกิดจากปัญหาเกี่ยวกับลิ้นหัวใจรั่ว หรือมีรอยรั่วที่ผนังกั้นหัวใจ  
  • เสียงผิดปกติของหัวใจแบบพิเศษที่พบบ่อย เช่น เสียงหัวใจแบบม้าควบ เสียงคลิก และเสียงถู
  • ภาวะผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจเป็นภัยเงียบที่อาจมาเยือนโดยคุณไม่รู้ตัว การดูแลสุขภาพและตรวจสุขภาพเป็นประจำจึงเป็นวิธีป้องกันที่ดีที่สุด (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพและหัวใจได้ที่นี่

เสียงฟู่คือ เสียงหัวใจผิดปกติที่พบบ่อยที่สุด ลักษณะคล้ายเสียงเป่าปาก หรือเสียงเหมือนมีลมผ่านช่องเล็กๆ ระหว่างการเต้นของหัวใจ 

เสียงฟู่ของหัวใจมี 2 ชนิด ได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจหัวใจและหลอดเลือดวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 294 บาท ลดสูงสุด80%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  1. เสียงฟู่ชนิดปกติ (Physiological) พบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ เกิดจากเสียงของการเคลื่อนไหวของเลือดตามปกติผ่านหัวใจ บางกรณีอาจเกิดจากการออกกำลังกาย การเจ็บป่วยทั่วไป หรือกำลังตั้งครรภ์
  2. เสียงฟู่ชนิดผิดปกติ (Abnormal) มักเกิดจากปัญหาเกี่ยวกับลิ้นหัวใจ หรือรอยรั่วของผนังกั้นหัวใจ หากลิ้นไม่ปิดสนิทและมีเลือดไหลย้อนกลับไปด้านหลังเรียกว่า "ลิ้นหัวใจรั่ว (Regurgitation)" แต่หากลิ้นแคบเกินไป หรือแข็งเกินไป เลือดผ่านไม่สะดวกจะเรียกว่า "ลิ้นหัวใจตีบ (Stenosis)" 

ทั้งสองภาวะนี้ต่างเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดเสียงฟู่ได้ หากเกิดในเด็กมักเกิดจากความพิการของหัวใจแต่กำเนิด และอาจจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัด 

ประเภทเสียงผิดปกติของหัวใจ

สามารถแบ่งประเภทเสียงผิดปกติของหัวใจได้ง่ายๆ ดังนี้

  • เสียงฟู่จากลิ้นหัวใจตีบ (Stenosis) สามารถเกิดได้จากทั้ง 4 ลิ้น (Mitral valve, Tricuapid Valve, Pulmonary Valve and Aortic Valve)
  • เสียงฟู่จากลิ้นหัวใจรั่ว (Regurgitation) สามารถเป็นได้ทั้ง 4 ลิ้น (Mitral valve, Tricuapid Valve, Pulmonary Valve and Aortic Valve)
  • เสียงฟู่จากผนังกั้นห้องหัวใจรั่ว (Septal Defect) สามารถเป็นได้ทั้งห้องบน (Atrium) และห้องล่าง (Ventricle)
  • เสียงพิเศษ มีหลายเสียง ที่พบบ่อย ได้แก่ เสียงหัวใจคล้ายม้าควบ (อาจเกิดจากโรคหัวใจในผู้สูงอายุ หรือมีปัญหาที่ห้องซ้ายล่าง) เสียงคลิก  (เป็นการรั่วสั้นๆ ที่เกิดจากลิ้นหัวใจบางลิ้นยาวกว่าปกติ) และเสียงถู (มักเกิดจากการติดเชื้อในเยื่อหุ้มหัวใจ)

อาการของภาวะเสียงหัวใจผิดปกติ

เสียงฟู่ของหัวใจและเสียงผิดปกติของหัวใจแบบอื่น จะตรวจพบได้โดยการใช้หูฟัง Stethoscope ของแพทย์เท่านั้น ผู้ป่วยจึงไม่สามารถสังเกตความผิดปกตินี้ของตัวเองได้ 

เว้นแต่จะสังเกตอาการผิดปกติของตัวเองที่เกิดจากโรคหัวใจ เช่น 

  • อาการเจ็บหน้าอก
  • อาการไอเรื้อรัง
  • หายใจลำบาก
  • เวียนศีรษะ เป็นลม หน้ามืดบ่อยๆ 
  • เหงื่อออกมาก เหนื่อยง่าย แม้ใช้แรงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
  • ผิวมีสีน้ำเงิน หรือม่วง โดยเฉพาะที่ริมฝีปาก หรือปลายนิ้ว
  • น้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลัน หรือตัวบวม ขาบวมกดบุ๋ม 
  • หลอดเลือดดำที่คอขยายตัวเห็นชัด

การประเมินและวิเคราะห์เสียงฟู่และเสียงผิดปกติจากหัวใจ

แพทย์จะฟังเสียงของหัวใจก่อน หากสงสัยว่า เกิดความผิดปกติ แพทย์จะให้ตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Echocardiogram) เพื่อสร้างภาพเคลื่อนไหวของหัวใจ ซึ่งจะเป็นตัวช่วยให้แพทย์วินิจฉัยความผิดปกติได้อย่างแม่นยำมากขึ้น

นอกจากนี้แพทย์ยังอาจซักประวัติบุคคลในครอบครัวว่า เคยมีใครมีความผิดปกตินี้หรือไม่ และอาจซักประวัติความผิดปกติอื่นๆ ที่เกิดขึ้นร่วมกัน เพื่อให้แน่ใจว่า ความผิดปกติที่เกิดขึ้น เกิดจากสาเหตุใด และมีความรุนแรงอยู่ในระดับใด เพื่อจะได้รักษาอย่างถูกต้องต่อไป

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพหัวใจ คลื่นไฟฟ้าหัวใจ และสมรรถภาพหัวใจ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Christine Case-Lo, What causes Heart murmurs? (https://www.healthline.com/symptom/heart-murmurs), February 26, 2018.
วิทยา ศรีดามา ,บรรณาธิการ. ตำราอายุรศาสตร์ 1. กรุงเทพฯ: ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2541.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)