บอระเพ็ด (Heart leaved Moonseed)

ประโยชน์ของบอระเพ็ด สรรพคุณ ตัวอย่างเมนูน่ารับประทานจากบอระเพ็ด และข้อควรระวัง
เผยแพร่ครั้งแรก 6 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 22 ต.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
บอระเพ็ด (Heart leaved Moonseed)

ประโยชน์ของบอระเพ็ด สรรพคุณ ตัวอย่างเมนูน่ารับประทานจากบอระเพ็ด และข้อควรระวัง

บอระเพ็ด เป็นชื่อของสมุนไพรที่มีความโดดเด่นในเรื่องของรสชาติที่ขมจัดจนใครก็ต้องขยาด แต่ในแง่ของสรรพคุณ บอระเพ็ดก็ไม่ได้เป็นรองสมุนไพรชนิดอื่นๆ เลย เนื่องจากสามารถนำมารักษาโรคได้หลายชนิด และยังใช้ทำเป็นยาได้เกือบทุกส่วน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ทำความรู้จักบอระเพ็ด

บอระเพ็ด (Heart leaved Moonseed) มีลักษณะเป็นไม้เลื้อย โดยมีเนื้ออ่อนเถากลม มีปุ่มปมรอบเถา สมุนไพรชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบได้ในทุกภูมิภาคของประเทศไทย ต้นบอระเพ็ดจะเกาะพันไปตามต้นไม้ชนิดอื่นๆ โดยเฉพาะในป่าไม้เบญจพรรณและป่าดงดิบ เมื่อกรีดเถาจะมียางสีเหลืองไหลออกมา มีรสชาติขมจัดจากสารที่ชื่อว่า Picroretin

สรรพคุณของบอระเพ็ด

บอระเพ็ด มีสรรพคุณที่น่าสนใจดังต่อไปนี้

  1. บรรเทาอาการไข้หวัด แก้ร้อนใน นำเถาสดของบอระเพ็ดขนาด 30 กรัมมาตำแล้วคั้นเอาแต่น้ำ นำไปเคี่ยวกับน้ำอีก 3 ส่วนจนเหลือเพียง 1 ส่วน ดื่มก่อนอาหารครั้งละ 2-3 ช้อนโต๊ะ วันละ 2 ครั้งเช้าเย็น จนกว่าจะหาย
  2. บำรุงเส้นผมและหนังศีรษะ บอระเพ็ดที่บดละเอียดแล้ว สามารถนำมาผสมลงในแชมพูหรือครีมนวดผม เพื่อบรรเทาอาการคันศีรษะ และบรรเทาอาการจากโรคชันนะตุ นอกจากนี้ยังช่วยลดปัญหาผมแตกปลาย ตลอดจนผมขาดหลุดร่วงง่าย
  3. รักษาโรคกระเพาะอาหาร ให้ใช้บอระเพ็ด 5 ส่วน มะขามเปียก 7 ส่วน เกลือ 3 ส่วน และน้ำผึ้งพอสมควร นำมาคลุกให้เข้ากัน แล้วนำมารับประทานแก้โรคกระเพาะ 3 มื้อก่อนอาหาร
  4. รักษาฝี หนอง และแผลอักเสบ นำบอระเพ็ดมาโขลกหรือตำให้ละเอียด แล้วใช้พอกบริเวณรอยแผล จะช่วยบรรเทาอาการอักเสบลงได้ อีกทั้งยังช่วงลดอาการฟกช้ำตามจุดต่างๆ ของร่างกายได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
  5. ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด นำเถาสดของบอระเพ็ดที่โตเต็มเต็มที่ไปตากให้แห้ง แล้วนำมาบด ชงกับน้ำร้อนดื่มครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ จะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานควรปรึกษาแพทย์ก่อน
  6. ช่วยลดระดับความดันโลหิต จากการศึกษาพบว่า ในบอระเพ็ดมีสาร Adenosine สาร Higenamine และสาร Salsolinol ที่ช่วยลดระดับความดันโลหิตได้ และยังช่วยเพิ่มระดับไขมันดีในร่างกาย
  7. ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคสมองเสื่อม ในบอระเพ็ดมีสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด ที่มีฤทธิ์ต้านสาร AChE ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคสมองเสื่อมได้

เมนูสุขภาพจากบอระเพ็ด

บอระเพ็ดแช่อิ่ม นำบอระเพ็ด 1 กิโลกรัมมาลอกปอกเปลือกด้านนอก จากนั้นตัดเป็นท่อนแล้วนำไปแช่น้ำเกลือ 1 คืน (อัตราส่วน น้ำ 5 ลิตรต่อเกลือ 1 ลิตร) จากนั้นแกว่งต่อด้วยสารส้ม แล้วเปลี่ยนน้ำเกลือแช่ทุกวันเพื่อให้หายขม เมื่อหายขมแล้วให้ล้างจนสะอาด นำมาแช่น้ำปูนใสอีก 1 คืน จากนั้นนำมาต้มประมาณ 10 นาที แบ่งน้ำตาลทรายมาต้มไม่ต้องหวานมาก จากนั้นนำบอระเพ็ดมาแช่ ให้อุ่นน้ำเชื่อมทุกวัน เติมน้ำตาลทรายทุกวัน โดยเติมจนกว่าจะหมด 1 กก. แช่น้ำเชื่อมไว้จนครบ 15 วัน แล้วจึงนำมารับประทาน

บอระเพ็ดดองน้ำผึ้ง นำบอระเพ็ดมาล้างทำความสะอาด หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ เท่ากับ 1 ข้อนิ้ว แล้วนำไปผึ่งให้แห้ง จากนั้นให้เคี่ยวน้ำผึ้งจนข้น ทิ้งไว้ให้เย็น นำบอระเพ็ดที่เตรียมไว้ใส่ลงในโหลแล้วให้เทน้ำผึ้งที่เคี่ยวลงในโหล ปิดฝาให้สนิท ทิ้งเอาไว้สัก 3-4 เดือน จากนั้นก็สามารถนำมารับประทานได้

บอระเพ็ดเม็ดผสมน้ำผึ้ง นำเถาบอระเพ็ดมาตากแดดให้แห้งสนิท แล้วนำมาบดละเอียดให้เป็นผง จากนั้นนำมาผสมกับน้ำผึ้งแล้วปั้นให้เป็นก้อนกลมๆ ใช้รับประทานเป็นยาบำรุงกำลัง

ข้อควรระวัง

  • ไม่ควรรับประทานติดต่อกันนานจนเกินไป เพราะบอระเพ็ดเป็นพืชที่มีรสขมจัด อาจส่งผลถึงตับและไตได้
  • หากรับประทานไปแล้วพบว่ามีอาการมือเย็น เท้าเย็น มือเท้าไม่มีเรี่ยวแรง ตัวเหลือง ตาเหลือง ควรหยุดรับประทาน แล้วรีบไปพบแพทย์ทันที
  • สตรีมีครรภ์ และสตรีที่อยู่ในช่วงให้นมบุตร ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานบอระเพ็ด
  • ไม่ควรรับประทานบอระเพ็ดติดต่อกันนานเกิน 1 เดือน ควรเว้นระยะในการรับประทานเพื่อให้ร่างกายปรับสภาพ เนื่องจากบอระเพ็ดมีรสขมจัดอาจจะมีผลต่อหัวใจได้ โดยอาจจะรับประทานเดือนเว้นเดือน หรือเว้นระยะ 1-2 สัปดาห์ เป็นอย่างน้อย

8 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Malee Bunjob and Suthida Chaiyaraj, A Review of Hypoglycemic Activity of Thai Plants, Journal of Health Science,Vol 8 No.4 October-December 1999
ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, บอระเพ็ด (http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=64)
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, กลุ่มยาแก้ไข้ลดความร้อน, บอระเพ็ด (http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_09_4.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป