กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ.ธนู โกมลไสย
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.ธนู โกมลไสย

ก้อนที่ขาหนีบ (Groin Lump)

การพบก้อนที่ขาหนีบ ถือว่าไม่ใช่เรื่องปกติ และควรไปพบแพทย์โดยเร็ว เพราะถ้าหากเกิดจากสาเหตุอันตราย เช่น ไส้เลื่อน แล้วไม่รับทำการรักษาอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
เผยแพร่ครั้งแรก 6 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 10 ส.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ก้อนที่ขาหนีบ (Groin Lump)

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ก้อนที่ขาหนีบ (Groin Lump) หมายถึง การพบก้อนใดๆ ที่บริเวณขาหนีบ ก้อนที่เกิดขึ้นจะมีขนาด จำนวน สีสัน และรูปร่างที่แตกต่างกันไป อาจมีอาการเจ็บปวด หรือไม่ก็ได้
  • สาเหตุการเกิดก้อนที่ขาหนีบ ได้แก่ ซีสต์ ต่อมน้ำเหลืองโต ไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบ ภาวะ Saphena varix และการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น เริม หนองในแท้ หนองในเทียม ซิฟิลิส 
  • การรักษาก้อนที่ขาหนีบต้องมีการวินิจฉัยอย่างละเอียดก่อนว่า เกิดจากสาเหตุใด เพื่อจะได้รักษาตามสาเหตุอย่างถูกต้อง เช่น ในกรณีที่เป็นซีสต์ หรือมีภาวะไส้เลื่อน ก็อาจต้องทำการรักษาด้วยการผ่าตัด
  • ส่วนมากแล้วอาการก้อนที่ขาหนีบจะเกิดขึ้นตามธรรมชาติและไม่สามารถป้องกันได้ แต่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เช่น สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ หลีกเลี่ยงการยกของหนัก ไม่เบ่งอุจจาระ ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์
  • ก้อนที่ขาหนีบไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใดก็ตาม ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อทำการรักษา แม้ว่าซีสต์และต่อมน้ำเหลืองโตจะไม่ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนในระยะยาว แต่หากเป็นโรคไส้เลื่อนแล้วไม่ได้รับการรักษาก็อาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิงและผู้ชายทุกวัย

ก้อนที่ขาหนีบ (Groin Lump) หมายถึง การพบก้อนใดๆ ที่บริเวณขาหนีบ ก้อนที่เกิดขึ้นจะมีขนาดและรูปร่างที่แตกต่างกันไป อาจมีอาการเจ็บปวดหรือไม่ก็ได้ 

ลักษณะของก้อนอาจพบเป็นก้อนเดียว หรือพบเป็นกลุ่มก้อนก็ได้ อาจมีสีเดียวกับผิวหนัง หรือมีสีแดง หรือสีม่วง โดยรูปร่างและลักษณะของก้อนที่ขาหนีบ จะขึ้นอยู่กับสาเหตุของการเกิดเป็นส่วนใหญ่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

สาเหตุของการเกิดก้อนที่ขาหนีบ

  • ซีสต์ (Cysts) กรณีที่เกิดจากซีสต์ หรือถุงน้ำ อาจพบก้อนเนื้อที่มีขนาดใหญ่ที่ทำให้เกิดอาการเจ็บปวดและไม่สบายตัว
  • ต่อมน้ำเหลืองโต (Swollen Glands) หากเกิดการติดเชื้อ เช่น ไข้หวัดใหญ่ หรือมีภาวะโมโนนิวคลีโอซิส (Mononucleosis) อาจทำให้เกิดภาวะต่อมน้ำเหลืองโตที่ขาหนีบได้ ซึ่งมักเกิดขึ้นพร้อมๆ กับต่อมน้ำเหลืองโตที่คอ หรือรักแร้ นอกจากนี้ยังพบภาวะต่อมน้ำเหลืองโตได้จากสาเหตุอื่นๆ เช่น มะร็งต่อมน้ำเหลือง
  • ไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบ (Hernia) มักพบก้อนขนาดใหญ่ ตุง นูน และนิ่ม ที่เกิดจากลำไส้ หรือเนื้อเยื่อช่องท้องส่วนล่างหย่อนยาน ทำให้มีไส้เลื่อนออกมาบริเวณหัวเหน่า ภาวะไส้เลื่อนเป็นภาวะที่ต้องเข้ารับการรักษาโดยเร็วหากเกิดภาวะแทรกซ้อน
  • การติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (Sexually transmitted infections (STIs)) โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บางโรคเป็นสาเหตุของการเกิดก้อนที่ขาหนีบได้ เพราะทำให้เกิดการบวมของต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบ เช่น
  • ภาวะ Saphena Varix ถ้าก้อนที่ขาหนีบยุบลงได้เมื่อนอนลง อาจเกิดจากภาวะที่เรียกว่า "Saphena varix" เกิดจากลิ้นในเส้นเลือดดำที่ชื่อ Saphenous Vein ไม่สามารถเปิดเพื่อให้เลือดไหลเวียนตามปกติ ทำให้เกิดเลือดคั่งภายในเส้นเลือดดำนั้น กรณีนี้จะทำให้เกิดก้อนที่มีขนาดใหญ่เท่าลูกกอล์ฟและสังเกตเห็นเป็นสีน้ำเงิน มักพบที่บริเวณขา หรือเท้า

การรักษาก้อนที่ขาหนีบ

เนื่องจากก้อนที่ขาหนีบเกิดได้จากหลายสาเหตุ จึงต้องมีการวินิจฉัยอย่างละเอียดก่อนว่า เกิดจากสาเหตุใด เพื่อจะได้รักษาตามสาเหตุอย่างถูกต้อง 

เช่น ในกรณีที่เป็นซีสต์ หรือมีภาวะไส้เลื่อน ก็อาจต้องทำการรักษาด้วยการผ่าตัด แต่ถ้าหากเกิดจากต่อมน้ำเหลืองโต แพทย์อาจจ่ายยาปฏิชีวนะให้ไปรับประทานเพื่อรักษาอาการติดเชื้อ

การพบก้อนที่ขาหนีบ ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใดก็ตาม ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อทำการรักษา แม้ว่าซีสต์และต่อมน้ำเหลืองโตจะไม่ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนในระยะยาว แต่หาเป็นโรคไส้เลื่อนแล้วไม่ได้รักษา อาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้

หรือถ้าหากเกิดจากการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บางชนิด เช่น ซิฟิลิส อาจทำให้ตาบอด ร่างกายเป็นอัมพาต และสมองเสื่อมได้

การป้องกันการเกิดอาการก้อนที่ขาหนีบ

ส่วนมากแล้วอาการก้อนที่ขาหนีบจะเกิดขึ้นตามธรรมชาติและไม่สามารถป้องกันได้ แต่ก็อาจหลีกเลี่ยงบางปัจจัยได้ดังนี้ 

  • สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ 
  • หลีกเลี่ยงการยกของหนัก 
  • ไม่เบ่งอุจจาระรุนแรง 
  • ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์สุขภาพดี เพื่อลดความเสี่ยงต่อการมีภาวะไส้เลื่อน

หมั่นสังเกตตนเองเสมอ หากมีความผิดปกติเกิดขึ้นกับส่วนต่างๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นมีอาการเจ็บปวด หรืออวัยวะ ผิวหนังส่วนใดมีลักษณะแปลกไป จากนั้นลองสาเหตุที่กระตุ้นให้เกิดอาการเพื่อหลีกเลี่ยง 

หากอาการไม่ดีขึ้นให้ไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรักษาต่อไป

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิงและผู้ชายทุกวัย จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Patient, Lumps in the Groin | When to see a Doctor | Causes & Treatment. (https://patient.info/signs-symptoms/lumps-in-the-groin), 16 April 2020.
NHS, Lumps (https://www.nhs.uk/conditions/lumps/), 17 April 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ประโยชน์ของการหยุดสูบบุหรี่ที่มีต่อร่างกาย ลดความเสี่ยงอะไรบ้าง ตั้งแต่ 20 นาที จนถึง 15 ปี
ประโยชน์ของการหยุดสูบบุหรี่ที่มีต่อร่างกาย ลดความเสี่ยงอะไรบ้าง ตั้งแต่ 20 นาที จนถึง 15 ปี

ร้อยพันประโยชน์ของการหยุดสูบบุหรี่ อ่านสักนิด คุณภาพชีวิตดีขึ้นแน่นอน

อ่านเพิ่ม
อาหารต้านเชื้อราแคนดิดา (Candida Diet)
อาหารต้านเชื้อราแคนดิดา (Candida Diet)

หากจำนวนเชื้อราแคนดิดาในร่างกายมีมากเกินไป อาจนำไปสู่การติดเชื้อที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้

อ่านเพิ่ม
10 วิธีหยุดอาการกรดไหลย้อนด้วยตนเอง
10 วิธีหยุดอาการกรดไหลย้อนด้วยตนเอง

หยุดอาการแสบร้อนยอดอก หยุดกรดไหลย้อน คุณทำได้ด้วยตนเองตามคำแนะนำนี้

อ่านเพิ่ม