ราเป็นสิ่งมีชีวิตกลุ่มที่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส มีลักษณะคล้ายกับพืช แต่ไม่มีคลอโรฟิลล์ ทำให้ไม่สามารถสร้างอาหารได้เอง ต้องอาศัยการดูดซึมอาหารจากซากพืชซากสัตว์ตามสิ่งแวดล้อมแทน ราหลายชนิดก่อให้เกิดโรคในคน พืช และสัตว์ แต่ราบางชนิดสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในอุตสาหกรรม เช่น การผลิตกรดซิตริกที่ผลิตได้จาก Asperigillus niger นำไปใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร หรือเครื่องสำอาง หรือการผลิตยาปฎิชีวนะ Penicillin ผลิตจาก Penicillium chrysogenum
ประเภทของเชื้อรา
ราสามารถจัดประเภทตามลักษณะรูปร่าง แบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
- เชื้อราเซลล์เดียว หรือ พวกยีสต์ ลักษณะเป็นเซลล์เดี่ยวรูปร่างทรงกลม เจริญเติบโตได้ดีที่อุณหภูมิ 35-37oc ส่วนใหญ่จะสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ โดยการแตกหน่อ
- เชื้อราหลายเซลล์ หรือ ราสาย มีรูปร่างเป็นเส้นสาย เจริญเติบโตได้ดีที่อุณหภูมิ 22-25oc ราสายมีทั้งแบบที่มีผนังกั้นและไม่มีผนังกั้น
- ราสองรูป ราที่มีความสามารถในการก่อโรคสูง โดยพบว่าถ้าเจริญเติบโตตามธรรมชาติ มักพบว่ามีรูปร่างเป็นราสาย แต่เมื่ออาศัยเป็นปรสิตในคนหรือสัตว์จะอยู่ในรูปของยีสต์
การก่อโรคของเชื้อรา
การก่อโรคของเชื้อรา สามารถแบ่งตามความลึกของการเจริญเข้าไปในร่างกาย แบ่งได้เป็น 4 ประเภท
- โรคติดเชื้อราที่ผิวหนัง (Superficial Mycoses) : เกิดบริเวณส่วนนอกสุดของร่างกายโดยเฉพาะบริเวณที่มีเคราติน ตามขน ผม และผิวหนังชั้นนอก กลุ่มเชื้อราเหล่านี้จะไม่มีการบุกรุกเขาทำลายเนื้อเยื่อ ทำให้ไม่พบการอักเสบ กลุ่มโรคที่พบบ่อยได้แก่
- โรคเกลื้อน (Pityriasis Versicolor) : เชื้อส่วนใหญ่ที่เป็นสาเหตุ Malassezia furfur พบบ่อยในคนที่มีเหงื่อออกมากและมีไขมันสะสม ร่วมกับการดูแลรักษาความสะอาดที่ไม่เหมาะสม จะพบรอยแต้มด่างๆ มีขุยละเอียด ไม่มีอาการอักเสบ
- การตรวจวินิจฉัย : พบกลุ่ม budding yeast cells และท่อน hyphae ภายใต้กล้องจุลทรรศน์
- การรักษา : รักษาสุขลักษณะ ใส่เสื้อผ้าระบายอาการไม่อับชื้นร่วมกับการใช้ยาฆ่าเชื้อรา ได้แก่
- ยาทา Sodium thiosulfate, Imidazole
- ยากิน Ketoconazole
- ยาสระผมที่มีสาร Selenium sulfate ที่เป็นส่วนประกอบ
- โรคเกลื้อน (Pityriasis Versicolor) : เชื้อส่วนใหญ่ที่เป็นสาเหตุ Malassezia furfur พบบ่อยในคนที่มีเหงื่อออกมากและมีไขมันสะสม ร่วมกับการดูแลรักษาความสะอาดที่ไม่เหมาะสม จะพบรอยแต้มด่างๆ มีขุยละเอียด ไม่มีอาการอักเสบ
-
โรคติดเชื้อราชั้นผิวหนัง (Cutaneous mycoses) : เชื้อจะก่อโรคในบริเวณที่มีการสร้างเคราติน เช่น ผิวหนังกำพร้าชั้นขี้ไคล เส้นผม และเล็บ
- โรคกลาก (Dermatophytoses) : เชื้อมีการหลั่งเอนไซม์มาย่อยเคราติน ส่งผลให้เกิดการอักเสบบริเวณนั้น รอยโรคจะขยายวงกว้างจากตรงกลางเป็นแผลเป็นราบเรียบและมีขอบสีแดงนูน เชื้อก่อนโรคที่พบบ่อยในคนมี 3 สกุลได้แก่ Microsporum, Trichophyton และ Epidermophyton การติดเชื้อโรคกลากในอวัยวะต่างๆ จะมีชื่อเรียกที่ต่างกัน เช่น Tinea Capitis(กลากที่ศีรษะ), Tinea faciei(กลากที่ใบหน้า), Tinae cruris (กลากที่ขาหนีบ), Tinea unguium(กลากที่เล็บ) เป็นต้น
รูปที่ 1 : https://images.app.goo.gl/ZASS...
- การตรวจวินิจฉัย : พบราสายที่มีผนังกั้น อาจพบราสายที่มีการแตกแขนงหรือพบ arthrospore ร่วมด้วย นอกจากนั้นจะต้องเพาะเลี้ยงเชื้อราเพื่อตรวจลักษณะโคโลนีของเชื้อ นำไปสู่การระบุสายพันธุ์และแนวทางการรักษาต่อไป
- การรักษา : ยาฆ่าเชื้อราที่ใช้ ได้แก่
- ยาทา Whittied’s ointment, Tolnaftate, Imidazole
- ยากิน Griseofulrin, Azole derivatives, Triazole derivatives
- ยาสระผมที่มีสาร Selenium sulfate เป็นส่วนประกอบ
- โรคกลาก (Dermatophytoses) : เชื้อมีการหลั่งเอนไซม์มาย่อยเคราติน ส่งผลให้เกิดการอักเสบบริเวณนั้น รอยโรคจะขยายวงกว้างจากตรงกลางเป็นแผลเป็นราบเรียบและมีขอบสีแดงนูน เชื้อก่อนโรคที่พบบ่อยในคนมี 3 สกุลได้แก่ Microsporum, Trichophyton และ Epidermophyton การติดเชื้อโรคกลากในอวัยวะต่างๆ จะมีชื่อเรียกที่ต่างกัน เช่น Tinea Capitis(กลากที่ศีรษะ), Tinea faciei(กลากที่ใบหน้า), Tinae cruris (กลากที่ขาหนีบ), Tinea unguium(กลากที่เล็บ) เป็นต้น
- โรคติดเชื้อราใต้ผิวหนัง (Subcutaneous mycoses) : เกิดพยาธิสภาพที่ชั้นผิวหนังและใต้ผิวหนัง เชื้อสามารถลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียงได้ เชื้อจะเข้าสู่ร่างกายผ่านทางบาดแผลหรือถูกของแหลมทิ่มตำ
- โรค Chromoblastomycosis : เชื้อก่อโรคเป็นกลุ่มราดำ ใช้เวลาเป็นเดือนหรือหลายปี รอยโรคเริ่มจากตุ่มเล็กๆแล้วจึงขยายใหญ่ขึ้น ขอบขรุขระ ตรงกลางเป็นก้อนแข็งคล้ายดอกกะหล่ำ(Cauliflower like lesion) แต่ไม่มีอาการเจ็บ เชื้อก่อโรคที่พบบ่อยได้แก่ Cladosporium carrionii, Phialophora verrusosa
- การตรวจวินิจฉัย : เมื่อนำสะเก็ดมาตรวจพบเซลล์ลักษณะกลม ผนังหนาสีน้ำตาลแกมดำ
- การรักษา : รอยโรคขนาดเล็ก รักษาโดยใช้เลเซอร์ควบคู่กับ Thermotherapy เป็นวิธีการกำจัดโรคได้ดี ส่วนการผ่าตัดเป็นการรักษาเพื่อลดการแพร่กระจ่ายของเชื้อโรคเท่านั้น สำหรับผู้ป่วยเรื้อรังจำเป็นที่จะต้องใช้ยารักษาควบคู่ไปด้วย เช่น Amphontericin B, Ketoconazole, Itraconazole
- โรค Chromoblastomycosis : เชื้อก่อโรคเป็นกลุ่มราดำ ใช้เวลาเป็นเดือนหรือหลายปี รอยโรคเริ่มจากตุ่มเล็กๆแล้วจึงขยายใหญ่ขึ้น ขอบขรุขระ ตรงกลางเป็นก้อนแข็งคล้ายดอกกะหล่ำ(Cauliflower like lesion) แต่ไม่มีอาการเจ็บ เชื้อก่อโรคที่พบบ่อยได้แก่ Cladosporium carrionii, Phialophora verrusosa
- โรคติดเชื้อราหลายระบบของร่างกาย (Systemic Mycoses) : เป็นการติดเชื้อราในระบบอวัยวะภายใน เชื้อที่ก่อโรคมักเกิดจากราประเภทสองรูป
- โรค Histoplasmosis : จะพบเชื้อในบริเวณที่มีไนโตเจนสูงได้แก่ ดินที่ปนเปื้อนมูลนกพิราบ หรือมูลค้างคาวในถ้ำ ผู้ป่วยติดเชื้อโดยการหายใจเอาเชื้อเข้าสู่ปอด เชื้อที่เป็นสาเหตุคือ Histoplasma capsulatuni var. capsulatum
- การตรวจวินิจฉัย : นำชิ้นเนื้อมาย้อมสีจะพบ Intracellular budding yeast cell ภายใต้กล้องจุลทรรศน์(รูปที่ 2) รูปที่ 2 Intracellular budding yeast cell (https://images.app.goo.gl/gfAxtfDx4ibVy7y4A)
- การรักษา : ผู้ป่วยที่มีอาการเล็กน้อย รักษาประคบประคองตามอาการ สามารถหายเองได้ แต่ถ้าเชื้อรุนแรงและมีการแพร่กระจ่ายจำเป็นต้องใช้ยาเพื่อรักษา เช่น Itraconazole, Amphotericin B, Ketoconazole รูปที่ 2 Intracellular budding yeast cell (https://images.app.goo.gl/gfAxtfDx4ibVy7y4A)
- โรค Histoplasmosis : จะพบเชื้อในบริเวณที่มีไนโตเจนสูงได้แก่ ดินที่ปนเปื้อนมูลนกพิราบ หรือมูลค้างคาวในถ้ำ ผู้ป่วยติดเชื้อโดยการหายใจเอาเชื้อเข้าสู่ปอด เชื้อที่เป็นสาเหตุคือ Histoplasma capsulatuni var. capsulatum