การหย่อนสมรรถภาพทางเพศของผู้ชาย มักเกี่ยวข้องกับภาวะองคชาตไม่แข็งตัว ซึ่งอาจเกิดได้จากภาวะทางการแพทย์บางอย่าง หรืออาจเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตก็เป็นได้
เมื่อเกิดอารมณ์ทางเพศขึ้นในผู้ชาย ระบบต่างๆ ทั้งฮอร์โมน กล้ามเนื้อ ระบบประสาท และหลอดเลือด จะทำงานร่วมกัน เพื่อให้มีการส่งสัญญาณประสาทจากสมองมายังองคชาติ กระตุ้นให้กล้ามเนื้อคลายตัวลง และทำให้เลือดสามารถไหลเวียนมายังเนื้อเยื่อบริเวณดังกล่าวได้มากขึ้น จนทำให้เกิดการแข็งตัวของอวัยวะเพศ
รักษาหย่อนสมรรถภาพ วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,930 บาท ลดสูงสุด 70%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
เมื่อเลือดไหลเวียนมารวมกันที่อวัยวะเพศและทำให้เกิดการแข็งตัว หลอดเลือดบริเวณนั้นจะปิดกั้นการไหลของเลือด ทำให้การแข็งตัวยังคงอยู่ แต่หลังจากช่วงที่เกิดอารมณ์ทางเพศผ่านพ้นไปแล้ว หลอดเลือดจะเปิดการไหลเวียนอีกครั้ง เลือดที่คั่งค้างอยู่จะไหลออกไป ทำให้อวัยวะเพศกลับมาอ่อนตัวเหมือนเดิม
ผู้ชายบางคนอาจประสบปัญหาอวัยวะเพศไม่แข็งตัว หรือคงการแข็งตัวได้เป็นเวลาสั้นๆ ซึ่งไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติกิจกรรมทางเพศตามที่ต้องการ ภาวะดังกล่าวเรียกว่า การหย่อนสมรรถภาพทางเพศ (Erectile Dysfunction) ภาวะองคชาตไม่แข็งตัว หรือภาวะกามตายด้าน
โดยทั่วไปแล้ว ปัญหานี้มักเกิดขึ้นเป็นครั้งคราวและไม่ใช่เรื่องที่ต้องกังวลมากนัก แต่หากคุณประสบปัญหาอวัยวะเพศไม่แข็งตัวอย่างน้อย 50% หรือครึ่งหนึ่งของการพยายามมีเพศสัมพันธ์ ภาวะดังกล่าวอาจเกิดจากปัญหาสุขภาพบางอย่างที่ต้องรักษาโดยเร็ว
สาเหตุของการหย่อนสมรรถภาพทางเพศในผู้ชาย
ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ อาจเกิดได้จากปัจจัยดังต่อไปนี้
- สาเหตุจากความผิดปกติทางร่างกาย : พบได้บ่อยในผู้ที่อายุมาก บางครั้งอาจเกิดจากโรคที่ส่งผลกระทบต่อระบบประสาทและหลอดเลือดที่ตอบสนองต่อการแข็งตัวของอวัยวะเพศ เช่น
- โรคหัวใจ (Heart Disease)
- โรคหลอดเลือดแข็งตัว (Atherosclerosis)
- โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension)
- ภาวะคอเลสเตอรอลสูง (High Cholesterol)
- โรคเบาหวาน (Diabetes)
- โรคอ้วน (Obesity)
- โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s Disease)
- โรคปลอกประสาทเสื่อม (Multiple Sclerosis)
- โรคตับ (Liver Disease) หรือโรคไต (Lung Disease)
- โรคพิษสุราเรื้อรัง (Alcoholism)
- โรคอวัยวะเพศชายโค้งงอ หรือมีพังผืดที่องคชาติ (Peyronie's Disease)
- สาเหตุจากปัญหาด้านสภาพจิตใจ : ปัจจัยทางอารมณ์สามารถส่งผลต่อสมรรถภาพทางเพศของผู้ชายได้ทุกช่วงวัย ซึ่งปัจจัยดังกล่าว ได้แก่
- ความวิตกกังวล เนื่องจากภาวะหย่อนสมรรถภาพหรืออวัยวะเพศไม่แข็งตัว
- การมีอารมณ์ด้านลบจากปัญหาต่างๆ เช่น เศรษฐกิจ การงาน หรือสังคม
- มีปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างคู่รัก
- มีภาวะซึมเศร้า
- สาเหตุอื่นๆ ได้แก่
- การใช้ยาบางชนิด เช่น เบต้าบล็อกเกอร์ ยาขับปัสสาวะ ยาคลายกล้ามเนื้อ หรือยาต้านโรคซึมเศร้า
- การใช้สารเสพติด
- การสูบบุหรี่เป็นเวลานาน
- การบาดเจ็บหรือกระทบกระเทือนที่ไขสันหลัง หรืออวัยวะสืบพันธุ์
- ความผิดปกติในระบบสืบพันธุ์แต่กำเนิด
- การรักษาโรคเกี่ยวกับต่อมลูกหมาก
เมื่อไหร่จึงควรไปพบแพทย์
ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษา หากพบว่าภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศมีแนวโน้มแย่ลงเรื่อยๆ หรือมีลักษณะดังต่อไปนี้
- มีสมรรถภาพทางเพศลดลงหลังการผ่าตัดหรือได้รับบาดเจ็บที่ต่อมลูกหมาก
- ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ เกิดขึ้นพร้อมกับอาการปวดหลังส่วนล่าง หรือปวดท้อง
- คาดว่าภาวะดังกล่าวน่าจะเกิดจากยาที่ใช้อยู่ ในกรณีนี้ควรใช้ยาชนิดนั้นต่อไปก่อน จนกว่าแพทย์จะพบสาเหตุที่แน่ชัดและแนะนำให้หยุดยา
การวินิจฉัยภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศในผู้ชาย
การตรวจที่แพทย์มักใช้เพื่อวินิจฉัยภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศในผู้ชาย ได้แก่
รักษาหย่อนสมรรถภาพ วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,930 บาท ลดสูงสุด 70%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
- การตรวจนับเม็ดเลือดโดยสมบูรณ์ (Complete Blood Count (CBC)) : เพื่อตรวจดูว่าผู้ป่วยมีจำนวนเม็ดเลือดแดงต่ำกว่าปกติหรือไม่
- การตรวจวัดระดับฮอร์โมน : เพื่อวัดระดับฮอร์โมนเพศชาย ได้แก่ เทสโทสเตอโรน และ โปรแลคติน
- การตรวจการแข็งตัวขององคชาตขณะหลับ (Nocturnal Penile Tumescence (NPT)) : เพื่อดูว่าอวัยวะเพศสามารถแข็งตัวได้ในขณะหลับหรือไม่
- การตรวจอัลตร้าซาวน์แบบดูเพล็กซ์ (Duplex Ultrasound) : โดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูงในการถ่ายภาพเนื้อเยื่อภายในร่างกาย
- การตรวจปัสสาวะ (Urinary Analysis) : เพื่อวัดระดับโปรตีนและฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในปัสสาวะ
เมื่อแพทย์ทราบสาเหตุของภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศแล้ว จะดำเนินการหาแนวทางการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละคนต่อไป
การรักษาภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศในผู้ชาย
ระดับความรุนแรงของภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ จะแบ่งได้เป็น ระดับเบา ปานกลาง และรุนแรง ซึ่งขั้นแรกของการรักษาภาวะดังกล่าว คือการระบุระดับความรุนแรงที่แน่ชัดให้ได้ก่อน เพื่อทำให้การรักษาเป็นไปง่ายขึ้น โดยทางเลือกในการรักษาภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ได้แก่
- การใช้ยาฉีดเข้าไปยังกล้ามเนื้อส่วนที่เรียกว่า Corpus cavernosum ของอวัยวะเพศ เช่น ยา Alprostadil (Caverject, Edex)
- การฉีดยาเข้าไปยังท่อปัสสาวะ (หรือรูเปิดของอวัยวะเพศ) เช่น ยา Alprostadil (MUSE)
- การให้ยาสำหรับรับประทาน เช่น ยา Sildenafil (Viagra) และ Tadalafil (Cialis)
- การผ่าตัด เช่น การปลูกถ่ายเนื้อเยื่ออวัยวะเพศ
- การใช้อุปกรณ์สุญญากาศกระตุ้นการแข็งตัว
บ่อยครั้งที่สาเหตุของการเกิดภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการใช้ชีวิต ซึ่งการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดังต่อไปนี้อาจช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้
- เลิกสูบบุหรี่
- ดื่มแอลกอฮอล์ให้น้อยลง
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
- ออกกำลังกายเป็นประจำ
บทความที่เกี่ยวข้อง
รีวิว Shock Wave (BTL X-Wave) ฟื้นฟูสมรรถภาพทางเพศชาย ที่ Dr. Story Clinic | HDmall
รีวิว Shockwave ฟื้นฟูสมรรถภาพเพศชาย ที่ M Clinic | HDmall