กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

ท่านั่งขับรถที่ถูกต้อง ป้องกันอาการเมื่อยล้า

แนะนำท่านั่งขับรถที่เหมาะกับสรีระ ช่วยให้ขับรถทางไกลได้อย่างไม่เมื่อยล้าเกินไป
เผยแพร่ครั้งแรก 22 มี.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 ม.ค. 2023 ตรวจสอบความถูกต้อง 10 พ.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
ท่านั่งขับรถที่ถูกต้อง ป้องกันอาการเมื่อยล้า

การขับรถทางไกลมักทำให้คนขับรู้สึกเหนื่อยล้าและเกิดอาการปวดเมื่อยตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น บ่า สะบัก หลัง และสะโพก เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่แล้วอาการเหล่านี้มักเกิดจากท่านั่งขับรถที่ไม่ถูกสุขลักษณะ เช่น ปรับเอนไปข้างหลังมากเกินไปเพราะคิดว่าจะทำให้สบาย แต่หากสังเกตดูให้ดี เมื่อขับรถไปนานๆ บางคนจะเริ่มนั่งหลังแอ่น คอยื่นมาข้างหน้า แขนเหยียดตรง หรือห่อไหล่โดยไม่รู้ตัว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
นวดจัดกระดูก (Chiropractic) วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 765 บาท ลดสูงสุด 52%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ขั้นตอนปรับท่านั่งขับรถให้ถูกต้อง สบาย และปลอดภัยที่สุด

  • ปรับความสูงของเบาะให้เหมาะสม: ให้ระยะห่างศีรษะกับเพดานรถ เท่ากับ 1 กำปั้น เพื่อทัศนะวิสัยในการขับรถที่ดี
  • ปรับพนักพิงให้เอนเล็กน้อย: ปรับพนักพิงให้เอน 110 องศา เพื่อระยะห่างที่เหมาะสมของท่านั่งขับรถระหว่างตัวผู้ขับกับพวงมาลัย
  • ปรับระยะห่างเบาะให้พอดี: เลื่อนเบาะให้ใกล้พวงมาลัยจนขางอขณะเหยียบเบรกสุด เพื่อให้สามารถเหยียบเบรกได้เต็มแรง
  • นั่งชิดให้เต็มเบาะ: เพื่อให้เบาะโอบสรีระทุกส่วน สร้างความมั่นคงในการนั่ง และลดอาการเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อได้
  • จับพวงมาลัยในตำแหน่ง 3 และ 9 นาฬิกา: จะช่วยให้หมุนพวงมาลัยได้เร็ว และพวงมาลัยหลุดจากมือได้ยาก
  • แขนงอขณะจับพวงมาลัย: เมื่อปรับความห่างของเบาะและพนักพิงเหมาะสมแล้ว แขนก็จะงอ และช่วยปรับท่านั่งขับรถ และช่วยให้บังคับพวงมาลัยได้ดีขึ้นด้วย

นอกจากปรับท่านั่งขับรถให้ถูกต้องแล้ว ยังควรแวะพักระหว่างทางเพื่อยืดเส้นยืดสายบ้าง แต่หากเป็นช่วงเทศกาลที่หาที่แวะยาก ลองดู 5 ท่าบริหารแก้เมื่อยเมื่อต้องขับรถนาน บางท่าทำได้แม้ขณะอยู่หลังพวงมาลัยเลยทีเดียว


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
How to Improve Posture For a Healthy Back. Cleveland Clinic. (https://my.clevelandclinic.org/health/articles/4485-back-health-and-posture)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป