การรู้รส

ทำความรู้จักกระบวนการรู้รส ประกอบไปด้วยอวัยวะส่วนใดบ้าง มีกลไกการทำงาน และวิธีดูแลอย่างไร
เผยแพร่ครั้งแรก 20 ก.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การรู้รส

การรู้รสเกิดจากผิวของลิ้นซึ่งมีปุ่มเล็กๆ (Papillae) จำนวนนับล้าน ทำให้ลิ้นมีผิวไม่เรียบ ซึ่งปุ่มรับรส (Taste buds) เหล่านี้ สามารถรับรสได้อย่างน้อย 4 รสคือ เปรี้ยว หวาน เค็ม และขม โดยมีเส้นประสาทที่ประสานกันอย่างซับซ้อน ซึ่งประสาทที่รับกลิ่นจะช่วยให้สามารถแยกรสต่างๆ ได้อย่างละเอียด

ลิ้นเป็นอวัยวะในช่องปาก ทำหน้าที่ช่วยคลุกเคล้าอาหาร และรับความรู้สึกเกี่ยวกับรสชาติของอาหาร การที่ลิ้นสามารถรับรู้รสชาติของอาหารได้นั้น เพราะมีอวัยวะในการรับรู้รสอยู่บนลิ้น หรือที่เรียกว่า ตุ่มรับรส (Taste buds) นั่นเอง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ตุ่มรับรสคืออะไร    

  • ตุ่มรับรส มีลักษณะกลมรี ประกอบด้วย เซลล์รูปทรงกระสวย มีปลายเส้นประสาทสามเส้นทำหน้าที่รับรู้รส
  • ตุ่มรับรสส่วนใหญ่พบที่บริเวณด้านหน้าและด้านข้างของลิ้น ในขณะที่บริเวณส่วนบนของต่อมทอนซิล เพดานปาก และหลอดคอ จะพบตุ่มรับรสเป็นส่วนน้อย
  • จากการทดลองปรากฏว่า ในคนหนึ่งคนจะมีตุ่มรับรสอย่างน้อยที่สุดประมาณ 4 ชนิดด้วยกัน ซึ่งจะคอยรับรสแต่ละอย่างคือ รสหวาน (Sweet) รสเค็ม (Salty) รสขม (Bitter) และรสเปรี้ยว (Sour)  ซึ่งตุ่มรับรสเหล่านี้จะอยู่ตามบริเวณต่างๆ บนลิ้น

การรู้รส

การรู้รสเป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นได้โดยปฏิกิริยาทางเคมี โดยมีกระบวนการดังนี้

  • เมื่ออาหารเข้าสู่ปาก อาหารจะทำปฏิกิริยากับน้ำย่อยและน้ำลายในปากจนเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี ซึ่งกระตุ้นให้ตุ่มรับรสที่เคยรับการเปลี่ยนแปลงทางเคมีรับรู้ถึงรสชาติของอาหาร
  • หลังจากนั้น ตุ่มรับรสจะส่งความรู้สึกผ่านเส้นประสาทสมองสามเส้นเข้าสู่ระบบประสาทส่วนกลาง เพื่อแปลความหมายที่สมองว่าเป็นรสอะไร ร้อน หรือเย็น

เราสามารถรู้รสอะไรได้บ้าง

มนุษย์สามารถแยกการรู้รสต่างๆ ได้อย่างง่ายๆ 4 รสคือ

  • รสหวาน เกิดจากสารเคมีหลายชนิด เช่น น้ำตาล แอลกอฮอล์ กรดอะมิโน (Amino acid) และเกลืออนินทรีย์ของตะกั่ว
  • รสเค็ม เกิดจากอณูของเกลือ
  • รสขม เกิดจากสารสองชนิดโดยเฉพาะคือ สารอินทรีย์ที่ประกอบด้วยไนโตรเจน (Nitrogen) และอัลคาลอยด์ (Alkaloid) เช่น ยาควินิน (Quinine) คาเฟอีน สตริกนิน (Strychnine) เป็นต้น
  • รสเปรี้ยว เกิดจากความเป็นกรด

จากการทดสอบความไวในการรับรู้รสชนิดต่างๆ พบว่า มนุษย์มีความรู้สึกเกี่ยวกับรสขมได้ไวที่สุด ซึ่งคาดคะเนว่าเป็นกลไกตามธรรมชาติที่มีไว้ป้องกันตัว โดยสังเกตได้จากการรับประทานอาหารที่มีรสขมมากๆ มนุษย์หรือสัตว์จะคายอาหารออก ซึ่งนับว่าเป็นผลดี เพราะสารพิษหลายอย่างในธรรมชาติมีรสขมจัด

การดูแลรักษาลิ้น

  • ดูแลรักษาลิ้นไม่ให้เป็นโรค หรืออันตรายต่างๆ ด้วยการทำความสะอาดลิ้นอยู่เสมอ
  • เวลารับประทานอาหารควรค่อยๆ เคี้ยว ไม่ควรรีบร้อน เพราะอาจกัดลิ้นตนเองจนเป็นแผลได้
  • ไม่ควรรับประทานอาหารที่ร้อนมากๆ หรืออาหารที่มีรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด เพราะทำให้ลิ้นชาได้
  • หมั่นสังเกตว่าลิ้นเป็นฝ้าขาว หรือเป็นแผลหรือไม่ หากมีอาการผิดปกติดังกล่าวก็ควรรีบรักษา

1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Salt Taste Recognition in a Heart Failure Cohort. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/28499978)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)