การจดบันทึกดีต่อสุขภาพจริงหรือ?

เผยแพร่ครั้งแรก 6 ส.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การจดบันทึกดีต่อสุขภาพจริงหรือ?

เมื่อคนเครียด หรือเจอเหตุการณ์ที่ทำให้รู้สึกเฟลในแต่ละวัน แต่ละคนก็จะมีวิธีจัดการกับอารมณ์หรือหาทางระบายอารมณ์แตกต่างกัน แต่หนึ่งในวิธีที่เราอยากแนะนำในวันนี้ก็คือ การจดบันทึก ซึ่งมีงานวิจัยมากมายพบว่ามันมีประโยชน์ต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตมากกว่าที่เราคิดเสียอีก แต่จะมีอะไรบ้างนั้น เราลองมาดูพร้อมกันเลยค่ะ

1.ช่วยให้ความจำดีขึ้น

มีงานวิจัยพบว่า การเขียนถ่ายทอดความรู้สึกอย่างการจดบันทึกสามารถช่วยให้ความจำดีขึ้น ซึ่งมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งพบว่า การเขียนเกี่ยวกับสถานการณ์ที่ตึงเครียดหรือไม่ดีสามารถช่วยลดการคิดฟุ้งซ่าน ส่งผลให้ความจำของผู้เข้าร่วมทดลองดีขึ้น หากกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ยิ่งสมองใช้พลังงานไปกับความเครียดมากเท่าไร สมองก็จะมีความสามารถในการจดจำสิ่งต่างๆ ลดลง ซึ่งการจดบันทึกสามารถช่วยคลายเครียดได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

2.ลดความวิตกกังวล

มีงานวิจัยจาก Michigan State University study  เมื่อปี ค.ศ.2017 พบว่า การจดบันทึกช่วยลดความวิตกกังวล ทำให้เป็นวิธีระบายที่เหมาะกับคนที่มักวิตกกังวลหรือมีแนวโน้มที่จะคิดมาก ซึ่งการเขียนถ่ายทอดอารมณ์จะช่วยให้สมองทำงานหนักน้อยลงเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ตึงเครียดที่กำลังจะเกิดขึ้น หรือพูดง่ายๆ ก็คือ สมองจะปลอดโปร่งและพร้อมที่จะรับมือกับสิ่งต่างๆ ที่กำลังรออยู่

3.ช่วยให้นอนหลับดีขึ้น

 มีงานวิจัยเมื่อปี ค.ศ.2013 พบว่า ผู้เข้าร่วมทดลองที่ถูกสั่งให้จดบันทึกเกี่ยวกับประสบการณ์ที่บอบช้ำทางจิตใจสามารถนอนหลับได้ดีขึ้นเมื่อเทียบกับกลุ่มคนที่ถูกสั่งให้หลีกเลี่ยงการเขียนแสดงอารมณ์ของตัวเอง ยิ่งไปกว่านั้น งานวิจัยยังแสดงให้เห็นด้วยว่า ผู้เข้าร่วมทดลองที่จดบันทึกมีบาดแผลที่หายเร็วขึ้น

4.ช่วยให้สุขภาพจิตดี

การเขียนบันทึกที่เน้นเกี่ยวกับการแสดงความขอบคุณต่อสิ่งต่างๆ มีประโยชน์ต่อสุขภาพจิตมากมาย ซึ่งมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ทำโดย University of California พบว่า การเขียนแสดงความขอบคุณต่อสิ่งต่างๆ สามารถช่วยให้อารมณ์และสุขภาพจิตดีขึ้นแม้แต่ในคนที่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคทางจิต

5.ลดอาการซึมเศร้า

มีงานวิจัยเมื่อปี ค.ศ.2013 ที่ถูกเผยแพร่ใน Journal of Affective Disorders เป็นงานวิจัยชิ้นแรกที่พบว่า การเขียนระบายความรู้สึกเป็นวิธีที่สามารถนำมาใช้เพื่อบรรเทาอาการของโรคซึมเศร้า นอกจากนี้เมื่อจบงานวิจัย มีการค้นพบเพิ่มเติมด้วยว่า คนที่เป็นโรคซึมเศร้าที่ถูกสั่งให้จดบันทึกมีคะแนนที่วัดระดับของอาการซึมเศร้าลดลง

6.ช่วยให้มีความคิดสร้างสรรค์

หากช่วงนี้คุณรู้สึกว่าสมองไม่แล่น หรือต้องทำงานที่ต้องใช้ไอเดีย การจดบันทึกอาจช่วยคุณได้ค่ะ เพราะมีงานวิจัยเมื่อปี ค.ศ.2017 พบว่า การจดบันทึกความฝันมีความเชื่อมโยงกับการมีความคิดสร้างสรรค์ที่เพิ่มขึ้น นอกจากประโยชน์ดังกล่าวแล้ว มันก็ยังช่วยให้คุณรู้ว่าจิตใต้สำนึกของคุณเป็นเช่นไรอีกด้วย

7.ช่วยให้ไปถึงเป้าหมายที่วางไว้

มีงานวิจัยจาก Dominican University of California แสดงให้เห็นว่า คนที่จดบันทึกเป้าหมายของตัวเองจะทำสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้มากกว่าคนที่ไม่ได้จดบันทึก ยิ่งไปกว่านั้น คนที่บันทึกเป้าหมายและแบ่งปันให้เพื่อนรับรู้มีแนวโน้มที่จะไปถึงเป้าหมายได้มากกว่าคนที่เขียนเป้าหมายให้ตัวเองรู้แค่คนเดียว

จากที่กล่าวไปจะเห็นได้ว่า การจดบันทึกเรื่องราวต่างๆ ที่เราเจอในแต่ละวัน หรือการระบายความรู้สึกผ่านทางตัวอักษรนั้นมีประโยชน์มากทีเดียว แม้ว่าคุณจะต้องสละเวลาส่วนตัวสักเล็กน้อย แต่สิ่งที่คุณจะได้รับนั้นก็นับว่าคุ้มค่าค่ะ

ที่มา: https://www.bustle.com/p/journ...


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป