กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

การดูแลตัวเองหลังคลอดลูก 7 วันแรก

คลายกังวลสำหรับพ่อแม่มือใหม่ ด้วยวิธีการดูแลทารกแรกเกิด 7 วันแรกอย่างถูกวิธี
เผยแพร่ครั้งแรก 5 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 12 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การดูแลตัวเองหลังคลอดลูก 7 วันแรก

การเปลี่ยนแปลงของร่างกายหลังการคลอดลูก แต่ละคนจะไม่เหมือนกัน ทั้งนี้ยังขึ้นอยู่กับวิธีการคลอดลูกอีกด้วย คือคลอดทางช่องคลอด หรือ ผ่าตัดคลอดลูก และยังมีปัจจัยส่วนบุคคลอื่นๆ อีกที่ต่างกัน 

อาการหลังคลอดลูกอาจมีดังนี้

  • มีน้ำคาวปลาสีแดงสด และค่อยๆ จางลงในปลายสัปดาห์และจะหมดไปภายใน 3 สัปดาห์ หรืออาจจะมีกระปริบกระปรอยเล็กน้อยจนครบ 6 สัปดาห์ หากน้ำคาวปลายังเป็นสีแดงสดนานเกิน 1 สัปดาห์ควรให้แพทย์ตรวจอีกครั้ง
  • อาจมีการปวดมดลูกเป็นพักๆ เกิดจากการหดรัดตัวของมดลูกเพื่อคืนสู่สภาพเดิมของมดลูก (เข้าอู่) จะมีอาการปวดมากขึ้นเมื่อให้นมลูก เนื่องจากเมื่อลูกดูดนมจะมีการสร้างสารออกซิโทซินเพิ่มมากขึ้นในเลือดของแม่ หากปวดมากควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอยาแก้ปวดได้ อาการนี้จะหมดไปเองภายใน 4-7 วันหลังคลอด หากมีการปวดนานเกิน 7 วันควรรีบปรึกษาแพทย์เพราะอาจเกิดการติดเชื้อในมดลูกทำให้โพรงมดลูกอักเสบได้
  • ความเหนื่อยล้า และอ่อนเพลีย
  • ปวดบริเวณเย็บฝีเย็บ ในช่วงพักฟื้น พยาบาลจะดูแผลฝีเย็บทุกวัน ให้คำแนะนำในการทำความสะอาดที่ถูกต้องเพื่อป้องกันการติดเชื้อ พยาบาลจะแนะนำให้ใส่ผ้าอนามัย และเปลี่ยนทุก 4-6 ชั่วโมง ล้างทุกครั้งหลังปัสสาวะ อุจจาระ โดยใช้น้ำสะอาดหรือน้ำยาฆ่าเชื้อที่แพทย์แนะนำ (แต่โดยปกติจะไม่ใช้ยาฆ่าเชื้อ) เช็ดให้แห้งโดยเช็ดจากด้านหน้าไปด้านหลังเพื่อป้องกันการติดเชื้อ และไม่ใช้มือจับฝีเย็บจนกว่าจะตัดไหม
  • เจ็บแผลหน้าท้อง (กรณีใช้วิธีผ่าตัดคลอดลูก)
  • เคลื่อนไหวร่างกายยังไม่สะดวก อาจจะรู้สึกลำบากและไม่คล่องตัว
  • ถ่ายปัสสาวะไม่สะดวก โดยเฉพาะวันแรก อาจจะท้องผูก
  • รู้สึกปวดเมื่อยทั้งตัว
  • เหงื่อออกมาก โดยเฉพาะ 2 วันแรกหลังคลอด เนื่องจากร่างกายจะขับน้ำส่วนเกินออกจากร่างกาย อาการนี้จะอยู่นานเป็นสัปดาห์เพื่อปรับร่างกายเข้าสู่สภาพปกติ ดังนั้นควรจะอาบน้ำบ่อยขึ้นเพื่อให้ร่างกายสดชื่น บางครั้งอาจมีไข้ต่ำๆ ได้ แต่ถ้าไข้สูงเกิน 38 องศาควรปรึกษาแพทย์
  • เต้านมตึง อาจมีหัวนมแตกเป็นแผลกรณีที่ลูกดูดนมแรงเกินไป
  • อารมณ์แปรปรวน เดี่ยวเศร้าซึม เดี่ยวตื่นเต้น อ่อนไหวง่าย
  • มีความต้องการทางเพศเพิ่มขึ้นหรือบางรายอาจจะลดลง

อาการหลังคลอดที่ควรระวัง และต้องรีบไปพบคุณหมอโดยด่วน หากมีอาการเหล่านี้

  • มีเลือดออกมาทางช่องคลอดจนชุ่มผ้าอนามัย 1 ผืนภายใน 1 ชั่วโมง ควรรีบไปโรงพยาบาล และใช้น้ำแข็งวางบนหน้าท้องหรือมดลูกเพื่อให้เลือดออกมาน้อยลง
  • น้ำคาวปลามีสีแดงสดนานเกิน 4 วัน
  • น้ำคาวปลามีกลิ่นเหม็นผิดปกติ ซึ่งปกติแล้วกลิ่นจะเหมือนเลือดประจำเดือน
  • มีก้อนเลือดขนาดใหญ่ออกทางช่องคลอด ซึ่งปกติแล้วอาจจะมีเพียงลิ่มเลือดเล็กๆ ออกมาปนกับน้ำคาวปลา
  • น้ำคาวปลาไม่ไหล โดยเฉพาะใน 2 สัปดาห์แรกหลังคลอด
  • ปวดท้องน้อย หรือปวดรำคาญในระยะ 1 สัปดาห์หลังคลอด
  • มีไข้สูงเกิน 38 องศาเกิน 24 ชั่วโมงโดยเฉพาะหลังคลอดวันแรก
  • เจ็บหน้าอก ซึ่งอาจเกิดการอุดตันของลิ่มเลือดเล็กๆ ในปอด
  • การปวดบวมของขาและน่อง อาจเกิดจากมีหลอดเลือดอุดตันบริเวณนั้น
  • อาการปวด บวม ของเต้านมบางส่วน แม้ว่าอาการตึงคัดจะหายไปแล้ว ซึ่งอาจเกิดจากการอุดตันของท่อน้ำนมบางส่วนทำให้เกิดการอักเสบของเต้านม
  • มีอาการบวมแดงของแผลผ่าตัด เป็นหนอง มีน้ำเหลืองไหลซึม
  • ปัสสาวะแล้วแสบหรือรู้สึกขัด ปัสสาวะบ่อยแต่ปริมาณน้อยลง และสีเข้มจัด
  • มีอาการซึมเศร้าเกิน 2-3 วัน และมีอารมณ์โกรธร่วมด้วย หรือต้องการทำร้ายลูก หรือทำร้ายตนเอง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Resnick PJ, Child murder and mental illness in parents: implications for psychiatrists.Friedman SH, J Clin Psychiatry. 2011 May;72(5):587-8.
Cantwell R et al., Saving Mothers' Lives: Reviewing maternal deaths to make motherhood safer: 2006-2008. The Eighth Report of the Confidential Enquiries into Maternal Deaths in the United Kingdom., Springett A BJOG. 2011;118 Suppl 1:1.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม