อาการของโรคพาร์กินสัน

เผยแพร่ครั้งแรก 13 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
อาการของโรคพาร์กินสัน

โรคพาร์กินสันมักมีอาการแบบค่อยเป็นค่อยไปและจะมีอาการเพียงเล็กน้อยในช่วงแรก มีอาการที่แตกต่างกันได้หลายอาการซึ่งสัมพันธ์กับโรคพาร์กินสัน บางส่วนของอาการที่พบได้บ่อย มีรายละเอียดดังจะกล่าวถึงด้านล่างนี้

อย่างไรก็ตามอาการใดจะเกิดขึ้นก่อนและความรุนแรงของอาการจะแตกต่างกันตามแต่ละบุคคล มีโอกาสน้อยที่จะพบว่าผู้ป่วยโรคพาร์กินสันจะมีอาการครบทุกอาการหรือมีอาการเกือบทั้งหมด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อาการหลักของโรคพาร์กินสัน (main symptoms)

อาการหลักของโรคพาร์กินสัน 3 อาการ คืออาการที่ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของร่างกาย ได้แก่:

  • อาการสั่น-โดยมักจะเริ่มมีอาการที่มือหรือแขน โดยจะมีอาการในช่วงที่แขนกำลังผ่อนคลายหรือพักการใช้งาน (อาการสั่นขณะพัก)
  • เคลื่อนไหวร่างกายช้า (bradykinesia)-คือ ร่างกายจะเคลื่อนไหวช้าลงกว่าปกติ ส่งผลต่อการทำกิจวัตรประจำวันได้ยากขึ้น เดินลากเท้า ก้าวสั้น และช้าลงอย่างชัดเจน
  • ร่างกายแข็งเกร็ง (rigidity)-กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง ทำให้เคลื่อนไหวลำบากและส่งผลต่อการแสดงสีหน้าได้ลำบากด้วย และจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดตะคริวที่กล้ามเนื้อ

อาการหลัก 3 อาการนี้บางครั้งแพทย์อาจเรียกว่า อาการ “พาร์กินโซนิซึม” (parkinsonism) เพราะอาการเหล่านี้อาจเกิดจากสาเหตุอื่นนอกจากโรคพาร์กินสันได้

อาการอื่นๆ ของโรคพาร์กินสัน

โรคพาร์กินสันสามารถทำให้เกิดอาการหลากหลายทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ได้แก่:

อาการด้านร่างกาย

  • ปัญหาการทรงตัว-ทำให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้มีความเสี่ยงต่อการหกล้มและได้รับบาดเจ็บ
  • สูญเสียความสามารถในการดมกลิ่น (การรับกลิ่น) (anosmia)-บางครั้งจะมีอาการนี้เป็นเวลาหลายปีก่อนจะมีอาการอื่นๆ ตามมา
  • ปวดเส้นประสาท-ทำให้มีความรู้สึกผิดปกติ เช่น รู้สึกแสบร้อน หนาวเย็น หรืออาการชา
  • ปัญหาการปัสสาวะ-เช่น การลุกขึ้นมาปัสสาวะตอนกลางคืนบ่อยๆ หรือปัสสาวะโดยไม่ตั้งใจ (ปัสสาวะราด) (urinary incontinence)
  • ท้องผูก
  • อวัยวะเพศชายไม่แข็งตัว หรือไม่สามารถแข็งตัวได้จนจบการมีเพศสัมพันธ์ (erectile dysfunction หรือหย่อนสมรรถภาพทางเพศ)
  • ในเพศหญิงจะมีความยากในการกระตุ้นให้เกิดอารมณ์ทางเพศและการไปถึงจุดสุดยอดของการมีเพศสัมพันธ์ (sexual dysfunction)
  • เวียนศีรษะ, มองภาพไม่ชัด หรือหน้ามืด เมื่อมีการเปลี่ยนท่าทางจากท่านั่งหรือท่านอนมาเป็นท่ายืน เพราะว่าความดันโลหิตต่ำลงอย่างรวดเร็วจึงทำให้มีอาการดังกล่าว
  • เหงื่อออกมากผิดปกติ (hyperhidrosis)
  • กลืนลำบาก (dysphagia) ทำให้ร่างกายขาดสารอาหารและขาดน้ำ
  • ผลิตน้ำลายมากกว่าปกติ (น้ำลายไหล; drooling)
  • ปัญหาการนอนหลับ (นอนไม่หลับ) ทำให้ผู้ป่วยมีอาการง่วงนอนระหว่างวัน

อาการด้านความรู้ความเข้าใจและอาการทางด้านจิตเวช

  • ซึมเศร้าและวิตกกังวล
  • การรับรู้ผิดปกติไปเล็กน้อย (mild cognitive impairment) ทำให้ผู้ป่วยมีปัญหาด้านความจำและปัญหาเกี่ยวกับกิจกรรมที่ต้องอาศัยการวางแผนและการจัดการ
  • สมองเสื่อม (dementia)-คือ กลุ่มของอาการ ได้แก่ มีปัญหาด้านความจำรุนแรงมากขึ้น บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลง มองเห็นภาพหลอน (visual hallucinations) และมีความเชื่อในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง คือมีอาการหลงผิด (delusions)

เมื่อไรต้องไปพบแพทย์

หากคุณกังวลว่าคุณจะเป็นโรคพาร์กินสัน ขอให้คุณเข้าพบแพทย์

แพทย์จะสอบถามเกี่ยวกับอาการของคุณและประวัติทางการแพทย์เพื่อเป็นข้อมูลประกอบว่ามีความจำเป็นต้องส่งต่อคุณไปรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการตรวจเพิ่มเติมหรือไม่

https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/brain-nerves-and-spinal-cord/parkinsons-disease#symptoms


23 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Parkinson's disease - Symptoms. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/parkinsons-disease/symptoms/)
Parkinson's Disease Symptoms: Tremors, Muscle Stiffness, Walking Problems, & More. WebMD. (https://www.webmd.com/parkinsons-disease/guide/parkinsons-common-symptoms#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)