อาการโรคเอดส์แต่ละระยะ

เมื่อติดเชื้อ HIV ไปถึงระยะที่มีอาการ จะเรียกว่า ระยะเอดส์ อาการโรคเอดส์แต่ละระยะแตกต่างกัน ที่สำคัญคือหากมีอาการให้สงสัยว่าเป็นโรคไว้ก่อน แล้วหาหมอเพื่อรับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง
เผยแพร่ครั้งแรก 21 พ.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
อาการโรคเอดส์แต่ละระยะ

โรคเอดส์ (Acquired Immunodeficiency Syndrome: AIDS) เป็นโรคหรือกลุ่มอาการของการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี (Human Immunodeficiency Virus: HIV) ที่เข้าไปทำลายเม็ดเลือดขาว ทำให้ภูมิคุ้มกันบกพร่อง ร่างกายอ่อนแอ ติดเชื้อโรคอื่นๆ ได้ง่ายกว่าปกติ

การติดเชื้อเอชไอวีมักมาจาก 3 ช่องทาง ได้แก่ มีเพศสัมพันธ์กับผู้มีเชื้อโดยไม่มีการป้องกัน การได้รับเชื้อทางเลือด ที่มักพบในกรณีการใช้เข็มฉีดยาหรือกระบอกฉีดยาร่วมกันในกลุ่มผู้ฉีดสารเสพติด และการถ่ายทอดเชื้อจากแม่สู่ลูก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจ STD วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 97 บาท ลดสูงสุด 76%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อาการโรคเอดส์และการดำเนินของโรค

การติดเชื้อเอชไอวี จะทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายค่อยๆ ถูกทำลายลงอย่างต่อเนื่องและรุนแรงขึ้นตามเวลาที่ได้รับเชื้อ โดยสามารถแบ่งได้เป็น 4 ระยะ ดังนี้

  1. ระยะแรกของการติดเชื้อเอชไอวี (Acute HIV infection) เป็นระยะที่ได้รับเชื้อมาประมาณ 1-6 สัปดาห์ มากกว่า 50% ของผู้ติดเชื้อจะมีอาการคล้ายไข้หวัด เช่น มีไข้ ปวดศีรษะ ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอและรักแร้โต เจ็บคอแต่ไม่มีเสมหะ ปวดเมื่อยตามตัว เบื่ออาหาร

    บางรายมีผื่นขึ้นตามลำตัว จะมีอาการ 1-2 สัปดาห์ และจะหายไป ในระยะนี้หากไปการตรวจเลือดจะยังไม่พบการติดเชื้อ จะตรวจพบเชื้อได้หลังจากติดชื้อแล้ว 2-12 สัปดาห์ แต่ผู้ติดเชื้อสามารถถ่ายทอดเชื้อสู่คู่ทางการมีเพศสัมพันธ์ได้แล้ว

  2. ระยะการติดเชื้อไม่ปรากฏอาการ (Asymptomatic หรือ Clinical latent period) เป็นระยะที่เกิดหลังได้รับเชื่อ 8 เดือนถึง 1 ปี ผู้ป่วยจะไม่มีอาการผิดปกติ แต่เมื่อตรวจเลือดหรือน้ำลาย จะได้ผลบวกหรือแสดงว่ามีการพบเชื้อเอชไอวี

  3. ระยะที่มีอาการ (Symptomatic HIV Infection) หรือ ระยะเอดส์ (Acquired Immunodeficiency Syndrome: AIDS) มักเกิดขึ้นหลังจากได้รับเชื้อมาแล้วหลายปี จะเริ่มมีการติดเชื้อราในช่องปาก ลำคอ ต่อมน้ำเหลืองโตบริเวณรักแร้ ขาหนีบ อาจเกิดงูสวัด มีแผลเริมลุกลาม และมีอาการเรื้อรัง มีไข้ไม่ทราบสาเหตุต่อเนื่องมากกว่า 10 วัน อ่อนเพลีย น้ำหนักลด ท้องเสียเรื้อรัง เกิดผื่นคันตามแขน ขา หรือที่เรียกว่าตุ่ม PPE ซึ่งอาการเหล่านี้ ไม่ได้เป็นอาการจำเพาะของโรคเอดส์ จึงควรปรึกษาแพทย์ เพื่อการดูแลรักษาที่ถูกวิธี

    เมื่อมีการติดเชื้อจนภูมิคุ้มกันของร่างกายถูกทำลายลงมาก จะทำให้เกิดการติดเชื้อฉวยโอกาสต่างๆ เช่น วัณโรค ปวดอักเสบ ติดเชื้อในระบบประสาท สมองและไขสันหลัง ติดเชื้อราเกิดแผลอักเสบในปาก ลำคอ และช่องคลอด หรืออาจมีการติดเชื้อที่นำไปสู่การตาบอด เกิดแผลหนองอักเสบ ท้องเสียรุนแรง หรืออาจเกิดเป็นมะเร็งชนิดต่างๆ ได้

    อาการโรคเอดส์จะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ หากไม่มีการดูแลรักษาอย่างถูกวิธี

อาการโรคเอดส์ในเพศหญิงกับเพศชายแตกต่างกันหรือไม่?

อาการโรคเอดส์ในผู้ป่วยเพศหญิงและเพศชายจะคล้ายกัน แต่มีรายละเอียดแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ในผู้ป่วยเอดส์เพศหญิงจะมีอาการที่สามารถสังเกตได้เป็นพิเศษคือ ประจำเดือนผิดปกติ อาจมาน้อยลง มากขึ้น หรือมาไม่ปกติ หรืออาจมีอาการปวดประจำเดือนมาก ปวดท้องน้อย เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ เจ็บขณะปัสสาวะ มีสารคัดหลั่งผิดปกติออกมาทางช่องคลอด แต่อาการเหล่านี้ไม่ใช่อาการเฉพาะเจาะจงของโรคเอดส์ ดังนั้นหากสงสัยควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างแน่ชัด

โรคเอดส์เป็นโรคที่ก่อให้เกิดความทุกข์ด้านร่างกายอย่างมากแก่ผู้ที่ได้รับเชื้อ ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพ ความเจ็บป่วย เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ

ผู้ป่วยโรคเอดส์ที่ไม่รับการรักษา เมื่อก่อนส่วนใหญ่จะมีชีวิตอยู่ได้เพียง 3 ปี แต่ในปัจจุบันมีการตรวจวินิจฉัยที่แม่นยำ การดูแลรักษามีตั้งแต่การใช้ยาต้านไวรัส ใช้ยารักษาตามอาการ และการปฏิบัติตนตามคำแนะนำของแพทย์ ทำให้ผู้ป่วยดำเนินชีวิตตามปกติและมีชีวิตที่ยืนยาวได้

ที่สำคัญคือ โรคเอดส์เป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ หากเข้าใจความเสี่ยง และไม่ละเลยการป้องกันการติดเชื้ออย่างถูกวิธี


8 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์, ชุดความรู้การดูแลรักษาสำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยโรคเอดส์ (http://irem2.ddc.moph.go.th/uploads/file/research/technical%20Products-DDC/Diseases%20touch-28.pdf).
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์, ความรู้เกี่ยวกับเอชไอวีและเอดส์ (https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/november-2016/hiv-aids-infection-treatment ), 24 พฤศจิกายน 2559.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
รายชื่อโรคติดต่อ
รายชื่อโรคติดต่อ

ค้นหารายชื่อโรคติดต่อได้ง่ายๆ ในลิ้งค์เดียว ไม่ต้องนั่งหาทีละโรค พร้อมคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโรคติดต่อ รวมมาตอบไว้แล้วที่นี่

อ่านเพิ่ม
โรคเอดส์ การติดต่อ และการป้องกันที่ทุกคนควรรู้
โรคเอดส์ การติดต่อ และการป้องกันที่ทุกคนควรรู้

ตอบชัดเจน คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโรคเอดส์ เชื้อ HIV ติดได้อย่างไร ทำแบบไหนติดบ้าง และจะป้องกันอย่างไร?

อ่านเพิ่ม