อาการโคม่า คือ สภาวะที่ผู้ป่วยหมดสติ ไม่มีการตอบสนองใดๆ และไม่สามารถปลุกให้ตื่นได้ ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการบาดเจ็บทางสมอง โรคหลอดเลือดสมอง หรือเกิดจากสาเหตุอื่นๆ อย่างไรก็ตามขณะที่คุณไปเยี่ยมผู้ป่วยที่มีอาการโคม่า มีคำแนะนำบางอย่างที่คุณสามารถทำได้ เพราะอาจทำให้ผู้ป่วยฟื้นจากอาการโคม่า ซึ่งจะกล่าวต่อไปในบทความนี้
บทนำ
อาการโคม่า คือ ภาวะหมดสติที่ผู้ป่วยไม่ตอบสนองและไม่สามารถปลุกให้ตื่นได้
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
อาการโคม่าอาจเป็นผลมาจากการบาดเจ็บที่สมอง เช่น การบาดเจ็บที่ศีรษะรุนแรงหรือโรคหลอดเลือดสมอง อาการโคม่ายังสามารถเกิดจากพิษแอลกอฮอล์รุนแรงหรือการติดเชื้อในสมอง (encephalitis)
ผู้ป่วยโรคเบาหวานอาจตกอยู่ในภาวะโคม่าหากระดับน้ำตาลในเลือดต่ำมาก (ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ) หรือสูงมาก (ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง)
อาการโคม่าคืออะไร?
คนที่อยู่ในอาการโคม่าจะหมดสติและมีกิจกรรมภายในสมองน้อย พวกเขายังมีชีวิต แต่ไม่สามารถตื่นขึ้นมาและไม่แสดงอาการของการรับรู้ใดๆ
ดวงตาของผู้ป่วยโคม่าจะปิดและดูเหมือนจะไม่ตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมภายนอก พวกเขาจะไม่ตอบสนองต่อเสียงหรือความเจ็บปวด หรือไม่สามารถสื่อสารหรือเคลื่อนไหวร่างกายตามคำสั่งได้
คนที่อยู่ในอาการโคม่าก็จะมีการตอบสนองขั้นพื้นฐานที่ลดลงด้วย เช่น การไอและกลืน โดยพวกเขาอาจหายใจได้ด้วยตัวเอง แต่บางคนต้องมีการใช้เครื่องช่วยหายใจ
เมื่อเวลาผ่านไป ผู้ที่มีอาการโคม่าอาจค่อยๆ เริ่มฟื้นสติและเริ่มมีการรับรู้มากขึ้น บางรายจะตื่นขึ้นมาหลังจากเวลาผ่านไปไม่กี่สัปดาห์ ขณะที่คนอื่นๆ อาจเข้าสู่สภาวะผัก (vegetative state) หรืออยู่ในสภาวะที่มีสติน้อยที่สุด
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
การดูแลและการติดตามผู้ป่วยที่มีอาการโคม่า
แพทย์จะประเมินระดับความรู้สึกตัวของผู้ป่วยโดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Glasgow Coma Scale ซึ่งจะเป็นการติดตามอย่างต่อเนื่องว่าผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นหรือแย่ลงอย่างไร โดยแพทย์จะประเมินทั้งหมด 3 ส่วน ดังนี้:
- ประเมินการลืมตา: คะแนน 1 คะแนน หมายถึง ไม่มีการลืมตา และ 4 คะแนน หมายถึง ลืมตาได้เองอย่างเป็นธรรมชาติ
- ประเมินการพูด: คะแนน 1 คะแนน หมายถึง ไม่มีการส่งเสียงใดๆ และ 5 คะแนน หมายถึง พูดคุยรู้สึกเป็นปกติ
- ประเมินการเคลื่อนไหวของแขนและขา: คะแนน 1 คะแนน หมายถึง ไม่มีการเคลื่อนไหวใดๆ และคะแนน 6 คะแนน หมายถึง เคลื่อนไหวได้ตามคำสั่ง
ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่อยู่ในอาการโคม่าจะมีคะแนนรวมของการประเมินดังกล่าวอยู่ที่ 8 คะแนน หรือน้อยกว่านั้น ยิ่งคะแนนน้อย หมายถึง ผู้ป่วยอาจประสบปัญหาความเสียหายของสมองอย่างรุนแรงและมีโอกาสน้อยที่จะฟื้นตัว
การดูแลในระยะสั้น ผู้ที่อยู่ในอาการโคม่ามักจะได้รับการดูแลในห้องผู้ป่วยวิกฤต (ห้องไอซียู) การรักษาในระยะนี้จะเกี่ยวข้องกับการดูแลให้ผู้ป่วยมีอาการคงที่ ดูแลเกี่ยวกับการทำงานของร่างกาย เช่น การหายใจ และความดันโลหิต รวมถึงรักษาสาเหตุของอาการโคม่าไปพร้อมๆ กัน
สำหรับการดูแลในระยะยาว ทีมบุคลากรทางการแพทย์จะดูแลผู้ป่วยด้วยการรักษาแบบประคับประคองที่ห้องพักผู้ป่วยในโรงพยาบาล การดูแลในช่วงนี้จะเกี่ยวข้องกับการให้สารอาหารที่เป็นประโยชน์, การป้องกันการติดเชื้อ, การพลิกตัวผู้ป่วยเป็นประจำเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดแผลกดทับ และการเคลื่อนไหวข้อต่อของผู้ป่วยเบาๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ข้อติด
คุณสามารถทำอะไรได้บ้างขณะเยี่ยมผู้ป่วยโคม่า
ประสบการณ์ของการอยู่ในภาวะโคม่าของผู้ป่วยแต่ละคนจะแตกต่างกัน บางคนสามารถจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นรอบตัวพวกเขาขณะที่พวกเขาอยู่ในอาการโคม่า ในขณะที่คนอื่นๆ ทำไม่ได้
ผู้ป่วยบางรายเมื่อพ้นจากอาการโคม่าแล้ว สามารถบอกได้อย่างมั่นใจว่ามีคนที่เขารักมาเยี่ยมขณะที่มีอาการโคม่า
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
เมื่อไปเยี่ยมเพื่อนหรือคนที่คุณรักที่มีอาการโคม่า คำแนะนำด้านล่างอาจเป็นประโยชน์สำหรับคุณ:
- เมื่อคุณมาถึงเตียงผู้ป่วยแล้ว ให้คุณบอกผู้ป่วยไปว่าคุณคือใคร
- พูดคุยกับผู้ป่วยเกี่ยวกับชีวิตของคุณในวันนั้น- อย่าลืมว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่คุณพูดต่อหน้านั้น ผู้ป่วยอาจได้ยิน
- แสดงให้ผู้ป่วยเห็นถึงความรักและการสนับสนุนของคุณที่มีต่อเขา – แม้เพียงแค่นั่งและจับมือ หรือลูบที่ผิวหนังอาจทำได้สะดวกมากกว่า
ข้อมูลจากการวิจัยยังชี้ให้เห็นว่าการกระตุ้นความรู้สึกหลัก ได้แก่ การสัมผัส การได้ยิน การมองเห็น และการได้กลิ่น อาจช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวจากอาการโคม่าได้
เช่นเดียวกับการพูดคุยกับผู้ป่วยและการจับมือ คุณอาจต้องเปิดเพลงที่ผู้ป่วยชอบให้ฟังทางหูฟัง, วางดอกไม้ไว้ในห้อง หรือ ฉีดน้ำหอมที่ผู้ป่วยชอบ
การฟื้นจากอาการโคม่า
อาการโคม่ามักกินเวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์ โดยในช่วงเวลานั้นผู้ป่วยอาจเริ่มฟื้นขึ้นและมีสติรับรู้ หรือมีการเข้าสู่ระยะต่างๆ ของการหมดสติ ที่เรียกว่า สภาวะผัก หรือสภาวะที่มีสติน้อยที่สุด
- สภาวะผัก (vegetative state)- ผู้ป่วยตื่นอยู่ แต่ไม่แสดงการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมใดๆ
- สภาวะที่มีสติน้อยที่สุด (minimally conscious state)- เป็นสภาวะที่ผู้ป่วยมีการรับรู้อย่างจำกัด
บางคนอาจฟื้นตัวจากสภาวะเหล่านี้อย่างค่อยเป็นค่อยไป ขณะที่บางคนอาจไม่ดีขึ้นเป็นปีๆ
ผู้ป่วยที่ฟื้นจากอาการโคม่ามักจะค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไป และอาจมีอาการกระวนกระวาย หรือสับสนด้วย
บางคนจะฟื้นตัวเต็มที่และไม่ได้รับผลกระทบจากอาการโคม่า แต่คนอื่นๆ อาจมีความพิการเกิดขึ้นอันเนื่องมาจากสมองได้รับความเสียหาย พวกเขาอาจจำเป็นต้องได้รับการกายภาพบำบัด, กิจกรรมบำบัด และการประเมินและการสนับสนุนทางด้านจิตวิทยาตลอดช่วงเวลาของการฟื้นฟูร่างกาย และบางรายอาจต้องได้รับการดูแลตลอดชีวิตที่เหลืออยู่
โอกาสของการฟื้นตัวจากอาการโคม่าขึ้นอยู่กับความรุนแรงและสาเหตุของการบาดเจ็บที่สมอง, อายุและระยะเวลาที่พวกเขาอยู่ในอาการโคม่า แต่ก็เป็นไปไม่ได้ที่จะคาดเดาว่าผู้ป่วยจะฟื้นตัวจากอาการโคม่าเมื่อไร, จะมีอาการโคม่าอีกนานเพียงใด และจะเกิดปัญหาในระยะยาวจากอาการโคม่าหรือไม่
https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/brain-nerves-and-spinal-cord/coma