การแปลงหน่วยโซเดียม

เผยแพร่ครั้งแรก 25 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 ม.ค. 2023 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การแปลงหน่วยโซเดียม

อาหารหลายชนิดมีโซเดียมแฝงอยู่ในธรรมชาติและเป็นส่วนประกอบในการแปรรูป หรือผ่านการปรุงแต่งโดยมีการเติมโซเดียมลงไป ดังนั้นจึงจำเป็นต้องระวังในการเลือกซื้อหรือประกอบอาหารที่มีการเติมเกลือ ซึ่งการแปลงหน่วยของโซเดียมจากเกลือที่ใช้ในการประกอบอาหาร เป็นสิ่งหนึ่งที่ควรทำความเข้าใจ นอกจากนี้ในการคำนวณเกี่ยวกับโซเดียมมักพบปัญหาของความไม่เข้าใจเกี่ยวกับหน่วยของโซเดียม ซึ่งอาจพบว่าบางครั้งแสดงค่าเป็นหน่วยมิลลิกรัม (mg.) และบางครั้งอาจะแสดงค่าเป็นหน่วยมิลลิอิควิวาเลนต์ (milliequivalent: mEq.) เพราะนเอกกสารหรือตำราบางเล่มใช้หน่วยเป็นมิลลิกรัม บางเล่มใช้หน่วยเป็นมิลลิอิควิวาเลนต์ ซึ่งทั้งสองหน่วยนี้สามารถใช้ได้แต่ส่วนใหญ่ในประเทศไทยมักคุ้นกับมิลลิกรัมมากกว่า โดยทั้งสองหน่วยสามารถแปลงกลับได้ ดังวิธีการคำนวณต่อไปนี้

วิธีการแปลงหน่วยโซเดียม

  1. การคำนวณหาน้ำหนักโซเดียมจากเกลือแกง (sodium chloride: NaCl)

    เกลือแกงหนัก 1,000 มิลลิกรัม มีโซเดียม 400 มิลลิกรัม หรือเกลือแกงหนัก 1 กรัม จะมีโซเดียม 0.4 กรัม โดยมีสูตรคำนวณหาโซเดียมในเกลือแกงที่จะใส่ลงในอาหารดังนี้

    ยกตัวอย่างเช่น เกลือแกง 5 กรัมคิดเป็นโซเดียมเท่ากับ 2 กรัม ( 5 × 0.4 = 2)

  2. การแปลงหน่วยมิลลิกรัม (mg.) ของโซเดียมเป็นมิลลิอิควิวาเลนต์ (mEq.) โซเดียม

    ค่ามิลลิอิควิวาเลนต์ (mEq.) เป็นค่าสมมูลของโซเดียม นั้นคือ ปริมาณสารนั้นหนักเท่ากับน้ำหนักสมมูลที่คิดเป็นมิลลิกรัม (ชวลิต และกวี, 2549) ค่าสมมูลจึงเท่ากับ น้ำหนักอะตอม หารด้วยวาเลนซีของอะตอมนั้น (น้ำหนักอะตอมของโซเดียม = 23, วาเลนซี = 1) น้ำหนักสมมูลของโซเดียมคิดเป็นมิลลิกรัม จึงเท่ากับ 23 มิลลิกรัม ดังนั้นการคำนวณเพื่อเปลี่ยนหน่วยของมิลลิกรัมของโซเดียม ให้เป็นมิลลิอิควิวาเลนต์ สามารทำได้โดย นำค่ามิลลิกรัมมาหารด้วยน้ำหนักอะตอมของโซเดียม (โซเดียมมีน้ำหนักอะตอม = 23) ดังนั้นสูตรในการแปลง คือ

    ยกตัวอย่าง เกลือแกง 1,000 mg. มีโซเดียมอยู่ 400 มิลลิกรัมคิดเป็นกี่มิลลิอิควิวาเลนต์ (mEQ.) โซเดียม แทนค่าสูตรในการคำนวณ 400 ÷ 23 = 17.39 mEq. ดังนั้นโซเดียม 400 มิลิกรัมคิดเป็น 17.39 mEq.เป็นต้น

  3. การแปลงหน่วยมิลลิอิควิวาเลนต์ (mEq.) โซเดียม เป็นมิลลิกรัม (mg.) ของโซเดียม

    เมื่อ 1 มิลลิอิควิวาเลนต์ของโซเดียมเท่ากับโซเดียม 23 มิลิกรัม ดังนั้นการแปลงหน่วยมิลลิอิควิวาเลนต์ (mEq.) โซเดียม ให้เป็นมิลลิกรัม (mg.) ของโซเดียม ทำได้โดยนำค่ามิลลิอิควิวาเลนต์ (mEq.) โซเดียม มาคูณด้วยน้ำหนักอะตอมของโซเดียม (23) สูตรที่ใช้ในการแปลง คือ

    ยกตัวอย่างเช่น เกลือแกง 2,000 mg. มีโซเดียม 34.78 mEq. คิดเป็นกี่มิลลิกรัมของโซเดียม แทนค่าสูตรในการคำนวณ 34.78 x 23 = 799.9 หรือประมาณ 800 มิลลิกรัมของโซเดียม เป็นต้น


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Salt Resources - Sodium Reduction Toolkit. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/salt/sodium_toolkit.htm)
Salt: the facts. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/live-well/eat-well/salt-nutrition/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป