เรื่องหลอกลวงของ oil pulling

ทำไมกระแสล่าสุดสำหรับสุขภาพช่องปากจึงเป็นแค่เรื่องเสียเวลาเท่านั้น
เผยแพร่ครั้งแรก 28 ส.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
เรื่องหลอกลวงของ oil pulling

กระแสใหม่ของกลุ่มธรรมชาตินิยมคือการทำ oil pulling แทนการแปรงฟัน สายธรรมชาตินิยมเหล่านี้ยึดถือแนวคิดดังกล่าว และรายงานเกี่ยวกับ oil pulling ก็พบได้ทั่วไปบนอินเทอร์เน็ต หลักการนั้นค่อนข้างง่าย แทนที่จะแปรงฟัน ให้อมและกลั้วปากด้วยน้ำมันธรรมชาติ (เช่น น้ำมันมะพร้าว น้ำมันงา และอื่น ๆ ) และจะได้รับประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย อย่างเช่น

  • เหงือกและฟันแข็งแรงขึ้น
  • รักษาฟันผุ
  • ฟันขาวขึ้น
  • ผ่อนคลายข้อต่อของกราม
  • ลดอาการปวดศีรษะไมเกรน
  • แก้ไขฮอร์โมนที่ไม่สมดุล
  • ลดการอักเสบของข้อ
  • ล้างพิษ

และอื่น ๆ อีกมาก เมื่อใดก็ตามที่คุณเห็นรายการผลดีต่อสุขภาพที่คุณจะได้ยาวเป็นหางว่าวจากผลิตภัณฑ์ใด ๆ ก็ให้สงสัยไว้ก่อนว่ามันจะเป็นไปได้ยังไงที่การอมกลั้วปากด้วยน้ำมันจะแก้ไขความไม่สมดุลของฮอร์โมน ? การทำอย่างนั้นในตอนนี้จะทำให้เกิดความไม่สมดุลของฮอร์โมนด้วยไหม ? ไม่มีกลไกทางวิทยาศาสตร์ใดที่จะอธิบายผลดีต่อสุขภาพพวกนี้ได้ รายการยาวเฟื้อยพวกนี้เป็นตัวบ่งชี้ที่ดีว่าคุณกำลังเจอกับเรื่องหลอกลวงเข้าแล้ว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจสุขภาพฟันวันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 0 บาท ลดสูงสุด 100%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

เว็บไซต์ทั้งหมดที่ฉันเห็นอ้างว่ามีการศึกษาที่สนับสนุนเรื่อง oil pulling จากคำกล่าวอ้างนั้น ฉันจึงลองไปค้นให้เห็นกับตาตัวเอง การค้นหาคำว่า oil pulling ใน PubMed ให้ผลลัพธ์บางอย่างจริง ๆ โดยส่วนใหญ่จะเป็น case report ในสิ่งตีพิมพ์เกี่ยวกับการรักษาแบบองค์รวม ซึ่งไม่ใช่กรณีสนับสนุนทางวิทยาศาสตร์ที่แท้จริง

ฉันยังเจอการศึกษาหนึ่งที่ทำในอินเดีย แสดงให้เห็นถึงการอักเสบของเหงือกที่ดีขึ้นเพียงเล็กน้อยหลังจากการทำ oil pulling โดยที่ขนาดของประชากรที่ใช้ศึกษาก็เล็กมาก และวิธีการศึกษาก็ยังมีข้อน่าสงสัย ฉันคงจะไม่พูดอย่างแน่นอนว่าการศึกษานี้สามารถพิสูจน์อะไรได้ เช่นเดียวกับทุก ๆ อย่าง ยังคงต้องการการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป

ความคิดถัดไปของฉันคือ “ทำไม ? ” ทำไมจึงมีบางคนอยากทำ oil pulling แทนการแปรงฟัน ?

หากจะทำเพื่อกำจัดยาสีฟัน ก็แค่ไม่ใช้ยาสีฟันเท่านั้นเอง มีการศึกษามากพอสมควรที่แสดงให้เห็นว่าการแปรงฟันโดยไม่ใช้ยาสีฟันก็มีประสิทธิภาพในการกำจัดคราบพลัคได้ดีพอ ๆ กับการใช้ยาสีฟัน ยาสีฟันเพียงแต่เพิ่มรสชาติและทำให้ลมหายใจสดชื่นขึ้น และเป็นตัวนำยาบางอย่าง เช่น โซเดียมฟลูออไรด์ (ซึ่งฉันสนับสนุนเรื่องนี้เต็มที่) หากคุณต้องการจะ “เป็นธรรมชาติ” ก็กรุณาแปรงฟันเถอะ แค่ไม่ต้องใช้ยาสีฟันก็พอ การแปรงฟันใช้เวลาเพียงสองนาที และได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นวิธีเดียวที่กำจัดคราบพลัคที่เป็นแหล่งเจริญเติบโตของแบคทีเรีย (biofilm) ได้ ทำไมจะต้องใช้เวลา 20 นาทีของชีวิตไปสองครั้งต่อวันในการอมกลั้วปากด้วยน้ำมัน ในขณะที่คุณสามารถได้รับผลลัพธ์ที่ดีกว่าด้วยเวลาเพียงแค่สองนาทีล่ะ ? ลองอมกลั้วปากด้วยน้ำสัก 2 นาทีสิ กล้ามเนื้อกรามของคุณจะเมื่อยและปวดอย่างรวดเร็ว ยี่สิบนาทีถือเป็นความทุกข์ทรมานโดยแท้ ซึ่งฉันรู้ว่าฉันจะไม่สามารถทำได้แน่นอน ฉันมีความยุ่งยากมากพออยู่แล้วในการทำให้คนไข้ใช้เวลาสองนาทีวันละสองครั้งในการแปรงฟัน และอีกหนึ่งนาทีสำหรับการขัดฟัน ขออภัยสำหรับข้อสงสัยของฉันด้วยที่คิดว่าจะมีคนทำ oil pulling ยี่สิบนาทีต่อครั้งวันละสองหนได้

ท้ายที่สุด oil pulling จะทำให้เกิดอันตรายอะไรหรือเปล่า ? หากคุณทำเสริมจากการแปรงฟัน ก็อาจจะไม่ ถึงจะไม่ได้มีประโยชน์มากนัก แต่ก็อาจจะไม่มีอันตรายต่อคุณเช่นกัน (นอกเหนือจากทำให้คุณเมื่อยกรามจากการอมกลั้วปาก 40 นาทีต่อวัน) แต่หากคุณทำแทนการแปรงฟัน ก็มีโทษแน่ เพราะหากคุณไม่แปรงฟัน คุณก็จะไม่สามารถกำจัดคราบที่เป็นแหล่งเจริญเติบโตของแบคทีเรียได้ รวมถึงโรคเหงือกอักเสบ ปริทนต์อักเสบ และฟันผุ ก็เป็นปัญหาที่สามารถเกิดขึ้นได้ และน่าจะเกิดขึ้นหากคุณไม่กำจัดคราบดังกล่าวอย่างสมบูรณ์ ถ้าคุณอยากบ้วนปาก ก็ใช้น้ำยาบ้วนปาก ซึ่งจะทำให้ลมหายใจของคุณสดชื่น และใช้เวลาแค่นาทีเดียว สำหรับ 19 นาทีที่เหลือก็ไปอ่านหนังสือ ดูหนังสืบสวน เล่นบอลกับลูก ๆ หรือไปแก้ปริศนาอักษรไขว้ของ Newyorktimes ก็ได้ หรือทำอะไรที่ทำให้ชีวิตของคุณดีขึ้นซึ่ง oil pulling จะไม่ได้ช่วยคุณ


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป