เมื่อสมาร์ทโฟนซินโดรม กลายเป็นโรคที่จู่โจมทุกช่วงวัย

เผยแพร่ครั้งแรก 13 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
เมื่อสมาร์ทโฟนซินโดรม กลายเป็นโรคที่จู่โจมทุกช่วงวัย

ปฏิเสธไม่ได้ว่าปัจจุบัน เทคโนโลยีที่เรียกว่าสมาร์ทโฟนได้เปรียบเป็นอวัยวะที่ 33 ของคนทุกเพศทุกวัยไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นลูกเด็กเล็กแดง วัยรุ่นหนุ่มสาว ไปจนถึงผู้สูงวัย ก็ล้วนเป็นเจ้าของสมาร์ทโฟนกันคนละเครื่องสองเครื่อง เวลาไปที่ไหนเราก็เป็นต้องเห็นคนก้มหน้าเอานิ้วจิ้มจออยู่เสมอๆ บางคนที่เสพติดกันใช้สมาร์ทโฟนมากๆ หรือเรียกได้ว่าก้มมองจอเกือบตลอดเวลา อาจเข้าข่ายเป็นโรค สมาร์ทโฟนซินโดรม (Smartphone Syndrome) ได้ 

อาการและผลเสียที่เกิดจากสมาร์ทโฟนซินโดรม มีอะไรบ้าง?

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  1. ปวดตา แสบตา ตาแดงช้ำ จากการจ้องหน้าจอเป็นเวลานาน ยิ่งถ้าใช้ในที่แสงสว่างไม่เพียงพอ ก็ทำให้สายตาเสียได้ หลายๆ คนสายตาสั้นตั้งแต่เด็กเพราะติดสมาร์ทโฟนมากเกินไป และอาจส่งผลเสียต่อกล้ามเนื้อประสาทตาด้วย
  2. ปวดศีรษะ วิงเวียนศีรษะ จากการก้มหน้าจ้องจอสมาร์ทโฟนนานๆ บางคนอาจเกิดอาการปวดไมเกรนเฉียบพลัน ไปถึงปวดบริเวณขมับ ท้ายทอย กระบอกตา ซึ่งเรียกว่าเป็น กลุ่มอาการปวดจากกล้ามเนื้อเกร็ง ยิ่งในผู้สูงวัย หากเล่นสมาร์ทโฟนมากเกินไปก็อาจเกิดอาการวิงเวียนหน้ามืดคล้ายจะเป็นลมได้
  3. ปวดกระดูกคอและบ่า จากการก้มหน้าอยู่ในอิริยาบถเดิมนานๆ เป็นผลให้กระดูกคอเสื่อมก่อนวัย จนถึงขั้นหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ซึ่งเป็นที่มาของอาการปวดหัวด้วย
  4. ปวดข้อมือและนิ้วมือ อย่างที่หลายๆ คนคงเคยได้ยินอาการนิ้วล็อค หรือขยับข้อนิ้วมือไม่ได้ จากการจิ้มหน้าจอรัวๆ โดยไม่หยุดพัก
  5. อ่อนเพลีย พักผ่อนไม่เพียงพอ เพราะบางคนติดโซเชียลและเกมในสมาร์ทโฟนจนเล่นทั้งวันทั้งคืน ทำให้เวลานอนน้อยลง
  6. มีสมาธิสั้น จากการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่มากเกินไปในโลกอินเตอร์เน็ต เช่น เวลาเลื่อนหน้าฟีดของโซเชียลมีเดียเพื่ออ่านข้อมูลจำนวนมากในเวลารวดเร็ว จะทำให้เราไม่สามารถจดจ่อกับการอ่านสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นาน หากทำบ่อยๆ เข้าก็อาจทำให้กลายเป็นคนสมาธิสั้นได้
  7. ระบบการเรียนรู้แย่ลง ซี่งเป็นผลมาจากสมาธิสั้น ทำให้เราไม่สามารถโฟกัสกับการรับข้อมูล และคิดวิเคราะห์ได้ดีพอ ยิ่งในโลกออนไลน์ที่มีทั้งข่าวจริงข่าวลวงมากมาย หากเรารับสารโดยไม่สามารถวิเคราะห์ข้อเท็จจริงได้ ก็อาจกลายเป็นคนขาดวิจารณญาณได้
  8. ประสิทธิภาพการทำงาน/การเรียนแย่ลง บางครั้งเทคโนโลยีที่เหมือนจะเอื้อให้เราสามารถทำงานได้สะดวกและเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้ดีขึ้น หากเราใช้มันอย่างผิดวิธี ผิดที่ผิดเวลา ก็อาจบั่นทอนการทำงานและการเรียนได้ โดยเฉพาะเด็กๆ วัยรุ่น หรือแม้แต่ผู้ใหญ่ที่ไม่สามารถแบ่งเวลาได้ดีพอ
  9. เวลาที่ใช้ทำกิจกรรมอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ลดลง เช่น การอ่านหนังสือ ออกกำลังกาย เดินทางท่องเที่ยว หรืองานอดิเรกอื่นๆ ทำให้เราเสียโอกาสในการทำสิ่งต่างๆ ไป
  10. เกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ โดยเฉพาะหากกดสมาร์ทโฟนในขณะที่ขับรถหรือเดินจนไม่มองทาง ดังที่เรามักพบเห็นในข่าวบ่อยๆ จนปัจจุบันต้องมีการรณรงค์กันอย่างเป็นเรื่องเป็นราว
  11. ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างแย่ลง ในแง่หนึ่งเทคโนโลยีก็ทำให้คนที่อยู่ไกลได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น แต่ในอีกแง่หนึ่งกลับทำให้เราห่างเหินจากคนที่อยู่ใกล้ตัว เราอาจจดจ่ออยู่กับหน้าจอจนคุยกับเพื่อนฝูงน้อยลง หรือบางครอบครัวก็พูดคุยกันผ่านโซเชียลมากพอๆ กับคุยกันต่อหน้า จนทำให้ความสนิทสนมคุ้นเคยที่ควรจะมีนั้นลดลง

หากพบว่าตัวเราเอง หรือคนรอบข้าง เข้าข่ายเสพติดการใช้สมาร์ทโฟนจนถึงขั้นเป็น สมาร์ทโฟนซินโดรม วิธีที่ดีคือควรลดการใช้ลง พักสายตาบ้าง ลองหากิจกรรมอื่นๆ ทำร่วมกับคนรอบข้าง ในโซเชียลมีเดียลองตั้งออฟไลน์ หรือปิดแจ้งเตือนดูบ้าง เพื่อให้เรามีเวลาสนใจสิ่งอื่นๆ มากขึ้น และพ่อแม่ก็ควรให้เวลาพูดคุยกับลูกๆ ไม่ควรเลี้ยงลูกด้วยสมาร์ทโฟนจนเคยชินแต่เด็ก


22 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Panic disorder. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/panic-disorder/)
15 Cyclic Vomiting Syndrome Symptoms, Causes, Diet, Treatments. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/cyclic_vomiting_syndrome_cvs/article.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อาการไฮเปอร์ (Hyperactivity)
อาการไฮเปอร์ (Hyperactivity)

อาการไฮเปอร์ จัดเป็นภาวะทางจิตเวชอย่างหนึ่ง ซึ่งผู้ป่วยควรเข้ารับการรักษา เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อตัวเองและคนรอบข้างในอนาคต

อ่านเพิ่ม