กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ. พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล แพทย์ทั่วไป
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ. พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล แพทย์ทั่วไป

อาการไฮเปอร์ (Hyperactivity)

อาการไฮเปอร์ จัดเป็นภาวะทางจิตเวชอย่างหนึ่ง ซึ่งผู้ป่วยควรเข้ารับการรักษา เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อตัวเองและคนรอบข้างในอนาคต
เผยแพร่ครั้งแรก 6 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 20 ก.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
อาการไฮเปอร์ (Hyperactivity)

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • อาการไฮเปอร์ คือภาวะอาการคึก ซน อยู่ไม่นิ่ง อาจใช้ชีวิตแบบคนปกติได้ยาก
  • เคลื่อนไหวไม่หยุด ก้าวร้าว หุนหันพลันแล่น และสมาธิหลุดได้ง่าย นับเป็นอาการทางจิตและความผิดปกติในทางการแพทย์
  • สาเหตุของอาการไฮเปอร์ ส่วนใหญ่มาจาก กลุ่มอาการสมาธิสั้น โรคไทรอยด์ฮอร์โมนมากเกิน ความผิดปกติของสมอง รวมถึงระบบประสาท
  • อาการไฮเปอร์สามารถรักษาได้โดยการบำบัดผ่านการพูดคุยกับแพทย์เฉพาะทาง หากการบำบัดไม่ดีขึ้น จำเป็นต้องใช้ยาบรรเทาอาการ
  • หากลูกหลานของคุณมีอาการซน อยู่ไม่นิ่งเกินกว่าปกติ ปรึกษาแพทย์ออนไลน์ที่นี่

อาการไฮเปอร์ จัดเป็นภาวะทางจิตเวชอย่างหนึ่ง ซึ่งผู้ป่วยควรเข้ารับการรักษา เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อตัวเองและคนรอบข้างในอนาคต

อาการไฮเปอร์ คือภาวะที่ผู้ป่วยเกิดอาการคึก หรือซนอย่างผิดปกติ ซึ่งจะก่อให้เกิดความลำบากต่อคนรอบข้างมาก บางครั้งผู้ป่วยอาการไฮเปอร์มักจะเกิดอาการวิตกกังวลหรือซึมเศร้าด้วย เนื่องจากความผิดปกติที่เกิดขึ้นและวิธีที่คนรอบข้างตอบสนองหรือปฏิบัติด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ผู้ป่วยไฮเปอร์มักมีปัญหาเกิดขึ้นมาก เนื่องจากพวกเขาไม่สามารถอยู่นิ่งหรือมีสมาธิจดจ่ออยู่กับสิ่งใดได้นาน จึงทำให้ไม่สามารถเรียนหรือทำงานได้เหมือนคนปกติ รวมถึงอาจทำลายความสัมพันธ์กับเพื่อนและครอบครัวได้ง่าย นอกจากนี้ ยังสามารถนำไปสู่อุบัติเหตุและการบาดเจ็บอีกด้วย

อาการไฮเปอร์มีรูปแบบแตกต่างกันมากมาย เช่น เคลื่อนไหวไม่หยุด มีพฤติกรรมก้าวร้าว มีพฤติกรรมหุนหันพลันแล่น และสมาธิหลุดได้ง่าย ซึ่งล้วนแต่เป็นโรคทางจิตและความผิดปกติทางการแพทย์

การสังเกตอาการไฮเปอร์

อาการไฮเปอร์มักสร้างความลำบากในการเรียนสำหรับช่วงวัยเด็ก จึงอาจทำให้พวกเขาแสดงพฤติกรรมหุนหันพลันแล่น เช่น พูดในสิ่งที่ไม่ควรพูด พูดแบบไม่ยั้งคิด ต่อยตีนักเรียนคนอื่น หรือซนผิดปกติ

ส่วนผู้ใหญ่ที่มีอาการไฮเปอร์ อาจมีพฤติกรรม เช่น ไม่มีสมาธิในการทำงาน สมาธิสั้น มีปัญหาในการจดจำชื่อ ตัวเลข หรือข้อมูลปริมาณหนึ่ง เป็นต้น

สาเหตุของอาการไฮเปอร์

อาการไฮเปอร์อาจเกิดจากความผิดปกติทางจิตใจและร่างกาย โดยสาเหตุที่พบมากที่สุด ได้แก่

  • กลุ่มอาการสมาธิสั้น (ADHD)
  • โรคไทรอยด์ฮอร์โมนมากเกิน (Hyperthyroidism)
  • ความผิดปกติของสมอง
  • ความผิดปกติของระบบประสาท
  • ความผิดปกติทางจิตวิทยา

การวินิจฉัยอาการไฮเปอร์

หากคุณหรือบุตรหลานกำลังแสดงอาการไฮเปอร์ ให้เข้าพบจิตแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยว่า ภาวะไฮเปอร์ที่กำลังเป็นเกิดจากอะไร เป็นอาการที่เกิดขึ้นใหม่ หรือเป็นผลข้างเคียงของการใช้ยาบางประเภท ซึ่งถ้าหากแพทย์วินิจฉัยอาการได้ถูกต้อง และทำการรักษาอย่างต่อเนื่องก็สามารถหายเป็นปกติได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การรักษาอาการไฮเปอร์

หากแพทย์คิดว่าอาการไฮเปอร์เกิดจากความผิดปกติอื่นๆ ที่ซ่อนอยู่ เช่น ความผิดปกติที่ของต่อมไทรอยด์ สมอง หรือระบบประสาท แพทย์ก็อาจสั่งยาที่ช่วยให้อวัยวะทั้งสามกลับมาสมดุลเหมือนเดิม แต่ถ้าอาการไฮเปอร์เกี่ยวข้องกับความผิดปกติทางอารมณ์ เช่น โรคสมาธิสั้น จะมีการรักษาโดยจิตแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญโดยตรง ซึ่งจะมีการวิเคราะห์และซักถามอาการที่เกิดขึ้น เพื่อจ่ายยาที่สามารถควบคุมอาการให้สงบลงได้

แต่ก่อนที่จะมีการให้ยาใดๆ แพทย์มักเลือกทำการรักษาด้วยการบําบัดทางความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavioural Therapy) และการบำบัดด้วยการพูดคุย (Talk Therapy) เพื่อเปลี่ยนแปลงรูปแบบความคิดที่ส่งผลต่อพฤติกรรม และลดผลกระทบที่เกิดขึ้นในจากพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน

หากการบำบัดไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ แพทย์จะจ่ายยาเพื่อควบคุมอาการ ซึ่งยาเหล่านี้มีผลให้จิตใจสงบลง มีใช้ในทั้งของเด็กและผู้ใหญ่ ได้แก่

  • Dexmethylphenidate
  • Dextroamphetamine and Amphetamine
  • Dextroamphetamine
  • Lisdexamfetamine
  • Methylphenidate

ยาบางตัวอาจเกิดผลข้างเคียงต่ออุปนิสัยใหม่ๆ ซึ่งแพทย์จะตรวจสอบการใช้ยาและผลข้างเคียงอย่างสม่ำเสมอ ระหว่างที่รับประทานยาควรหลีกเลี่ยงสารกระตุ้นต่างๆ เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน หรือการดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อให้ยาออกฤทธิ์อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

ซึ่งการรักษาโรคสมาธิสั้นนั้น นอกจากจะอาศัยแพทย์ และนักจิตวิทยาแล้ว บุคคลที่บ้านและที่โรงเรียนนับเป็นผู้ที่ช่วยในการรักษาทั้งสิ้น ดังนั้นการสร้างสิ่งแวดล้อมที่บ้านและที่โรงเรียนอย่างเหมาะสมจะช่วยให้อาการของสมาธิสั้นดีขึ้นได้


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Karen Gill, What You Should Know About Hyperactivity (https://www.healthline.com/health/hyperactivity), 27 August 2019
National Health Service, Attention deficit hyperactivity disorder (ADHD) (https://www.nhs.uk/conditions/attention-deficit-hyperactivity-disorder-adhd/), 30 May 2018
Great Ormond Street Hospital for Children, Attention deficit hyperactivity disorder (ADHD) (https://www.gosh.nhs.uk/conditions-and-treatments/conditions-we-treat/attention-deficit-hyperactivity-disorder-adhd), 6 April 2018

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป