นอนหลับไม่สนิท นอนไม่หลับ นอนหลับยาก แก้ไขอย่างไรดี

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
นอนหลับไม่สนิท นอนไม่หลับ นอนหลับยาก แก้ไขอย่างไรดี

การนอนพักผ่อนอย่างเพียงพอ จะทำให้สุขภาพแข็งแรงได้อย่างไม่ต้องลงทุนซื้ออาหารเสริมแพงใดๆ มาบำรุงเลย แต่เคยไหมกับการที่คุณมีปัญหานอนไม่หลับ นอนหลับยากหรือมักจะหลับๆ ตื่นๆ ตอนกลางคืนบ่อย หากคุณกำลังประสบกับปัญหานอนหลับยากอยู่ล่ะก็ วันนี้เราขอหยิบเอาวิธีสร้างความผ่อนคลายและกระตุ้นให้คุณนอนหลับสบาย หลับสนิทตลอดคืนยิ่งขึ้นมาฝาก โดยสามารถทำตามได้งายๆ ดังนี้

ออกกำลังกายตอนเย็น

ช่วงเวลาเย็นๆ สักประมาณ 5 โมง นับเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมกับการไปออกกำลังกายอย่างยิ่ง อาจจะไม่ต้องถึงขั้นออกอะไรหนักมาก เพราะอาจจะทำให้ปวดกล้ามเนื้อจนนอนไม่สบายตัวได้ แนะนำการวิ่งจ๊อกกิ้งเบาๆ หรือเดินตามสวนสาธารณะยามเย็นพร้อมสูดอากาศบริสุทธิ์สดชื่น หรืออาจจะเล่นโยคะอยู่ที่บ้านก็ได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

เพราะการออกกำลังกายตอนเย็นจะช่วยให้ระบบการไหลเวียนเลือดทำงานดีขึ้น ช่วยให้กล้ามเนื้อเกิดความยืดหยุ่นตัว และช่วยผ่อนคลายความเครียด ทำให้สารแห่งความสุขหลั่งไหลออกมา ซึ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยส่งผลให้คุณนอนหลับได้สนิทยิ่งขึ้นนั่นเอง

แช่น้ำอุ่นก่อนนอน

ก่อนนอนประมาณ 1 – 2 ชั่วโมง ลองเลือกอาบน้ำโดยการแช่ตัวในอ่างน้ำอุ่น พร้อมกับหยดน้ำมันหอมระเหยกลิ่นที่ชอบลงไปแล้วนอนแช่ประมาณ 20 นาที รับรองว่าน้ำอุ่นจะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือด ช่วยเสริมสร้างความผ่อนคลายตลอดทั้งตัว และกลิ่นหอมของอะโรมาฯ ยังทำให้รู้สึกรีแล็กซ์เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า แบบนี้ต่อให้เครียดมาจากการทำงานหนักแค่ไหน ความเครียดก็จะต้องสลายหมดไปจนทำให้คุณเข้านอนแบบหลับสบายตลอดคืนแน่นอน

ดื่มนมอุ่นๆ หรือทานกล้วยก่อนนอน

หากคุณเป็นคนที่มีปัญหานอนไม่หลับอยู่บ่อยครั้ง แนะนำให้ดื่มนมอุ่นๆ 1 แก้วก่อนนอนหรืออาจจะทานกล้วยก็ได้ เนื่องจากทั้งกล้วยและนมนั้นมีสารทริปโตเฟน (Tryptophan) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่มีความจำเป็นกับร่างกาย โดยจะช่วยกระตุ้นการสร้างฮอร์โมนเทลาโทนินซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำให้ง่วงออกมา และในที่สุดคุณก็จะรู้สึกผ่อนคลายไปพร้อมๆ กับการทิ้งหัวลงบนหมอนและหลับสบายตลอดคืนอย่างไม่ต้องสงสัย

แต่อย่างไรก็ตาม ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารหนักๆ ในมื้อเย็นด้วยจะดีมาก โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ย่อยยาก อาหารรสชาติจัดจ้าน รวมถึงการดื่มแอลกอฮล์และชา กาแฟ เพราะอาหารเหล่านี้จะรบกวนการนอนหลับ ในขณะที่คาเฟอีนจะทำให้คุณนอนหลับยาก และอาจก่อให้เกิดอาการตาค้างตลอดคืนแทนก็เป็นได้

นอกเหนือจากคำแนะนำดังที่กล่าวไปแล้ว...

การจัดบรรยากาศห้องนอนให้น่านอนก็เป็นสิ่งสำคัญ

ไม่ว่าจะเป็นการทำความสะอาดห้องนอนให้ปราศจากสิ่งสกปรก ซักผ้าปูที่นอนให้สะอาด ห้องนอนไม่ควรมีเสียงรบกวน กลิ่นอันไม่พึงประสงค์ และสภาพอากาศจะต้องปรับไม่ให้ร้อนหรือเย็นเกินไป หากคุณสามารถควบคุมดูแลปัจจัยเหล่านี้ให้รองรับการพักผ่อนอย่างเหมาะสมได้ รับรองว่าคืนต่อไปคุณจะเข้านอนท่ามกลางความหลับสบายแบบไร้กังวล


35 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Insomnia: Causes, symptoms, and treatments. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/9155)
Insomnia: Definition, Symptoms, Causes, Diagnosis, and Treatment. WebMD. (https://www.webmd.com/sleep-disorders/insomnia-symptoms-and-causes)
Insomnia: Causes, Symptoms, Types, and More. Healthline. (https://www.healthline.com/health/insomnia)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
6 วิธีเดินเผาผลาญพลังงาน
6 วิธีเดินเผาผลาญพลังงาน

ใช้เทคนิคต่อไปนี้มาช่วยเผาผลาญพลังงานระหว่างการเดินกันเถอะ

อ่านเพิ่ม
ชีพจรขณะพักคืออะไร
ชีพจรขณะพักคืออะไร

ทำความรู้จักค่าชีพจรที่เหมาะสมในแต่ละวัย และวิธีการวัดชีพจรแบบง่ายๆ ด้วยตัวเอง

อ่านเพิ่ม