กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs

Skin Abscess (ฝีบนผิวหนัง)

เผยแพร่ครั้งแรก 22 มิ.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ฝีบนผิวหนัง คือ ตุ่มที่เกิดขึ้นบนผิวหนัง หรือใต้ผิวหนัง เป็นภาวะที่ไม่เป็นอันตรายหากได้รับการรักษาทันเวลาก่อนที่อาการจะลุกลามกลายเป็นภาวะอื่น เช่น โลหิตเป็นพิษ เนื้อเยื่อตาย ติดเชื้อที่กระดูก
  • สาเหตุที่ทำให้เกิดฝีบนผิวหนังมักมาจากแบคทีเรีย ซึ่งอาจเกิดจากสุขอนามัยไม่ดี โรคเบาหวาน ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ รวมถึงรูขุมขนติดเชื้อซึ่งมักเกิดจากถอน หรือโกนขน
  • การรักษาฝีสามารถรักษาได้เองที่บ้านผ่านการประคบร้อนให้ฝีหดตัว จากนั้นค่อยดูดของเหลวในฝีออก แต่หากรักษาเองไม่หาย แพทย์จะเจาะดูดของเหลวในฝีออกให้ แล้วปิดแผลด้วยมีดผ่าตัด หรือหากเป็นฝีชนิดรุนแรง ก็อาจต้องรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ
  • ฝีบนผิวหนังไม่สามารถป้องกันให้เกิดได้ แต่สามารถลดความเสี่ยงทำให้เกิดได้ โดยการรักษาสุขอนามัยร่างกายให้สะอาด ไม่ใช้ข้าวของเครื่องใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจรักษาสิว ลดรอยสิว

ฝีบนผิวหนัง คือ ตุ่มที่เกิดขึ้นบนผิวหนัง หรือใต้ชั้นผิวหนัง ตุ่มดังกล่าวมักจะมีหนองหรือน้ำใสๆ อยู่ภายใน ส่วนมากมักจากการติดเชื้อแบคทีเรีย

ฝีบนผิวสามารถเกิดขึ้นบนส่วนใดของร่างกายก็ได้ แต่ส่วนมากมักจะเป็นแผ่นหลัง ใบหน้า หน้าอก หรือบั้นท้าย บางครั้งอาจพบฝีที่ขึ้นบนบริเวณที่มีขนงอกออกมาได้ด้วย เช่น ใต้รักแร้ หรือขาหนีบ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ฝีบนผิวหนังมักไม่เป็นอันตราย และจะหายไปเองแม้ไม่ได้รับการรักษา สามารถใช้ครีมหรือยาที่หาซื้อได้ทั่วไปมาใช้เพื่อเร่งกระบวนการรักษาฝีขนาดเล็กก็ได้ แต่ในกรณีที่มีฝีขนาดใหญ่ก็อาจรักษาได้ยาก และต้องมีการดูด หรือรีดหนองออก

อย่างไรก็ตาม มีหลายกรณีที่การเป็นฝีบนผิวหนังนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงถึงชีวิตได้ หากปล่อยทิ้งเอาไว้โดยไม่ทำการรักษา เช่น

  • การลุกลามของภาวะติดเชื้อที่อาจขึ้นไปยังสมองหรือไขสันหลัง
  • ภาวะโลหิตเป็นพิษ (Blood Poisoning)
  • ภาวะเยื่อบุหัวใจอักเสบ (Endocarditis)
  • การเกิดฝีจุดใหม่
  • เนื้อเยื่อบริเวณที่มีฝีตาย (Gangrene)
  • การติดเชื้อที่กระดูกอย่างเฉียบพลัน (Osteomyelitis)

อาการของฝีบนผิวหนัง

ฝีบนผิวหนังมักจะเกิดขึ้นเป็นตุ่มคล้ายกับสิว แต่ตุ่มดังกล่าวจะโตขึ้นตามกาลเวลา และจะมีลักษณะคล้ายก้อนซิสต์ที่เต็มไปด้วยของเหลว อาจพบอาการอื่นๆ ร่วมด้วย ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดฝีขึ้น โดยอาการต่างๆ ได้แก่

  • มีไข้
  • คลื่นไส้
  • หนาวสั่น
  • บวม
  • มีรอยโรคบนผิวหนัง
  • ผิวอักเสบ
  • มีของเหลวไหลออกจากฝี

สาเหตุทั่วไปของฝีบนผิวหนัง

การเกิดฝีบนผิวหนัง มักเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้

  • แบคทีเรีย เชื้อสตาฟิโลคอคคัส (Staphylococcus) เป็นแบคทีเรียที่เป็นต้นเหตุของฝีบนผิวหนังที่พบได้มากที่สุด โดยแบคทีเรียชนิดดังกล่าวจะเข้าสู่ร่างกายผ่านรูขุมขน หรือจากบาดแผลที่เจาะผ่านชั้นผิวหนังลงไป และจะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อแบคทีเรียมากขึ้น หากมีปัจจัยดังต่อไปนี้
    • สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่มีเชื้อ
    • เป็นโรคผิวหนังเรื้อรัง เช่น สิว (Acne) หรือผิวหนังอักเสบ (Eczema)
    • เป็นโรคเบาหวาน (Diabetes)
    • มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอที่เกิดจากการติดเชื้อ เช่น HIV
    • มีสุขอนามัยที่ไม่ดี
  • รูขุมขนติดเชื้อ (Folliculitis) อาจทำให้เกิดฝีขึ้นในรูขุมขนได้ โดยภาวะติดเชื้อที่รูขุมขนนั้นเกิดจากการที่ขนอุดตันใต้ผิวหนังและไม่สามารถงอกออกมาได้
    รูขุมขนติดเชื้อมักเกิดขึ้นหลังการโกนขน ขนที่งอกใต้ผิวจะเรียกว่าขนคุด (Ingrown Hairs) และเป็นระยะเริ่มต้นของการติดเชื้อ ฝีบนผิวหนังที่เกิดจากรูขุมขนอุดตันมักจะมีขนติดอยู่ภายในฝีด้วย

การวินิจฉัยฝีบนผิวหนัง

ตุ่มฝีที่ปรากฏออกมาเพียงตุ่มเดียวมักไม่ทำให้เกิดปัญหาใดๆ เพราะสามารถจัดการ หรือรักษากับตุ่มฝีนั้นๆ ได้เองที่บ้าน แต่หากเกิดตุ่มฝีขึ้นหลายตุ่มร่วมกับอาการดังต่อไปนี้ ควรรีบมาพบแพทย์ทันที

  • มีอายุต่ำกว่า 12 ปี หรือมีอายุเกิน 65 ปี
  • มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ หรือเพิ่งออกจากโรงพยาบาล
  • เพิ่งเข้ารับการปลูกถ่ายอวัยวะ
  • กำลังเข้ารับ หรือเพิ่งเสร็จสิ้นการบำบัดเคมีไม่นาน
  • ฝีบนผิวหนังเกิดบนใบหน้า หรือแนวกระดูกสันหลัง
  • ฝีมีขนาดใหญ่ และไม่หายเองหลังผ่านไปแล้ว 2 สัปดาห์โดยมีไข้ร่วมด้วย
  • ฝีเริ่มลามไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย
  • ฝีสร้างความเจ็บปวดมากขึ้น
  • อวัยวะแขนขาบวมขึ้น
  • ผิวหนังรอบฝีบวม หรือมีสีแดงมาก

แพทย์จะตรวจสอบประวัติสุขภาพ และดำเนินการตรวจร่างกายของเพื่อสังเกตลักษณะของฝีที่เกิดขึ้น เมื่อการตรวจร่างกายเสร็จสิ้น แพทย์จะบอกได้ทันทีว่าฝีนั้นเกิดจากการบาดเจ็บหรือขนคุด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

แพทย์อาจเจาะ หรือเก็บตัวอย่างของเหลวจากฝีไปทดสอบหาร่องรอยของเชื้อแบคทีเรีย และหากผู้ป่วยมีฝีบนผิวหนังซ้ำซากจนแพทย์รู้สึกว่า ต้นเหตุของฝีอาจเกิดจากภาวะทางการแพทย์ ก็อาจจัดให้มีการตรวจเลือด หรือตรวจปัสสาวะร่วมด้วย

การรักษาฝีบนผิวหนัง

ฝีที่ผิวหนังสามารถรักษาได้เองที่บ้าน ด้วยการประคบร้อนที่ฝีเพื่อทำให้ตุ่มหดตัว และของเหลวที่ดูดออกไป วิธีประคบร้อนที่ได้ผลดีที่สุด คือ การใช้ผ้าเช็ดหน้าชุบน้ำอุ่นแล้ววางไว้บนฝี

หากฝีบนผิวหนังที่เป็นอยู่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาที่บ้านข้างต้นก็ให้ไปพบแพทย์ เพื่อให้แพทย์เจาะดูดของเหลวในฝีออกด้วยกรีดเปิดฝีเพื่อทำให้ของเหลวไหลออกมา หลังจากที่ของเหลวออกมาหมดแล้ว แพทย์จะปิดแผลกรีดด้วยเครื่องมือผ่าตัด ซึ่งจะช่วยให้แผลสมานตัวและป้องกันการเกิดฝีขึ้นมาอีกครั้ง

ในกรณีที่เป็นฝีบนผิวหนังชนิดรุนแรงซึ่งจะต้องมีการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ แพทย์อาจจ่ายยา เช่น Dicloxacillin หรือ Cephalexin หากว่า ผู้ป่วยมีฝีบนใบหน้าที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนสูง มีเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ มีฝีมากกว่าหนึ่งจุด และมีภูมิคุ้มกันไม่ดี

การป้องกันฝีบนผิวหนัง

ฝีบนผิวหนังอาจไม่สามารถป้องกันได้เสมอไป แต่ก็มีวิธีลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้ออยู่มากมาย เช่น

  • ล้างมืออย่างสม่ำเสมอ
  • ทำความสะอาดแผลบาด หรือแผลถลอกแม้จะเพียงเล็กน้อยด้วยน้ำ และสบู่ จากนั้นทาด้วยยาฆ่าเชื้อโรค
  • ปกปิดบาดแผลทั้งหมดอย่างมิดชิด เพื่อป้องกันการติดเชื้อเพิ่ม
  • ไม่ควรใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น ผ้าเช็ดตัว ผ้าปูเตียง มีดโกน อุปกรณ์กีฬา เครื่องสำอาง และเสื้อผ้า หากมีแผล ให้ซักผ้าปูเตียงกับผ้าเช็ดตัวในน้ำร้อนเพื่อกำจัดเชื้อโรค

ฝีบนผิวหนังเป็นภาวะที่รักษาไม่ยาก แค่อาศัยการรักษาความสะอาดร่างกาย และรู้จักการสังเกตว่า ร่างกายมีตุ่มขึ้นอย่างไม่ทราบที่มาหรือไม่ จากนั้นให้รีบไปพบแพทย์เพื่อขอรับการวินิจฉัย และรักษาอย่างเหมาะสม เพียงเท่านี้ฝีบนผิวหนังก็จะหายได้โดยไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนใดๆ

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจรักษาสิว ลดรอยสิว จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


11 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Abscess (for Parents). Nemours KidsHealth. (Available via: https://kidshealth.org/en/parents/abscess.html)
How to Get Rid of Boils: Causes, Symptoms, Prevention, Treatment & Pictures. MedicineNet. (Available via: https://www.medicinenet.com/boils/article.htm)
Skin Abscess Symptoms, Treatment, Causes, Surgery & Home Remedies. eMedicineHealth. (Available via: https://www.emedicinehealth.com/abscess/article_em.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
เป็นไข้หวัดใหญ่ชนิดเดียวกันในช่วงๆเวลาใกล้กันได้หรือไม่คะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
สงสัยคะทำไมคนไข้ส่วนใหญ่จะติดเชื้อในกระแสเลือดคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากพยาบาลผู้เชี่ยวชาญ
เชื้อ HPV เกิดขึ้นได้อย่างไร และสามารถติดต่อกันทางเพศสัมพันธ์ได้หรือไม่ ถ้าได้..สามารถตรวจเช็คได้ทางไหนบ้าง
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ปัญหาสิวในวัย30+
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
เรื่องความเข้มข้นของเลือดในการบริจาคเลือดค่ะ เคยบริจาคได้ แต่สองสามปีมานี้ ทั้งพักผ่อน อกล ก็ยังไม่สามารถบริจาคเลือดได้ค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
การใส่เหล้ก จำเป้นไหมไม่ที่ไม่ผ่าออก
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)